"เสียง ออ อ่าง"




อักษรไทย ออ อ่าง มีความสัมพันธ์กับกิริยาการของเราในเวลาดีใจ ตกใจ เข้าใจ อุทาน ฯ ซึ่งออ อ่างจะถูกนำมาใช้เป็นสื่อ แสดงออกอย่างน่าอัศจรรย์และดูน่ารักครับ โดยมีคำต่างๆ ดังนี้---


๑) "อ๋อ" ใช้ในกรณีที่เข้าใจเรื่องที่ได้ยิน ได้เห็น...จึงอุทานออกมาว่า อ๋อ เข้าใจละ

๒) "อือ" ใช้ในกรณีที่เข้าใจหรือรับรู้เรื่องนั้น จึงอุทานออกว่า อือ รู้ละ

๓) "อุ๊ย" ใช้ในกรณีที่ตกใจหรือประหลาดใจ จึงอุทานออกไปว่า อุ๊ย จริงหรือ

๔) "โอ๊ะ" ใช้ในกรณีตกใจ ประหลาดใจ จึงอุทานออกไปว่า โอ๊ะ อะไรนั่น

๕) "โอ้ย" ใช้ในกรณีเจ็บปวดหรือไม่ชอบ จึงอุทานออกไปว่า โอ๊ย เบื่อวะ

๖) "อ้าว" ใช้ในกรณีสงสัย ประหลาดใจ จึงอุทานว่า อ้าว เป็นไปได้ไง

๗) "อุ๊บ" ใช้ในกรณีทำผิดหรือตกใจ ไม่ตั้งใจ จึงอุทานไปว่า อุ๊บ ขอโทษ

๘) "ไอ้" ใช้ในกรณีที่ไม่ชอบอย่างแรงหรือตกใจ จึงอุทานว่า ไอ้ห่านี่ ไอ้...(ชื่อ)

๙) "เอ๊ะ" ใช้ในกรณีตกใจ สงสัย จึงอุทานว่า เอ๊ะ เป็นอะไรวะ

๑๐) "โอ้, โอ๋" ใช้ในกรณีประหลาดใจ ทึ่งอึ้ง ชอบใจ จึงอุทานว่า โอ้ โฮ สุดยอด

๑๑) "ออ" ใช้ในกรณีเข้าใจ รู้แล้ว จึงอุทานว่า ออ ครับ งั้นเหรอ

๑๒) "อ้อ" ใช้ในกรณีเข้าใจ รู้แล้ว ทึ่ง จึงอุทานว่า อ้อ อย่างงี้เอง

๑๓) "อ๋อย" ใช้ในกรณีไม่ชอบ อิดออด จึงอุทานว่า อ๋อย ทำไมต้องเป็นเรา

๑๔) "อ๊ะ" ใช้ในกรณีสงสัย จึงอุทานออกไปว่า อ๊ะ

๑๕) "อ้า" ใช้ในกรณีตกใจ ประหลาดใจ กลัว อุทานว่า อ้า กลัวอะ

๑๖) "เอี้ย" ใช้ในกรณีไม่ชอบหรืออุทานกับเพื่อนว่า เอี้ยเอ้ยยยย

๑๗) "อ้ำ" ใช้ในกรณีเรียกร้องให้เด็กกินอาหาร แม่จะพูดว่า อ้ำๆๆ

๑๘) "เออ" ใช้ในกรณีสงสัย ตอบรับ ไม่รู้ จึงอุทานออกมาว่า เออ เหรอ

๑๙) "อุบ๊ะ" ใช้ในกรณีไม่ชอบ ตกใจปนทึ่ง จึงอุทานว่า อุบ๊ะ เยี่ยมเลย

๒๐) "เอ้า" ใช้ในกรณีแนะนำ เสือกไส ไม่ชอบ จึงอุทานไปว่า เอ้า หรืออ้าววววว ไอ้นี่


ยังมีคำอื่นๆ อีกมากมายเวลาเราพูด อุทาน โดยใช้อักษร ออ อ่าง ครับ

นอกจากนี้ อ ยังเป็นอักษรนำด้วย แต่ไม่ออกเสียง เช่น อย่า อยู่ อย่าง อยาก น่าสงสารจัง ในภาษาบาลี เป็นคำอุปสรรค แปลว่า ไม่ เช่น อกรรม แปลว่า ไม่เป็นกรรม อธรรม ไม่เป็นธรรม อกุศล ไม่ฉลาด อภัย ไม่มีภัย ไม่มีโทษ

นี่คือ ภาษาไทย ที่มีเสน่ห์และน่าอัศจรรย์ รักภาษาไทย จะเข้าใจภาษากัน

---------------------๒๖/๒/๕๘-------------------------

คำสำคัญ (Tags): #ออ อ่าง
หมายเลขบันทึก: 586799เขียนเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2015 09:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2015 18:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

อ๋อ....เข้าใจแล้วครับ...

-ขอบคุณคร้าบ...

บันทึกชวนคิด

เป็นเพราะ "อ" เป็นเสียงที่เปล่งออกมาได้ง่ายกว่าอักษรอื่นรึเปล่าคะ เด็กทารกที่ยังพูดไม่ได้ ยังบังคับปากบังคับลิ้นเพื่อเปล่งเสียงเป็นคำไม่ได้ก็ออกเสียง "ออ" ได้

ฝรั่งก็อุทานด้วยอักษร "ออ" ค่ะ

ขอเอามาเพิ่มจากคนไทยที่เคยไปเรียนออสเตรเลียมาค่ะ อาจารย์ ว่าด้วยคำอุทานภาษาอังกฤษแบบออสซี่ รักภาษาไทยมากที่สุดค่ะ

มีคำหนึ่งที่เราอุทานออกมาจากอารมณ์แห่งความสุขหรืออาจเหยียดไปทางเยาะเย้ยได้คือ "อิ..อิ.." ขอบคุณ คุณวิชญธรรม เพชรน้ำหนึ่ง อ.นุ้ย อ. โอ๋ ครับ

อีสาน มีออกเสียงทำนอง "โอ๋ยๆ" ด้วยนะครับ ...

ใช่ครับ อ. แผนดิน เวลาหมอลำร้องมักจะมีคำว่า "โอ๋ยย ละน้อ...." ขอบคุณครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท