การพัฒนาการอ่านจับใจความและทักษะการคิดแกน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือแบบ STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย


การพัฒนาการอ่านจับใจความและทักษะการคิดแกน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือแบบ STAD ตามเกณฑ์ 80/80 2) หาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือแบบ STAD 3) เปรียบเทียบทักษะการคิดแกนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4ที่เรียนรู้ด้วยแผนการจัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือแบบ STAD ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/3 โรงเรียนเทศบาล ๓(ยมราชสามัคคี) สังกัดเทศบาลนครนครราชสีมา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวนนักเรียน 32 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบเป็นกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มร่วมมือแบบ STAD จำนวน 6 แผน แผนละ 2 ชั่วโมง รวม 12 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.22 ถึง 0.75 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.93 3) แบบทดสอบทักษะการคิดแกนแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ มีค่าความยาก ตั้งแต่ 0.47 ถึง 0.77 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.37 ถึง 0.64 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.89 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุติฐาน โดยใช้ t-test (Dependent Sample)

ผลการศึกษาปรากฏ ดังนี้

1. แผนการจัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือแบบ STAD มีประสิทธิภาพเท่ากับ 88.75/86.77 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้

2. ดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความ กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือแบบ STAD มีค่าเท่ากับ 0.7251 แสดงว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนคิดเป็นร้อยละ 72.51

3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้เรียนรู้ด้วยแผนการจัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือแบบ STAD มีทักษะการคิดแกนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

โดยสรุป การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือแบบ STAD สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียน ในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดแกนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เห็นสมควรแนะนำให้ครูผู้สอนนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือแบบ STAD ไปปรับใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในส่วนที่เกี่ยวข้อง ให้บรรลุตามความมุ่งหมายของหลักสูตรต่อไป

หมายเลขบันทึก: 586999เขียนเมื่อ 3 มีนาคม 2015 10:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มีนาคม 2015 10:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เป็นกิจกรรมที่น่าสนใจดีค่ะ

น่าสนใจดีค้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท