พหุวัฒนธรรมกับการศึกษา : พหุวัฒนธรรม กับ พหุปัญญา


วิทยาการด้านสมองและระบบประสาทเจริญก้าวหน้าขึ้นมาก ทำให้สามารถจำแนกความแตกต่างด้านการเรียนรู้การฝึกฝนได้ถึงแปดอย่าง Howard Gardner ได้นำเสนอทฤษฎีด้านพาหุปัญญา 8 ด้านคือ ปัญญาด้านปฏิสัมพันธ์ต่อผู้อื่น (Interpersonal Intelligence)
ปัญญาด้านปฏิสัมพันธ์ต่อตนเอง (Intrapersonal Intelligence) ปัญญาค้านตรรกะ-คณิตศาสตร์ (Logical-Mathematical Intelligence) ปัญญาด้านการมองเห็น-พื้นที่ (Visual-Spatial Intelligence) ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวทางร่างกาย (Bodily-Kinesthetic Intelligence) ปัญญาด้านถ้อยคำ-ภาษา (Linguistic Intelligence) ปัญญาด้านเข้าใจธรรมชาติ (Naturalist Intelligence) ปัญญาด้านดนตรี (Musical Intelligence)

การจำแนกปัญญาของมนุษย์ออกเป็น 8 ด้าน ที่การ์ดเนอร์นำเสนอนี้ เป็นผลของการที่สมองโฟกัสการทำงานไปยังจุดต่าง ๆ เพียงจุดเดียว และเกิดการทำซ้ำ และ เกิดการหลั่งสารเอนโดฟิน ยกตัวอย่างคือ เด็กที่ชอบภาษาหรือตรรกะ ก็มักจะหมกมุ่นอยู่กับภาษาและ
ตรรกะคณิตศาสตร์ และทำซ้ำจนคล่อง จนชำนาญ เรียนรู้ กับ การทำงานอย่างมีความสุขกับสิ่งที่ชอบ เช่นเดียวกับเด็กที่ชอบดนตรีก็จะหมกมุ่นอยู่กับดนตรี มีความสุขกับดนตรี สู้สิ่งยากเช่นอ่านโน้ตดนตรีด้วยความพากเพียร

แต่วิทยาการด้านการสอน ตามไม่ทัน มีรูปแบบที่พอดูได้ ในระดับอุดมศึกษา ที่ผู้เรียนสามารถเลือกได้ที่จะเรียนให้ตรงกับความถนัดของตัวเอง แต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมดในประเทศสารขัณฑ์นี้ เพราะการเลือกเรียนของคนประเทศนี้นิยมเลือกเรียนตามค่านิยมของสังคม มากกว่าพัฒนาตนเองตามความถนัดของตัวเอง เลือกเรียนเพราะว่าชื่อของสถาบัน และอาชีพที่สร้างรายได้มาก ๆ

สิ่งที่เป็นภาพสะท้อนที่ตัดกันอย่างมาก คือ การแข่งขันความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในระดับโลก ไม่ว่าจะเป็นคณิตศาสตร์โอลิมปิค การแข่งขันหลาย ๆ อย่างรวมทั้ง วิชาชีพต่าง ๆ ดนตรี การทำผม ก็พบว่า คนไทยสามารถแข่งขันกันในระดับโลกได้ ถ้าตรงกับความถนัดและการพยายามฝึกฝนให้เกิดความเป็นเลิศ ่ และอีกภาพหนึ่งที่คะแนนเฉลี่ยในการสอบระดับชาติแบบเหมารวมเริ่มแย่ลงเรื่อย ๆ เป็นภาพสะท้อนที่ตัดกัน โดยมีจุดเริ่มต้นที่มองว่า นักเรียนเป็นพวก Monoculture หรือ Multiculture กันแน่ ก็คือ Monoculture มองว่าเด็กก็เหมือนกันหมดไม่มีอะไรอะไรแตกต่างกัน แต่หากมองว่า Multiculture ก็คือนักเรียนมีความแตกต่างกันเป็นอย่างมาก อย่างน้อยที่สุด พหุปัญญา และ เด็กพิเศษ ที่นำเสนอไปเบื้องต้น ก็บ่งบอกถึงความแตกต่างกันอย่างมหาศาลแล้ว

ตอนนี้มาดูว่าพหุปัญญาแปดอย่าง ใครเป็นกลุ่มชนหลัก ใครเป็นชนกลุ่มน้อย แน่นอนในประเทศสารขัณฑ์นี้ ยึดการเรียนรู้สำหรับคนที่ถนัดทางด้านภาษากับตรรกะ และยกย่องว่าเป็นกลุ่มคนผู้วิเศษ เนื่องจากกลุ่มคนที่เป็นคนสำคัญโดยนัยยะของประเทศนี้เป็นบุคคลที่เจริญมาด้วยภาษากับตรรกะ ฝึกหัดกันมาทางนี้ ซึ่งก็สัมพันธ์สอดคล้องกับวิทยาศาสตร์และระบบทุนนิยมต้องการ การผลิตซ้ำและสังคมประกิต ก็จะเน้นกุลุ่มชนที่เก่งด้านภาษากับตรรกะ เป็นศูนย์กลางของปัญญาในประเทศสารขัณฑ์นี้ และก็กีดกันผู้ที่ถนัดด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย ด้านกีฬา ด้านดนตรี ด้านสังคม ด้านการเรียนรู้ภายในตนเอง ด้านธรรมชาติ จะเห็นได้ว่าโปรแกรมสายสามัญมีเพียงสองปิ่นโตที่จะกินได้ คือ วิทยาศาสตร์ และ ศิลป์ภาษา เท่านั้น แทนที่จะมีทางเลือกถึงแปดปิ่นโต ให้ผู้คนได้พัฒนากันอย่างหลากหลาย

ทั้งนี้ก็เป็นเพราะระเบียบสังคมของระบอบทุนนิยม ที่มองเห็นคนเป็นแค่ไฟล์ แค่ตัวเลข เขาจึงมองไม่เห็นความเป็นมนุษย์ ความนิยมในตรรกะวิทย์คณิต หรือ ศิลปภาษา สามารถทำกำไรให้ระบอบมากกว่า โดยตรง ๆ สามารถผลิตนักวิศวกรรมศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ เข้าไปรับใช้ระบอบอุตสาหกรรม หรืออุตสาหกรรมเกษตร ซึ่งต้องใช้ตรรกะวิทย์คณิตศาสตร์เป็นหลัก เช่นอุตสหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมโรงงาน อุตสาหกรรมเหมืองแร่ ฯลฯ ส่วนศิลป์ภาษาก็ผลิตนักการตลาด การนำเข้าและส่งออก ซึ่งต้องใช้ภาษาในการติดต่อสื่อสารเพื่อกำไรสูงสุด และที่สำคัญผลิตหมอที่ใช้ตรรกะวิทย์คณิต เพื่อมาแก้ไข ซ่อมคน จากระบบผลิตแบบอุตสาหกรรมที่อันตรายต่อคน ต่อระบบนิเวศน์ อันเกิดจากการขูดเอาทรัพยากรพื้นฐานของประเทศมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ ทำให้โรคปัจจุบัน เป็นโรคที่ไม่ใช่โรคติดเชื้อ แต่เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบการผลิตอุตสาหกรรมทั้งสิ้น เช่นโรคมะเร็งต่าง ๆ เป็นอันว่าระบบทุนได้ดีไซน์ นักตรรกะวิทย์คณิต เพื่อรับใช้ระบอบทุนนิยมได้สมบูรณ์แบบ

ดังนั้นจึงไม่ค่อยปรากฎว่ามีโรงเรียนดนตรีดี ๆ ในระดับต่ำกว่าอุดมศึกษา แม้ว่าจะมีโรงเรียนกีฬา โรงเรียนเพาะช่างวิจิตรศิลป์ แต่ก็จำกัดรับ และมีน้อยเกินไปที่จะเห็นความสำคัญ พวกที่นอกเหนือจากความต้องการของระบอบทุนนิยม ก็เรียกว่าพวกคนนอก หรือ ความเป็นอื่น (The Otherness) ถูกกีดกันออกจากการพัฒนาการศึกษา เป็นกลุ่มคนที่ไม่เป็นที่ต้องการของโรงเรียน เพราะกลุ่มคนนอกเหนือจากพวกตรรกะคณิตศาสตร์แล้ว มักจะสอบข้อสอบด้านตรรกะไม่ค่อยได้ มักจะเป็นตัวขัดกับระบบทุนนิยม เช่นเดียวกับเด็กพิเศษ
ที่ถูกกีดกันไปจากการพัฒนาก่อนหน้านั้นแล้ว

ดังนั้นผู้เรียนในปัจจุบันของเรามีความหลากหลายนอกจากเด็กพิเศษแล้ว ยังมีผู้เรียนที่มีความแตกต่างกันด้านสติปัญญา มีความถนัดที่แตกต่างกัน ทวีคูณ ลักษณะนี้ผมเห็นว่าการมองของนักการศึกษาผิดเพี้ยนไปที่เห็นผู้เรียนเหมือน ๆ กันทั้งหมด หรือแทบไม่ได้มองอะไรเลย มองแบบจะยัดอะไรเข้าไปอย่างเดียว มองแบบ (Monocultural) มุมมองเดียวกับรัฐชาตินิยม แต่ความเป็นจริงผู้เรียนเราแตกต่างกันจนถึงระดับ Infinity ซึ่งความเป็นจริงเรามีความแตกต่างกันแบบ (Multicultural) เพื่อสร้างเวทีที่ถนัดที่สุดเพื่อพัฒนามุนษยชาติได้ตรงตามศักยภาพ

คำสำคัญ (Tags): #พหุวัฒนธรรม
หมายเลขบันทึก: 587578เขียนเมื่อ 18 มีนาคม 2015 10:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มีนาคม 2015 10:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท