หนีกับดักมหาวิทยาลัยเป็นเลิศปานกลาง



ผมได้บันทึกเรื่องกับดักมหาวิทยาลัยเป็นเลิศปานกลาง ที่นี่

วันนี้นึกสาเหตุ หรือกับดักมหาวิทยาลัยเป็นเลิศปานกลาง ทำให้ไม่สามารถพัฒนาขึ้นไปเป็น World Class Research University ได้ อีก ๒ สาเหตุ คือ

  • ๑.วัฒนธรรมการเป็น Local / National University ที่ติดมาจากระบบราชการ ไม่คิดจัดระบบดึงดูดคนที่เก่งที่สุดมาเป็นอาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษา จากทั่วโลก ผู้บริหาร และประชาคมในมหาวิทยาลัย มองว่านี่คือมหาวิทยาลัยไทย ต้องให้โอกาสแก่คนไทย ได้เข้าเป็นอาจารย์/นักวิจัย/นักศึกษาในลำดับแรก
  • ๒.การเมืองในระบบจัดสรรทรัพยากร ที่ให้แก่โครงการที่ดี ในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง แต่ ไม่ได้มีระบบติดตามผลงานอย่างเอาจริงเอาจัง ทำให้มีการเอื้อประโยชน์ ให้พออยู่ไปได้เรื่อยๆ โดยไม่ต้องมีผลงานที่เป็นเลิศจริงๆ และเนื่องจากคนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มใหญ่ ผู้บริหารที่สรรหา ตามระบบที่เป็นอยู่ย่อมต้องเอาใจคนกลุ่มใหญ่ ซึ่งจะปกป้องสถานะคงที่ (status quo) ไว้อย่างเหนียวแน่น

ที่จริงบันทึกนี้ ต้องการเสนอทางออก จากกับดักมหาวิทยาลัยเป็นเลิศปานกลาง ซึ่งน่าจะมีหลากหลาย กลไก และต้องใช้หลายกลไกประกอบกัน ภายใต้ยุทธศาสตร์สร้างวิกฤติ ให้สมาชิกขององค์กรต้องออกมาจาก comfort zone ซึ่งตอนนี้ผมนึกออก ๒ กลไก

  • ๑.ใช้ External Examiner จากมหาวิทยาลัยที่เราต้องการ benchmarking ด้วย ให้มาช่วยแนะ และตั้งคำถามให้เราต้องปรับตัวใหญ่ เปลี่ยนกระบวนทัศน์ของการเป็นมหาวิทยาลัยเป็นเลิศ ระดับ World Class Research University
  • ๒.สร้างระบบให้ประโยชน์ตอบแทนใหม่ โดยดูตัวอย่างที่ มจธ.



วิจารณ์ พานิช

๒๓ ม.ค. ๕๘


หมายเลขบันทึก: 586539เขียนเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2015 18:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2015 18:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท