โยนิโสมนสิการสิ่งจำเป็นสำหรับทุกคน


คิดจากเหตุไปหาผล ผลไปหาเหตุ คิดแบบเห็นความสัมพันธ์ต่อเนื่อง คิดเน้นเฉพาะจุดที่ทำให้เกิด คิดเห็นองค์ประกอบที่ทำให้เจริญและเสื่อม คิดเห็นสิ่งที่ตัดขาดให้ดับ คิดแบบแยกแยะองค์ประกอบ คิดแบบภาพรวม คิดแบบอะไรเป็นไปได้และอะไรเป็นไปไม่ได้

โยนิโสมนสิการ เป็นส่วนหนึ่งที่ให้เกิดความเห็นที่ถูกต้อง เป็นเครื่องขจัดความลังเลสงสัย เป็นองค์ประกอบของความเป็นพระอริยบุคคลชั้นแรกหรือ "โสตาปัตติยังคะ" อันแสดงให้เห็นว่าพุทธศาสนาส่งเสริมโยนิโสมนสิการว่าจำเป็นสำหรับทุกคน

โยนิโสมนสิการ (บาลี: yonisomanasikāra, คำอ่าน: โยนิโสมะนะสิกาน) หมายถึง การทำในใจให้แยบคาย กล่าวคือ การพิจารณาอย่างรอบคอบถี่ถ้วน ทางพุทธศาสนาถือว่ามีคุณค่าเท่ากับความไม่ประมาทหรือ "อัปมาท" ซึ่งเป็นแหล่งรวมแห่งธรรมฝ่ายดีหรือ "กุศลธรรม" ทั้งปวง

อ้างอิง : พระไตรปิฎก เล่ม ๑๙ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ข้อ ๔๖๔ หน้า ๑๒๙ , พระไตรปิฎก เล่ม ๑๒ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ข้อ ๒๖๘-๙ หน้า ๓๓๒

การใช้ความคิดถูกวิธี ความรู้จักคิด คิดเป็น คือ ทำในใจโดยแยบคาย การใช้ความคิดถูกวิธี คือ การกระทำในใจโดยแยบคาย มองสิ่งทั้งหลายด้วยความคิดพิจารณาสืบค้นถึงต้นเค้า สาวหาเหตุผลจนตลอดสายแยกแยะออกพิเคราะห์ดูด้วยปัญญาที่คิดเป็นระเบียบและโดย อุบายวิธีให้เห็นสิ่งนั้นๆ หรือปัญหานั้นๆ ตามสภาวะและตามความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย เช่น

  • คิดจากเหตุไปหาผล
  • คิดจากผลไปหาเหตุ
  • คิดแบบเห็น ความสัมพันธ์ต่อเนื่อง เป็นลูกโซ่
  • คิดเน้นเฉพาะจุดที่ทำให้เกิด
  • คิดเห็น องค์ประกอบที่มา ส่งเสริมให้เจริญ
  • คิดเห็น องค์ประกอบที่มา ทำให้เสื่อม
  • คิดเห็นสิ่งที่มา ตัดขาดให้ดับ
  • คิดแบบ แยกแยะองค์ประกอบ
  • คิดแบบ มองเป็นองค์รวม
  • คิดแบบ อะไรเป็นไปได้ หรึอเป็นไปไม่ได้

ตามหลักวิทยาศาสตร์ในยุคคปัจุบันที่เริ่มค้นพบ อ้างจากทฤษฎีเอ็ม (M-Theory) เราจะพบว่า หลายเรื่องตามหลักพุทธศาสตร์นั้นถูกต้องและเป็นไปได้ (นรก สวรรค์ ฯลฯ) แม้แต่ถ้าดูตามหลักของกลศาสตร์ควอนตัม เราจะพบว่าทุกสิ่งนั้นเกิดดับอยู่ตลอดเวลา เป็นจริงตามที่พระพุทธเจ้าเคยตรัสเอาไว้ สมัยก่อน ตอนเรียนวิทยาศาสตร์ เมื่อพูดถึง อะตอม เราจะมองว่ามันเล็กที่สุด และ มีนิวตรอนกับโปรตรอนอยู่ตรงกลางขณะที่อิเล็คตรอนวิงวนอยู่โดยรอบ ตามแบบจำลองในหนังสือเรียน แต่ปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่า มันมีลึกกว่านั้น นั่นคือควาร์ก(quark) และ นักวิทยาศาสตร์ก็เชื่อว่ามันคืออนุภาคพื้นฐานและเป็นส่วนประกอบสำคัญของสสาร ที่สำคัญ มันกระพริบ(หมายความว่า ตายแล้วเกิด) พอแค่นี้ก็แล้วกันครับเกี่ยวกับเรื่องวิทยาศาสตร์ มาดูเรื่องที่เราคุยกัน คือ สมาธิ...


สมาธิคืออะไร

ตามที่ผมเข้าใจมันคืออาการยึดมั่นหรือจดจ่อหรือบังคับตัวเอง ให้อยู่แต่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพียงอย่างเดียวโดยไม่ให้เรื่องอื่นเข้ามามีส่วนร่วมได้เลยแม้แต่เรื่องเดียว เป็นเวลานานจนกว่าจะหยุดทำ(ออกจากสมาธิ)


ระบบร่างกาย

ร่างกายมนุษย์เป็นเพียงระบบของกระแสแม่เหล็กไฟฟ้าแบบอ่อนที่สั่งการโดยสมองและไขสันหลัง...
สมองสั่งให้ร่างกายเคลื่อนไหวโดยการส่งกระแสประสาท(Electrical Synapse) ไปที่อวัยยวะส่วนนั้นให้ทำงาน และ ในกรณีที่กระแสประสาทไปไม่ได้ก็ส่งต่อในรูปแบบสารเคมี(Chemical Synapse) นี่เป็นเพียงข้อมูลโดยสั่งเขปของระบบ...
เซลล์สมองจะมีจับขั้วเซลล์ประสาทเพื่อช่วยเพิ่มความเข้มข้นของสัญญานทุกครั้งที่เราคิดถึงแต่สิ่งเดิมๆและทำสิ่งเดิมๆซ้ำๆ...
ดังที่อธิบายมาทั้งหมด เมื่อเราฝึกจิตใจให้มีสมาธิและจดจ่อแต่กับสิ่งเดิมๆ บ่อยๆ นานมากพอ พลังจิตเกี่ยวกับสิ่งที่เราต้องการก็จะเกิดขึ้น ซึ่งเป็นวิทยาศาสตร์ไม่ใช่เรื่องของปาฏิหาริย์ หรือ ไสยศาสตร์แต่อย่างใด โดยปกติ เราจะพบอยู่แล้วในธรรมชาติ เช่น ค้างคาว โลมา ซึ่งสัตว์เรานี้ก็ใช้พลังจิตโดยการส่งคลื่นเสียงออกไปและฟังเสียงของคลื่นที่สะท้อนกลับสร้างเป็นภาพขึ้นในสมอง คนตาบอดบางคนก็ฝึกใช้วิธีนี้ได้


การอธิบายนี้จะทำให้ผู้ที่อ่าน ค้นคว้าและหาคำตอบมากยิ่งขึ้น

ให้ใช้ปัญญาที่มีอยู่ของคุณตัดสินทุกอย่างตามความเป็นจริง และ หาข้อมูลในมากพอก่อนแน่ใจในสิ่งที่เชื่อนั้น สำคัญเหนือกว่าสิ่งอื่นใดที่จะได้คำตอบ การทดลอง นักวิทยาศาสตร์ได้คำตอบจากการทดลองและสังเกตเสมอ หากคุณคิดแบบนักวิทยาศาสตร์ คุณต้องทดลอง และ คำตอบของเรื่องนี้(พลังจิต) ทดลองด้วยตัวเอง และ ตัดอคติทั้งหมดออกไปด้วย ที่สำคัญ เวลาสำหรับการทดของและความต่อเนื่องต้องสม่ำเสมอ...

พุทธศาสตร์นั้น เป็นสุดยอดวิทยาศาสตร์

เป็นศาสตร์แห่งการค้นพบและอธิบายทุกสิ่งได้อย่างถูกต้องและไม่ผิดพลาดเลย ทางเดียวที่จะเข้าถึงวิทยาศาสตร์นี้ ต้องเรียนรู้การเจริญสติด้วยหลักการทำสมาธิ จนจบหลักสูตร ญานทั้ง 4 ขั้น เปรียบเทียบกับการเรียนผ่านโรงเรียนนั้นแหล่ะ คุณใช้เวลาเท่าไหร่หรือกว่าจะจบประถม มัธยม และ ปริญญา ใช้เวลาที่เท่ากันนี้ ศึกษาและเรียนรู้ พุทธศาสตร์เถอะครับ ตัวอย่างก็มีใช้เราเห็นอยู่แล้ว สิ่งที่นักฝึกจิต เจริญสมาธิ รวมถึง เกจิอาจารย์ ท่านแสดงอะไรให้เราเห็นบ้าง เราก็รู้กันอยู่ ตั้งแต่ อดีตจนถึงปัจจุบัน...

นักกีฬาทำบ่อยๆซ้อมบ่อยๆ มือเท้าไม่ตาย

การสั่งการของเซลล์สมองจะส่งสัญญาณไฟฟ้าเป็นรูปแบบต่างๆตามที่เราคิด ไปที่แกนสมอง ซึ่งแกนสมองของคนเราจะมีเส้นประสาท 12 คู่ต่ออยู่ เพื่อส่งกระแสไฟฟ้าไปควบคุมการยืดหดเส้นเอ็นทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวตามที่เราต้องการได้ การเดินของเด็กเล็กที่หัดเดินก็เสมือนการ หัดเขียนโปรแกรมชุดคำสั่งทางไฟฟ้า ผลิตคำสั่งจากสมองแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้าบวกลบ ไปขยับขาตัวเองให้ขยับเดิน ซึ่งตอนแรกก็เดินก้าวสั้นบ้างยาวบ้าง แต่พอสมองเกิดการเรียนรู้ ความคิดวิธีการเดินก็จะเกิดเป็นปัญญา ในการที่จะควบคุมการส่งสัญญาณจากสมองได้ดีขึ้น แม่นขึ้น ทำให้เดินได้คล่องแคล่วขึ้นนั้นเอง ส่วนการหยุดเดินหรือหยุุดวิ่งก็จะต้องใช้เวลาการเรียนรู้กันอีกชุดคำสั่งหนึ่ง เป็นเหตุให้เด็กที่เริ่มวิ่งทำไมถึงค่อยๆหยุดวิ่งไม่ได้ หรือวิ่งจนล้ม นั่นเพราะว่า สมองยังไม่ได้เรียนรู้การหยุดวิ่งอีกหนึ่งชุดคำสั่งนั่นเอง ความอัศจรรย์ของสมองก็คือ สมองนั้นต่ออยู่กับขั้วเซลล์ประสาทเพื่อช่วยเพิ่มความเข้มข้นของสัญญานทุกครั้งที่เราคิดถึงแต่สิ่งเดิมๆและทำสิ่งเดิมๆซ้ำๆ นั่นคือ skill หรือทักษะ จากประสบการณ์หรือการเรียนรู้ของสมองได้เกิดขึ้นแล้ว ตราบใดที่เราใช้สมองบ่อยๆก็เป็นการลับสมองให้ฉลาดขึ้น เป็นเหตุให้ มนุษย์เราต้องมานั่งเรียนวิชาการต่างๆให้สมองได้คิดอย่างมีตรรกกะ คิดอย่างแยบยล ใครมีสมองส่วนเหตุผลเจริญเติบโตมากก็เด่นด้าน ตรรกกะวิธีคิด เรียนคณิต-วิทย์ได้ดีก็ไปเป็นหมอ วิศวกร สมองใครทำงานดีด้านความคิดสร้างสรรค์ หรือสมองซีกขวา ก็เก่งด้านดนตรี ศิลปะ เรียนโปรแกรมศิลป-ภาษา ...เรียน ศิลปศาสตร์ นิเทศ อักษร ประชาสัมพันธ์ แต่ถ้าใครสมองทำงานได้ดีทั้งสองด้านก็เหมาะที่จะเรียนศิลป-คณิต เรียนต่อ นิเทศ บริหารธุรกิจ นิติศาสตร์ โลจิสติกส์ ซึ่งจริงๆแล้วมนุษย์ควรถูกพัฒนาให้สมองทำงานได้ทั้งสองด้านโดยถ้าหากทำงานพร้อมกันเมื่อไหร่ก็จะเกิดความรู้ในลักษณะปัญญาสมาธิ หรือสามารถ แต่งโคลงกลอนได้ แต่งเพลงได้ แสดงลำตัดต่อคำสดๆได้ เล่นดนตรีอิมโพรไวซ์ดนตรีแต่งขึ้นสดๆแล้วเล่นให้ฟังได้ ประยุกต์งานวิศวกรรมกับงานออกแบบดีไซด์ที่สถาปนิกทำได้ดี ประยุกต์การรักษาโรคกับการประดิษฐ์เป็นหมอศัลกรรมได้ดี ประยุกต์การเล่นดนตรีเป็นนักประพันธ์ดนตรี จากศิลปินเป็นผู้กำกับ ได้นั่นเอง สมองด้านความคิดสร้างสรรค์นั้นมีพัฒนาการเร็วมาก เราก็มักเห็นเด็กเล็กๆตีกลองในจังหวะยากๆได้ เต้นในท่าทางที่สอนได้เร็ว อาจเป็นเพราะว่าสมองด้านนี้เกี่ยวพันธ์กับด้านอารมณ์ซึ่งเป็นสัญชาติญาณที่ติดตัวมาหรือออกมาจากจิตใต้สำนึก เหมือนที่เวลาเราได้ยินเสียงน้ำไหลเราจะปวดปัสสาวะ เวลาเราได้ยินเสียงเพลงจังหวะหนักๆเราเคาะมือไปด้วยหรือขยับเท้าตามจังหวะ ถ้าเป็นเด็กก็ลุกขึ้นกระโดดเองโดยไม่มีใครสอนให้ทำนั่นเองครับ


คำสำคัญ (Tags): #โยนิโสมนสิการ
หมายเลขบันทึก: 588252เขียนเมื่อ 31 มีนาคม 2015 05:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 มีนาคม 2015 05:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 25 (2001+543) ตั้งแต่ 2543 เป้าหมายสุขภาพดีถ้วนหน้าขององค์การอนามัย (Health For All )สุขภาพเป็นสิทธิ บทสรุป "ซ่อมนำสร้าง"สุขภาพ หลังปฏิรูปสุขภาพ "สร้างนำซ่อม" (All For Health)สุขภาพเป็นหน้าที่ "สุขภาพดีไม่มีขาย อย่ากได้ต้องสร้างเอง" "หมอที่ดีที่สุดในโลกคือตัวคุณเอง " "ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน

โยนิโสมนสิการ การเรียนรู้ด้วยใจที่ใคร่ครวญ คือ หนทางของการเรียนรู้ที่หยั่งรากอย่างมั่นคงในแผ่นดินพุทธภูมิ กลับมาเรียนรู้ ฝึกฝนอย่างจริงจัง นำไปสู่ทางรอดของมวลมนุษยชาติ สานฝันของไอสไตน์ให้เป็นจริง "เริ่มต้นที่ตัวเราเอง" ความรู้คู่คุณธรรมนำสู่อนาคต

มารวมพลังธรรม มโนธรรม ร่วมกันพิสูจน์ทางรอดนี้กันเถอะค่ะ

ด้วยความขอบคุณ

เจริญธรรม สำนึกดี

พานทอง (ยาดมเอง)



อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท