กระบวนกรฝึกหัด 2


..........เมื่อวันที่ 14 - 18 กุมภาพันธ์ 2558 ที่ผ่านมา ผม เพื่อนๆ น้องๆ เเละครู ได้ ไปกิจกรรมถอดบทเรียนของโครงการโรงเรียนวันสุข ที่ได้รับการสนับสนุนโดย มูลนิธิการศึกษาเพื่อชีวิตเเละสังคม(กชส.) เเละ สำนักงานกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) จากที่ได้ดำเนินงานในโครงการฮักเเพงร่วมใจลดใช้สารเคมี มาเป็นเวลา เกือบ 1 ปี ซึ่งครั้งนี้ฮักนะเชียงยืนมีกลุ่มเป้าหมาย คือ เด็กในชุมชนบ้านเเบกเเละบ้านหนองกุง ทั้งชั้นประถมศึกษาเเละชั้นมัธยม พัฒนาศักยภาพเด็กด้วยกระบวนการทางละคร โดยที่ได้จัดค่ายไปเเล้ว 3 ครั้ง เร่ละคร 2 ครั้ง ได้เเก่ ค่ายเรียนรู้ร่วมกัน ค่ายละครชีวิต ค่ายเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ เร่ละครของเด็กบ้า่นหนองกุงเเละบ้านเเบก ฯ จากวันนั้นถึงวันนี้ เป็นกิจกรรมถอดบทเรียนที่ทางโครงการใหญ๋(โรงเรียนวันสุข) ได้จัดขึ้น ณ บ้านครูมุกดา อินต๊ะสาร อ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา ผมเองลึกๆตั้งเเต่ในครั้งเเรก ชื่นชมในตัวพี่หนุ่ม(กชส.) ในเรื่องของการเขียนสรุปประเด็น เขียนแผนผังความคิด เเละการชวนคุย ผมพยายามเรียนรู้ในเรื่องกระบวนกรนี้ทั้ง 2 ทาง คือ ทางการถามโดยตรง เเละการฝึกจากค่ายหรือกิจกรรมที่จัดขึ้นทั้งในโรงเรียนเเละชุมชนเเล้วสังเคราะห์ตนเองออกมา มีเครื่องมือต่างๆนานา ที่ผมได้พบเห็นในระหว่างทางทั้งเอาของเขามา ทั้งเห็นพลางๆ ทั้งเข้าไปถามด้วยความสนใจ ทั้งออกเเบบของตัวเอง กาลเวลาผ่านมาถึงวินาทีนี้ ผมเกิดความคิดที่ว่า "เครื่องมือ เป็นเพียง การทำให้ทุกๆคนเห็นภาพร่วมกัน" ที่จริงเเล้ว เครื่องมือ ต่างๆ หรือชุดคำถามต่างๆที่เราเห็นตามค่ายกิจกรรม เกิดมาจากความต้องการของผู้ดำเนินกระบวนการ เครื่องมือต่่างๆเกิดมาจากจุดประสงค์หรือชุดคำถาม จึงออกเเบบเป็นเครื่องมือขึ้นมา

..........หลักเบื้องต้นหรือพื้นฐานในการจับประเด็นหรือชวนคุย กับทุกๆคนเพื่อเเลกเปลี่ยนเรียนรู้หรือเพื่อให้ทุกๆคนเห็นในสิ่งๆหนึ่งร่วมกัน ในการเป็นกระบวนกรที่นำกระบวนการ น่าจะมี 4 ทักษะสำคัญที่อยู่ตัว คือ ทักษะทางการคิด การฟัง การพูด เเละการเขียนออกมา ดังนี้

1 ) ทักษะทางการคิด เป็นสิ่งสำคัญที่ควรระวังมากที่สุด เเละควรใช้มากที่สุด ได้เเก่ วางโครงความคิดแทนการวางความคิด ความเชื่อมโยงกัน/แยกออกจากกัน ประเด็นสำคัญ/ประเด็นรอง หลักการ/ทฤษฎี สิ่งสำคัญในข้อนี้ คือ ในการจะคิดเพื่อจับประเด็นต่างๆ เรามักจะเอาความคิดของตนเองใส่เข้าไปด้วย เเต่จริงๆเเล้วเราไม่ควรใส่ความคิดของตนเองลงไป เพราะข้อมูลมาจากการฟัง ไม่ใช่การคิดของเราเอง ไม่ได้เอาความคิดของตนเองใส่ เเต่ให้เอาโครงความคิดของตนเองใส่ได้ เช่น หลักคิด ปศพพ. หลักคิด PDCA หลักคิดเชิงวิธีการ/เชิงกระบวนการ เป็นต้น

2 ) ทักษะทางการฟัง เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่จะทำให้ประเด็นไม่เพี้ยน คำถามที่เกิดขึ้นอย่างเเรก คือ จะฟังอย่างไร ไม่ให้เพี้ยน ข้อนี้คงจะไม่มีใครตอบใครได้ เเต่หลัก พื้นฐาน คือ ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อไหร่ กับใคร เกิดผลอย่างไร ฯ เเละสิ่งที่ควรจะมีในการฟัง คือ มีสมาธิ การเเยกเเยะประเด็นจากการฟัง เรื่องเดียวกันหรือคนละเรื่อง ใจความสำคัญของเรื่อง/ส่วนขยาย เรื่องนี้ต้องฝึกไปเรื่อยๆ เช่นเดียวกับเรื่องอื่นๆ

3 ) ทักษะทางการพูด สิ่งนี้อาจเป็นสิ่งอันดับเเรกก่อนกระบวนการ ระหว่างกระบวนการ เเละหลังกระบวนการ ได้เเก่ การตั้งคำถาม การชวนคุย/สรุป การสะท้อนผลการพูดคุยฯ เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่จะนำไปสู่การสะท้อนผลออกมาสู่การฟังเเละเขียน

4 ) ทักษะทางการเขียน อันนี้เป็นเรื่องของศิลปะที่จะต้องหัดๆกันไป เพราะหากสามารถสื่อสารทางการเขียนนี้ได้ตรง ผู้รับสารจากที่เราเขียนหรือวาด ก็จะเห็นภาพเดียวกันกับเรา โดยควรจะมี มีศิลปะ เข้าใจง่าย/มีโมเดล เน้นจุดสำคัญ/ประเด็นหลัก - รอง ใช้สัญลักษณ์ /ภาพสื่อความหมาย ประเด็นทุกอย่างมาจากข้อมูล ในเรื่องการเขียนหากเราใช้สัญลักษณ์หรือใช้ภาพ ผู้รับสารจะเข้าใจตรงกันกับเรามากยิ่งขึ้น ผมคิดว่า การเขียนเเบบแผนผังความคิด หรือวาดภาพเป็นขั้นเป็นตอนจะสื่อได้ชัดเจนมายิ่งขึ้น

..........การคิด การพูด การฟัง การเขียน ทั้ง 4 อย่างนี้เป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการชวนคุยหรือเป็นผู้ดำเนินกระบวนการ อีกสิ่งที่ควรเสริมให้ตนเองอยู่ตลอด คือ การพยายามเรียนรู้ ไม่ทำตัวเป็นน้ำเต็มเเก้ว เพราะ "ทุกกระบวนการที่เรามองเห็น ย่อมจะมีจุดที่เรามองไม่เห็นอยู่เสมอ"

.

.

หมายเลขบันทึก: 586537เขียนเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2015 18:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2015 18:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท