ลูกอีสาน คำพูน บุญทวี


นวนิยายรางวัลซีไรท์ ปี2522

คำโปรยจากปกหลัง

ลูกอีสาน เป็นเรื่องที่มีค่ามีรสชาติ ผมจึงนำมาลงฟ้าเมืองไทยน มีคนนิยมโดยเฉพาะชาวอีสานนิยมมากเมื่อได้ซีไรท์จึงถือเป็นเกียรติของคำพูนและชาวอีสานทั้งมวลผมยิ่งภูมิใจที่เลือกเรี่องลง ฟ้าเมืองไทยได้ผลดี

อาจิณต์ปัญจพรรค์ (นักเขียน บรรณาธิการ ศิลปินแห่งชาตสาขาวรรณศิลป์ ปี 2534)


ลูกอีสาน นับแสนล้าน พล่านพลัดถิ่น เสาะหาอยู่ สู้หากิน ดิ้นหาสุข เสนอเนื้อหนองน้ำ ในนามทุกข์ เคี่ยวอั่งอุกธรรมชาติวัฒนธรรม ลูกอีสาน แต่วันวาน บ้านกับโลก เผชิญโชค ตระเวนชะตาถลาถลำ บนนถนน ข้างถนน ผจญกรรม ล่องแคนลำ สะทกสะท้าน บ้านกับเมือง ลูกอีสาน เล่าตำนาน เนิ่นนานโน้นเสียงตะโกน อดีตก้อง ทุ่งท้องเรื่อง อนาคต ปัจจุบัน อันรองเรือง ซับสืบเนื่อง เลือดวิถีโขง-ชี-มูล ลูกอีสาน จิตวิญญาณขานสำนึก หลอมรู้สึก มิรู้จบ มิลบสูญ ระคนคิด ระคนคำ ยิ่งค้ำคูณ นึ่งนักเขียน ชื่อคำพูน บุญทวี ลูกอีสาน ผู้สื่อสาร โลกอ่านเขียน ถึงแปรเปลี่ยน ยุคสมัย ไว้ศักดิ์ศรี ปรากฏการณ์วรรรกรรม กำเนิดมี เริ่มต้นที่ ลูกผู้ชายผู้ขายแรง ลูกอีสาน ผู้พลัดบ้าน ผ่านเหนือใต้ คึดฮอดบ้าน มิพรากไกล ไม่ทิ้งแหล่ง ต่อสะพาน วัฒนธรรมเหนือกำแพง เปล่งสีแสง สู่พิสุทธิ์ มนุษยชน ลูกอีสาน เราขับขาน ผ่านหนังสืออ่านลายมือ สื่อลายไม้ เขียนลายข้น เลือดต่อเลือด ลูกต่อลูก ผูกลายคน ลูกอีสานคือลายทน คือลายธรรม...

ไพวรินทร์ขาวงาม 13 กันยายน 2549 (ประพันธ์)


เรื่องราวของลูกอีสาน

เรื่องราวของเด็กชายคูณ ในวัยเด็กกับครอบครัวเล็กๆอันประกอบด้วย พ่อแม่คูณและน้องสาวอีกสองคนคือยี่สุ่น กับบุญหลาย กับการใช้ชีวิตในชนบทและความลำบากแห่งท้องทุ่งอันกันดาร อันเนื่องมาจากภูมิประเทศที่เป็นที่ราบสูงมีทิวเขาเป็นขอบอยู่ทางด้านทิศตะวันตกและด้านใต้ พื้นดินส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทรายไม่อุ้มนน้ำ จึงทำให้ดินแดนแห่งนี้แห้งแล้ง ไม่เหมาะแก่การเพาะปลูกแม่น้ำในภาคนี้ส่วนใหญ่ ไหลลงสู่ใม่น้ำโขง แม่น้ำชี และแม่น้ำมูล ชาวบ้านจึงต้องพลัดถิ่นไปทำงานในเมืองหลวงหรือไม่ก็แยกย้ายกันไปตั้งรกรากบนผืนแผ่นดินแห่งใหม่ที่อุดมสมบูรณ์กว่าตามแนวลุ่มแม่น้ำสายใหญ่ๆเช่น แม่น้ำมูล แม่น้ำชี เป็นต้นเรื่องราวได้กล่าวถึงชนชาติญวน(อีสานเรียกแกว)และจีนได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในดินแดนแห่งนี้ด้วยด้วยพวกเขาประกอบอาชีพค้าขายกันเป็นส่วนใหญ่


ในอดีตการเดินทางเป็นเรื่องยากลำบากเพราะการคมนาคมที่ลำบากมากๆเมื่อก่อนการเดินทางเพื่อที่จะไปกรุงเทพฯต้องเดินเท้า 13 วันไปขึ้นรถไฟที่โคราชเข้ากรุงเทพฯพาหนะที่ใช้สมันก่อนจะเป็นม้าหรือเกวียน เมื่อจะไปไหนมาไหนในระยะทางที่ไกล


พูดถึงเรื่องความแห้งแล้งทุรกันดารในสมัยก่อน เมื่อฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาลพ่อกับแม่ของคูณและเพื่อนบ้านได้ปรึกษากันถึงแนวทางเพื่อการอยู่รอดเพราะถ้าฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาลเมื่อถึงฤดูกาลทำนาและข้าวในยุ้งฉางก็จะหมด ข้าวสารหมดปลาร้าก็ไม่เหลือ ดังนั้นการออกไปหาอาหารตามแหล่งที่ราบลุ่มแม่น้ำใหญ่ๆจึงเป็นวิธีเดียวที่จะทำให้ครอบครัวอยู่รอดคือการออกไปหาปลา เพื่อทำปลาร้า ปลาส้ม นำมาแลกข้าวสารประทังชีวิต ดังเช่นครอบครัวของคูณและเพื่อนบ้านที่ได้ออกเดินทางรอนแรมเพื่อไปหาปลามาทำปลาร้าปลาแห้ง การเดินทางไปยังที่ราบลุ่มแม่น้ำชีโดยใช้เกวียนเพื่อจับปลาในแม่น้ำใหญ่ๆจะมีปลาอยู่ชุกชม จำนวนมาก ต้องใช้วันไม่น้อยกว่า 20วันกว่าจะได้กลับบ้านเพราะต้องใช้เวลาเดินทางและอยู่เพื่อจับปลาให้พอกับที่ต้องการทำปลาร้าอีกครอบครัวละ 3-4 ไห เป็นอย่างต่ำ...


หมู่บ้านเริ่มร้าง อันเนื่องมาจากลักษณะภูมิประเทศทางด้านทิศตะวันตกมีแนวภูเขาซึ่งกันระกว่างภาคกลางกับภาคอีสานทำให้ลมมรสุมไม่มสามารถพัดพาเอาความชื้นเข้ามาได้ ถึงแม้ปริมารฝนของภาคอีสานจะมีปริมาณมากไม่ต่างจากภาคอื่นๆแต่ด้วยสภาพของดินทรายซึ่งไม่อุ้มน้ำ ทำให้น้ำไหลซึมสุ่ชั้นบาดาลหมด เหลือเพียงความแห้งแล้งปกคลุมดินแดนภาคอีสานทำให้ชาวบ้านต้องอพยพครอบครัวออกไปหาที่อยู่ใหม่


อาหารหน้าแล้ง ชาวอีสานอาหารกินง่ายๆ ตามแต่สภาพอากาศเอื้ออำนวยและตามฤดูกาล เช่น หน้าร้อนจะมีจั๊กจั่น,กิ้งก่า,แมงกุ๊ดจี่,หรือแม้กระทั่งงูสิง,พังพอน,จิ้งหรีด, อึ่งอ่าง,กบ,เขียด ฯลฯแต่มีสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับชาวอีสานคือ ปลาร้า นั่นเองปลาร้าคือปลาที่เก็บไว้บริโภค เป็นการถนอมอาหารไว้กินในหน้าแล้งหรือเวลาที่ไม่สามารถหาอาหารได้สามารถดัดแปลงให้เป็นอาหารจานหลักหรือเครื่องปรุงรสได้อีกด้วยไม่ว่าจะเป็นลาบปลาร้าหรือการใช้ปลาร้าแทนน้ำปลาหรือเกลือ เป็นต้น


ความคิดเห็นหลังจากที่ได้อ่าน

ในฐานะที่เป็นลูกอีสานคนหนึ่งซึ่งต้องเข้ามาทำงานในเมืองใหญ่ เมื่อได้อ่าน"ลูกอีสาน " หลังอ่านรู้สึกว่ามันอิ่ม อิ่มที่ได้เรียนรู้เรื่องราวในวิถีชีวิตของคนสมัยก่อนว่า ชีวิตช่างโหดร้ายจริงๆชาวอีสานในครอบครัวชนบทที่ต้องอาศัยฝนฟ้าที่ตกต้องตามฤดูกาลเพื่อเพาะปลูกพืชพันธุ์ทางการเกษตรคือข้าวนั่นเองซึ่งเป็นอาหารหลัก และจะเห็นได้ว่าอาหารทุกมื้อและเกือบทุกเมนูจะมีปลาร้าเป็นส่วนประกอบ ใครสามารถอยู่ได้ก็จะอดทนอยู่และเรียนรู้และปรับตัวให้เข้ากับการใช้ชีวิตด้วยความลำบากและใครไม่สามารถอยู่ได้ก็จะอพยพย้ายถิ่นฐานไปยังที่ราบลุ่มแม่น้ำที่ซึ่งสามารถหาหรือประกอบอาชีพที่จะสามารถดำรงชีวิตได้

ถึงแม้ว่าปัจจุบันการใช้ชีวิตและยุคสมัยที่เปลี่ยนไปเรื่องราวแบบนี้ก็อาจจะยังเกิดขึ้นอยู่เพราะสภาพภูมิประเทศที่ไม่ค่อยเอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตจะเห็นได้ว่าชาวต่างจังหวัดไม่ว่าจะเป็นภาคเหนือ,ใต้,ภาคตะวันออกและภาคตะวันตกตกหรือชาวอีสานพลัดถิ่นจำนวนมากจะเข้ามาทำงานในเมืองใหญ่เมื่อถึงเวลากลับบ้าน อาจทำให้เมือใหญ่ๆนั้นโล่งเลยทีเดียวดังเช่น ช่วง ปีใหม่หรือสงกรานต์ เมื่อกลับบ้านก็จะได้อยู่พร้อมหน้าครอบครัวได้เจอญาติมิตรพี่น้องเป็นเหมือนวันรวมญาติแห่งปีนั่นเอง แต่เพราะมันสอนให้เราได้เรียนรู้ว่าคนอีสาน รักในถิ่นฐานบ้านเกิด...

ขอแนะนำให้ลูกอีสานทุกคนหรือไม่ว่าจะเป็นภาคไหนๆ ผมก็แนะนำให้อ่านเลยครับถือว่าเป็นการเรียนรู้ เรื่องราวการใช้ชีวิตเพื่อความอยู่รอดและการปรับตัวให้เข้ากับลักษณะภูมิประเทศของชาวอีสานในสมัยอดีต อาจจะมีวิถีชีวิตเหมือนหรือแตกต่างกันในบางเรื่องต่ผมคิดว่าเรื่องนี้มันให้แง่คิดแก่เราในอะไรหลายๆอย่างเป็นอย่างดี ขอบคุณครับ.

คำสำคัญ (Tags): #ลูกอิสาน
หมายเลขบันทึก: 587572เขียนเมื่อ 17 มีนาคม 2015 23:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มีนาคม 2015 23:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

-สวัสดีครับ

-ผมเป็นคนหนึ่่่งที่ชื่นชอบอ่านเรื่อง"ลูกอีสาน"

-วิถีชีวิตที่น่ามอง....น่าติดตาม...

-ขอบคุณครับ..


อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท