เอะอะ..ก็จะโอน


แล้วจะโอนทำไม..บ้างก็ว่า..ถึงเวลาแล้วที่จะต้องกระจายความรับผิดชอบจัดการศึกษาให้ท้องถิ่น.. บ้างก็ว่าโรงเรียนใกล้ชิดท้องถิ่น ก็จะจัดการศึกษาได้ง่าย และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น..สุดท้ายก็คือ..ต้องการ..คุณภาพ...นั่นเอง

ข่าวคราวการศึกษาในช่วงนี้ กระแสที่ร้อนแรง คือ นโยบายปฏิรูปโครงสร้างการศึกษา..จะโอนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไปอยู่กับ อปท. แล้วก็มีเสียงคัดค้านกันไปทั่วทุกหย่อมหญ้า..
ทำท่าจะโอนมาหลายครั้งหลายครา..แต่ไม่เคยทำสำเร็จได้เลยสักครั้ง .มาครั้งนี้..คงคิดว่าจะง่าย ทำงานภายใต้นโยบาย คสช. ไม่ได้ศึกษาข้อมูล ไม่ได้สอบถามผู้ปฏิบัติในระดับรากหญ้า เมื่อแย้มพรายออกมาจึงพบเจอ.ปัญหาและอุปสรรค..จากการไม่เห็นด้วยของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

อปท.คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น..ที่มีทั้ง..อบจ.,(องค์การบริหารส่วนจังหวัด) อบต.(องค์การบริหารส่วนตำบล) และเทศบาล..เมื่อก่อน..นานมาแล้ว ผมไม่เคยเห็นด้วยเลยที่จะต้องกลับไปอยู่ภายใต้ชายคาของท้องถิ่น แต่มาระยะหลัง ในช่วง ๑๐ ปีมานี้..รู้สึกเฉยๆ ความรู้สึกเป็นกลางๆ ไปก็ดี ไม่ไปก็ได้..

เพียงแค่บอกมาก่อน..ให้ชัดเจนในหลักการว่า..ไปแล้ว..อย่างไร ทั้งในเรื่องเงินเดือนและสวัสดิการ ส่วนความก้าวหน้า ก็พอจะเพลาๆลงได้ เพราะอายุก็ปูนนี้แล้ว แต่ที่ผ่านมาจนถึงทุกวันนี้..ไม่เคยมีความชัดเจน พูดกันไปพูดกันมา...จนผมคิดว่าเสียเวลาที่ต้องไปคิดตาม เอาเวลาไปสอนหนังสือให้เด็กอ่านออกเขียนได้ ซึ่งเป็นเป้าหมายหลัก..ของการศึกษาจะดีกว่า..

ผมจึงพูดเสมอว่า..คิดอะไรไม่ออก ก็จ้องแต่จะโอน..จัดการศึกษาล้มเหลว ก็จะถีบหัวส่ง คงจะคิดว่า..การโอน เป็นทางออกสุดท้าย ที่จะแก้ไขอะไรได้..

สพฐ.(สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน) ต้องรีบออกมาสกัดดาวรุ่ง..โดยอ้างงานวิจัยที่ดูจะน่าเชื่อถือได้ว่า..อปท.ยังไม่มีความพร้อมทั้งหมด..และส่วนใหญ่ จะไม่พร้อมเสียด้วย (หรือเขาก็อาจจะไม่อยากได้ก็เป็นได้)

ถ้าโอนไปอยู่กับ..อปท.. ครูมองว่าอย่างไร..สรุปได้สั้นที่สุดเลยว่า..เสียศักดิ์ศรี..แล้วเขตพื้นที่ล่ะ(สพป.)ถ้าไม่มีโรงเรียนในสังกัดให้ปกครองดูแล..ก็จะสูญเสียอำนาจอย่างแน่นอน...พูดกันเท่านี้ก่อน..ยังไม่ได้พูดถึงว่าเด็กจะได้อะไร..ทั้งที่หลักการจัดการศึกษาที่แท้จริง..ต้องเป็นไปเพื่อผู้เรียนเท่านั้น

แต่เอาล่ะ..แล้วจะโอนทำไม..บ้างก็ว่า..ถึงเวลาแล้วที่จะต้องกระจายความรับผิดชอบจัดการศึกษาให้ท้องถิ่น.. บ้างก็ว่าโรงเรียนใกล้ชิดท้องถิ่น ก็จะจัดการศึกษาได้ง่าย และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น..สุดท้ายก็คือ..ต้องการ..คุณภาพ...นั่นเอง

เอาอย่างนี้ไม่ดีกว่าหรือ..ทำได้ง่ายกว่า และตรงกับความต้องการส่วนใหญ่ของครู..จะออกเป็นแบบสอบถามก็ได้..ยังไงก็ได้ข้อมูล..ไม่ต่างจากที่ผมจะพูดต่อไปนี้..

ทำให้ สพฐ.เล็กลง..สั่งให้น้อยลง..คิดให้น้อยลง ลดนโยบายลงเสียบ้าง กระจายอำนาจลงไป..มหกรรมอีเว้นท์ต่างๆเลิกซะ จากนั้น..ก็เป็นหน้าที่ของเขตพื้นที่การศึกษา รู้ปัญหาบุคลากร และเข้าใจทิศทางคุณภาพ ตลอดจนมีเครื่องมือ(ศึกษานิเทศก์และเจ้าหน้าที่) คิดงาน/โครงการพัฒนา..ตามปัญหาและความจำเป็น ทำเรื่องที่สำคัญของพื้นที่นั้นๆ ใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ และนิเทศกำกับติดตามอย่างเข้มข้น โดยมี สพฐ. กำกับสนับสนุน สพป..

ที่ผ่านมา..สพฐ.คิดงานหว่านไปทั่ว..เขตส่งคนมารับทราบ(อบรมสัมมนา) จากนั้นก็ลงไปปฏิบัติงาน แทบจะไม่ได้ทำงานของตัวเอง..ทำงานไม่ตรงกับปัญหา..จึงเกาไม่ถูกที่คันเสียที

และ สพฐ.นี่แหละ..ที่เป็นต้นทางของความเสื่อมคุณภาพทางการศึกษา..จัดประเมินประกวดประชันขันแข่ง แสวงหาผู้เรียนที่เป็นเลิศอยู่ไม่กี่คน โรงเรียนที่ดีมีอยู่ไม่กี่โรง เมื่อเทียบกับคุณภาพโดยรวมและงบประมาณที่สูญเสียไป..โรงเรียน /กลุ่มโรงเรียน /และสพป. ก็ต้องวิ่งตามก้น..จนแทบจะไม่มีเวลาสอนหนังสือ...

ไหนจะต้องมานั่งหลอกผู้ประเมินด้วยงานกระดาษ..ทั้งประกันภายนอกภายใน จัดแฟ้มกันไม่ได้หยุดหย่อน..ปลายปี..ทั้งที่ยังสอนไม่เต็มที่ ครูก็ไม่มีจะสอน..ก็ยังเอา Onet NT มาไล่บี้ จนวุ่นวายไปทั่วประเทศ ผลที่สุดก็นำเศร้าใจ ไปไม่ถึงดวงดาว...ทุกครั้งไป

ครับ..ให้เขตพื้นที่คิดงานเองบ้าง โดยให้.ลด..ละ..เลิก งานอีเว้นท์ใหญ่ๆ ไม่เน้นประเมินด้านเดียว เอาเชิงประจักษ์ หันมาดูทักษะชีวิต..อาชีพชุมชนและการสร้างงานสร้างรายได้ ..ให้เด็กได้ใช้เวลาอยู่กับชุมชนครอบครัวบ้าง เท่าที่เห็นจัดการศึกษากันยังไง..ไกลความเป็นจริงเข้าไปทุกที...พูดแบบนี้ ไม่ได้เชียร์ อปท.นะ... จะบอกให้

ชยันต์ เพชรศรีจันทร์

๘ พฤษภาคม ๒๕๕๘

</span></strong>

หมายเลขบันทึก: 589912เขียนเมื่อ 8 พฤษภาคม 2015 20:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤษภาคม 2015 20:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)


กด Like ให้ล้านครั้งกับประโยคนี้

" งานอีเว้นท์ใหญ่ๆ ไม่เน้นประเมินด้านเดียว เอาเชิงประจักษ์ หันมาดูทักษะชีวิต..

อาชีพชุมชนและการสร้างงานสร้างรายได้ ..ให้เด็กได้ใช้เวลาอยู่กับชุมชนครอบครัวบ้าง

เท่าที่เห็นจัดการศึกษากันยังไง.....ไกลความเป็นจริงเข้าไปทุกที."

ขอแจมนิดว่า.....ช่วยยกเลิกการส่งรายงาน หรือการประเมินผล ฯลฯ

ทาง e-office เสียที....เพราะไม่มีโรงเรียนที่ไหน (แม้แต่โรงเรียนที่สอนเด็ก

ปัญญาอ่อน) จะประเมินผลตนเอง หรือรายงานโครงการต่าง ๆ

แบบให้ตัวเองต้องติด ร. หรือติด 0 แน่นอน....ชอบนักไอ้เรื่อง

รายงานเท็จ เพราะหากรายงานตามความจริง....ก็รับไม่ได้...ทั้งผู้รายงาน

และผู้รับเรื่องรายงาน.....จะบ้าตาย....แล้วชาติิไหนล่ะการศึกษาไทย

จะเป็นความจริงซะที....ฮ่วย !!


ขอบคุณครับ

ท่านผู้อ่านที่เคารพ...จัดการศึกษาให้เข้าถึงคุณภาพจริงๆ ไม่ใช่เรื่องยากหรอก แต่ที่มันยาก เพราะผู้มีอำนาจ ทำให้มันยาก ทำให้เรื่องมันเยอะ จนครู..ต้องแบ่งเวลาไปทำเรื่องไม่เป็นเรื่อง ..ดังที่ผมกล่าวมา ถ้าเข้าใจ เข้าให้ถึง ไม่ต้องทำงานแบบเลียบค่าย....ให้เข้าถึงหัวใจของงาน การศึกษาก็คงไปได้ดีกว่านี้..หรือนี่คือ วัฒนธรรมการศึกษาไทย ไปแล้ว

</span></span></strong>

อยากให้ สพฐ เลิกสั่ง สพป สพม สั่งทำโครงการที่ไม่เป็นประโยชน์

งานแข่งศิลปวัฒนธรรมครูและเด็กเสียเวลาซ้อม เสียเวลาสอนหนังสือ

เด็กส่วนน้อยไม่กี่คนพัฒนาแล้วเด็กส่วนใหญ่ที่เหลือละ น่าสงสาร

มายืนยันว่า ถ้าพัฒนาเริ่มจากโรงเรียน จะดีที่สุดครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท