การสำรวจเรื่องประเด็นต่างๆและการเขียนข้อทดสอบ ในการทดสอบภาษา ตอนที่ 3 (A Survey of Issues and Item Writing in Language Testing)


3. ความถูกต้องเชิงเนื้อหา (Content Validity)

การพัฒนาการทดสอบจำเป็นที่จะต้องดู 2 สังกัปหลัก ก็คือ ความถูกต้องเชิงเนื้อหา (Content Validity) และ ความน่าเชื่อถือของแบบทดสอบ (Test Reliability) หากจะกล่าวโดยสรุป ก็คือ ในแบบทดสอบฉบับหนึ่ง เนื้อหานั้นเป็นไปตามผู้ออกแบบหรือไม่ (ความถูกต้องเชิงเนื้อหา) และ ผลที่ได้จากการทำแบบทดสอบนั้นจะเหมือนกับผู้เรียนอีกกลุ่มหนึ่งหรือไม่ (ความน่าเชื่อถือของแบบทดสอบ)

การสอบเข้ามหาวิทยาลัย หรือการทดสอบที่ใดก็ตาม จะมีความถูกต้องเชิงเนื้อหาหรือไม่ ก็ต้องดูที่ แบบทดสอบนั้นตรงกับกิจกรรม และสื่อการสอน ที่ได้รับมาหรือไม่ แน่นอนเป็นอย่างยิ่งว่าข้อทดสอบฉบับใดไม่สามารถจะครอบคลุมสื่อการสอนและกิจกรรมทั้งหมดได้ อย่างไรก็ตาม สื่อและทักษะที่เป็นตัวแทน จะต้องดำรงอยู่ในแบบทดสอบ

การทดสอบที่จะมีความตรงเชิงเนื้อหาจะสามารถวัดทักษะและความสามารถของนักเรียน โดยสัมพันธ์กับการเรียนในอนาคต และจะจัดวางนักเรียนได้ถูกต้องยิ่งขึ้น

3.1 ตารางวิเคราะห์ข้อสอบ (Table of Specification)

ตารางวิเคราะห์ข้อสอบจะปรากฏอยู่ในการทดสอบหลักๆ ในประเทศอังกฤษ, สหรัฐอเมริกา, และยุโรป ตารางวิเคราะห์ข้อสอบนี้เกิดขึ้นก็เพื่อให้นักเรียนได้เตรียมตัวสำหรับการสอบ และลดทอนการที่พวกนักเรียนจะได้เกรดที่ดีโดยอุบัติเหตุ

ลักษณะโดยทั่วไปของตารางวิเคราะห์ข้อสอบจะเป็นทักษะ และชนิดของข้อสอบ ที่ปรากฏอยู่ในแบบทดสอบ นอกจากนี้ยังช่วยในเรื่องการวางแผนข้อสอบ, การเขียนข้อสอบ, และอภิปรายตัวข้อสอบ

ในตาราง ตรงแนวนอน จะเป็นทักษะ หรือ ชนิดของความรู้ ซึ่งจะปรากฏในแบบทดสอบ ตารางจะกำหนดคะแนนไว้ 30 คะแนน ซึ่งตารางนี้จะเป็นการทดสอบการอ่าน ผู้เข้าสอบจะถูกทดสอบทักษะในการหาใจความสำคัญ, ในการสร้างเรื่องเล่าใหม่, ในการใช้บริบทที่เป็นประโยค, และการจับใจความองค์ประกอบหลักๆในการอ่านย่อหน้า ในแต่ละทักษะจะเป็นรายการที่เป็นลำดับ พร้อมกับชนิดของคำถามที่ปรากฏในข้อสอบ ตั้งแต่เป็นข้อสอบแบบปรนัย, เป็นการจับคู่, เป็นแบบ cloze, และแบบข้อสอบปลายเปิด

ในอุดมคติแล้ว แนวทางของชนิดของข้อสอบจะต้องมีอย่างหลากหลาย ที่ทำเช่นนั้นก็เพื่อวัดความสามารถของผู้เรียนได้ดียิ่งขึ้น และน้ำหนักโดยสัมพัทธ์ (relative weight) ในแต่ละทักษะจะต้องสะท้อนให้เห็นถึงการเน้นในชั้นเรียนด้วย

หนังสืออ้างอิง

Gregory strong. (1995). A Survey of Issues and Item Writing in Language Testing. http://eric.ed.gov/?id=ED397635


หมายเลขบันทึก: 589911เขียนเมื่อ 8 พฤษภาคม 2015 18:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤษภาคม 2015 18:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท