มาฆะบูชา


....มาฆะตถาคตตรัสให้..........โอวาท

ปาฏิโมกข์พึงฉลาด................เร่งรู้

นำปฏิบัติมิหย่อนขาด.............ละเลิก

สันติสงบได้แด่ผู้...................มั่นแท้เพียรเสมอ


....เธอพึงสามหลักค้ำ............มั่นประจำ

อีกสี่หมายหมุดนำ.................ตระหนักแจ้ง

วิธีหกให้กระทำ.....................แบบอย่าง

วจนะไป่ปล่อยแล้ง................"ตื่นรู้"กระจ่างไสว


....๑ ไป่เปิดโอกาสให้............บาปใด

ปวงบาปหนักเบาไว................หลีกเว้น

๒ กายจิตพิสิฐพิสุทธิ์ใส..........ปฏิบัติ

๓ กุศลกิจมิเฉื่อยเร้น..............รับใช้ช่วยเหลือ


โอวาทปาติโมกข์มักถูกกล่าวถึงในแง่หลักธรรม 3 อย่างเดียวว่าเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา

อย่างไรก็ตามพระพุทธพจน์ 3 คาถากึ่ง อาจสรุปใจความได้เป็นสามส่วน

คือ หลักการ 3 อุดมการณ์ 4 และวิธีการ 6

จากวิกิพีเดีย


หมายเลขบันทึก: 587003เขียนเมื่อ 3 มีนาคม 2015 12:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มีนาคม 2015 12:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขออนุญาตชี้แจงครับ

มีผู้ติงคำ "มาฆะบูชา" ว่า
เขียน "มาฆบูชา"

ต้องขอขอบคุณ ณ ที่นี้

แต่ตั้งใจเขียน "มาฆะบูชา" ครับ

ด้วยต้องการ ไม่ให้เป็น คำสมาส
ประสงค์จะหมายถึง

ครั้นถึง มาฆฤกษ์ (ดวงจันทร์เดินมาถึงดาวฤกษ์ชื่อ มฆะ)
จึงตระหนักถึง ธรรม (โอวาทปาติโมกข์)
ที่พระพุทธองค์ตรัสสอน
อันพึงสมควร "ปฏิบัติบูชา"


คำสมาส การแปลต้องแปลจากหลังมาหน้า (คำตั้งอยู่หลังคำขยายอยู่หน้า) เช่น ราชการ การเป็นคำตั้ง ราชขยายการ =งานของพระเจ้าแผ่นดิน อุบัติเหตุ เหตุเป็นคำตั้ง อุบัติขยายเหตุ=เหตุการณ์ที่กิดโดยไม่คาดคิด แต่ก็มีคำสมาสบางคำที่แปลจากหลังไปหน้า และหน้าไปหลังได้ถ้ามีความหมายเหมือนกัน ก็ถือเป็นคำสมาส เช่น บุตร+ธิดา=บุตรธิดา ไม่ว่าจะแปลจากหลังไปหน้าหรือหน้าไปหลัง ก็แปลว่า ลูก เหมือนกัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท