ตั้งใจไปอ่านข้อเขียนของท่านอาจารย์หมอวิจารณ์ เรื่อง "สอนอย่างมือชั้นครู" ซึ่งอาจจะมีมากกว่า ๓๔ ตอน ให้จบ (เริ่มเขียนเมื่อ 10 มี.ค.57 เริ่มลงเมื่อ 17 กรกฎาคม 2557 และถึงวันที่ 14 ธันวาคม 2557 ลงมาถึงตอนที่ ๒๒ แล้ว) ลองสกัดความรู่้ ส่วนที่เป็นแนวทางสร้าง "ทักษะการสอน" ออกมาเป็นตอนๆ (ผมใช้วิธี "ตีความ" จาก "การตีความ" ของท่านอาจารย์หมอวิจารณ์อีกครั้ง"
-
สอนอย่างมือชั้นครู : ๑. เข้าใจศิษย์ และเข้าใจวิธีเรียนของศิษย์ (๑) Understanding Your Students and How They Learn
- Keyword คือ ต้อง เข้าใจเด็กในชั้นเรียน โดยต้องทราบประวัติของเด็กแต่ละคนในชั้น, ทราบว่าเด็กรุ่นนี้มีวิธีการเรียนรู้อย่างไร และหาวิธีการสอนให้เขาเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง คือ สอนทักษะ ที่เป็น Learning skill นั่นเอง
- กระตุ้นให้นักเรียนให้สร้างแรงจูงใจ โดยค้นหาแรงบันดาลใจ ในตัวเอง ซึ่งนักเรียนจะเข้าใจตนเองและรู้จักตนเองมากขึ้น
- การสอนต้องเป็น Active Learning ที่เป็นการเรียนรู้จากการปฏิบัติ ตามด้วยการสอบทวนความรู้/โยนิโสมนสิการ (Reflection) เสมอ..ต้องฝึกให้นักเรียน ทำ Reflection/สะท้อนคิดเป็นด้วย
- เมื่อไรเขาร้อง "อ๋อ" แสดงว่า เขาเกิดความเข้าใจและสร้างชุดความรู้่ใหม่ได้ด้วยตนเอง (เกิด ปิั้งแว๊บ หรือ intuition"
-
สอนอย่างมือชั้นครู : ๒. เข้าใจศิษย์ และเข้าใจวิธีเรียนของศิษย์ (๒) พัฒนาการด้านทักษะการเรียนรู้ Laying the Groundwork for Student Learning
- หน้าที่ของครู คือ ต้องช่วยให้ศิษย์เกิดพัฒนาการด้านวิธีเรียนรู้ ให้เกิดวุฒิภาวะด้านการเรียนรู้ คือ ให้มี Learning skill ทั้งทางด้านวิชาการ คือ ส่วน cognitive และส่วนที่เป็น non-cognitive คือ วิชาชีวิต, ทักษะชีวิต Life skill ด้วย
- จะเห็นว่า คำสำคัญคือ development ด้าน Learning skill ให้ผู้เรียนเข้าใจเองว่า "How to" ทำอย่างไร
- ในบทนี้มีการพูดถึง millennial generation (คนพันธุ์เอ็ม), หรือ Me me me generation ด้วย (ผมเพิ่งทราบความหมาย-เมื่ออ่านบทนี้)
- สิ่งที่ท้าทายครู คือ การจัดชั้นเรียนให้คนทุกจริตเข้าถึงการเรียนรู้ เพราะ การศึกษาในศตวรรษที่ ๒๑ เป็น Education for ALL การศึกษาเพื่อคนทุกคน
-
สอนอย่างมือชั้นครู : ๓. ออกแบบรายวิชา โดยเอาผลลัพธ์การเรียนรู้เป็นหลัก Laying the Groundwork for Student Learning (มาจากบทที่ ๒ : Outcome-Centered Course Design)
- ออกแบบรายวิชาโดยอาศัย Learning Outcome เป็นหลัก
- ก่อนเขียน Learning Outcome (LO) ต้องทำการบ้าน โดย ใช้หลักพิชัยสงครามของซุนวูเสียก่อน ที่ว่า "รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง"
-
รู้เรา คือ เข้าใจในครามเป็นครูของเรา
-
รู้เขา ส่วน "เขา" ในที่นี้คือ ตัวรายวิชา และ ตัวนักศึกษา
-
รายวิชา ผู้สอน ต้องไปค้นหาหรือตีความว่า "รายวิชานี้มีเป้าหมายอะไร?", "มีความหมายต่อชีวิตในอนาคตของนักศึกษาอย่างไร?"
-
ตัวนักศึกษา ผู้สอน ต้องทำความเข้าใจนักศึกษาแต่ละคน และที่สำคัญคือทำความเข้าใจว่านักศึกษามาลงทะเบียนเรียนวิชานี้ด้วยความมุ่งหวังอะไร?
- มีอะไรบ้างที่เป็น "ตัวช่วย" ที่ช่วยให้เกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ดี (หนังสือ วิธีการสอน กิจกรรม การบ้าน ฯลฯ) อะไรบ้างที่ใช้ได้ผล และ อะไรบ้างที่ใช้ไม่ได้ผล
-
ผลลัพธ์ของการเรียนรู้มี ๓ ส่วน : ส่วนที่ ๑ ระบุผลลัพธ์ที่วัดได้ โดยต้องเขียนเป็นคำกริยา ที่แสดงการกระทำ เช่น นิยาม จัดหมวดหมู่ สร้าง คำนวณ อย่าใช้คำที่แสดงสภาวะภายในตัวคนที่สังเกตไม่ได้ เช่น รู้ เรียนรู้ เข้าใจ ตระหนัก ชื่นชมส่วนที่ ๒ ระบุเงื่อนไขของผลลัพธ์ ว่าสามารถทำได้ ในสถานการณ์ใด โดยวิธีใด เช่นโดยการเขียน โดยการนำเสนอด้วยวาจา โดยการนำเสนอเป็นแผ่นภาพ โดยการนำเสนอเป็นมัลติมีเดีย ฯลฯ
ส่วนที่ ๓ เกณฑ์และมาตรฐานในการวัดผลลัพธ์ดังกล่าว เพื่อให้รู้ว่า ผลลัพธ์แค่ไหนจะได้เกรด เอ, บี, ซี, หรือตก
- (ส่วนคัดลอก) ชนิดของผลลัพธ์การเรียนรู้ มี ๕ ชนิด ได้แก่
-
๑.ด้านการคิด หรือพุทธิพิสัย (cognitive) ตัวอย่างเช่น ความรู้และความจำ; ความเข้าใจและการแปลความ; การประยุกต์ใช้, การวิเคราะห์, การสังเคราะห์ และการสร้าง; การประเมินผล
-
๒.ด้านทักษะพิสัย (psychomotor) สามารถลงมือทำได้ อาจต้องอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างตากับมือ เช่น ปฏิบัติการทางการแพทย์และ การพยาบาล; เทคนิคทางห้องปฏิบัติการ; ปฏิบัติการด้านสัตว์ทดลอง; การประกอบ ทดสอบ ใช้งาน ซ่อม เครื่องยนต์หรือยานยนต์; การร้องเพลง; การเต้นรำ; การเล่นเครื่องดนตรี; การใช้เสียง และหน้าตาท่าทางในการพูดในที่สาธารณะ
-
๓.ด้านจิตพิสัย (affective) เช่น การมีท่าทีที่เหมาะสมในการดูแลผู้ป่วย และให้ความเห็นอกเห็นใจ; การแสดงความน่าเชื่อถือและความเอาใจใส่ต่อลูกความ ลูกค้า ผู้ใต้บังคับบัญชา และนักศึกษา; แสดงความอดทนอดกลั้นต่อความเห็นที่ต่าง; แสดงอารมณ์ที่มั่นคง มั่นใจ ผ่อนคลาย และตอบสนองต่อผู้ฟัง ในการพูดในที่สาธารณะ
-
๔.ด้านจริยธรรม (ethical) แสดงการตัดสินใจที่คำนึงถึงผลกระทบต่อบุคคลอื่น ต่อสัตว์ หรือต่อสภาวะแวดล้อม เช่น การตัดสินใจของแพทย์หรือพยาบาลเกี่ยวกับการจัดลำดับ ก่อนหลังในการดูแลผู้ป่วย การยกเลิกการดูแล หรือการยืดเวลาตาย; การตัดสินใจของทนายความ ว่าจะดูแลผลประโยชน์ของลูกความอย่างไร; การตัดสินใจทางการบริหาร ที่มีข้อได้เสียด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และด้านนิติธรรม
-
๕.ด้านสังคม (social) แสดงออกเป็นพฤติกรรมต่อคนอื่น เช่น ความร่วมมือและเคารพผู้อื่นเมื่อทำงานเป็นทีม; การแสดงภาวะผู้นำในยามจำเป็น; การแสดงความมุ่งมั่น (ไม่ใช่ก้าวร้าว เมินเฉย หรือดื้อแพ่ง) ในยามมีความขัดแย้ง; มีทักษะในการต่อรองหรือเจรจา
- (ส่วนคัดลอก) ชนิดของผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Outcomes) ตาม Bloom's Taxonomy ดังนี้
- จำได้ (มีความรู้) (Remembering) (ต่ำสุด)
- เข้าใจ ( Understanding)
- ประยุกต์ได้ (Applying)
-
วิเคราะห์ได้ (Analyzing)
-
ประเมินได้ (Evaluating)
-
สร้างสรรค์ได้ (Creating / Synthesizing) (สูงสุด)
- อยากรู้ว่า นักเรียนบรรลุ LO หรือไม่ ลองให้ ผู้เรียน เขียน "แผนผังผลลัพธ์การเรียนรู้" (Outcome Map) ส่งผู้สอน
-
สอนอย่างมือชั้นครู : ๔. ประมวลวิชาที่ครบถ้วน (ตีความจากบทที่ 3. The Complete Syllabus)
- (คัดลอก) ประมวลวิชา
เป็นสารสนเทศ เพื่อสื่อแก่ นักศึกษาใน ๓ เรื่องใหญ่ คือ (๑) รายวิชา
(๒) เนื้อหา และ (๓) ตัวอาจารย์ผู้สอน เพื่อช่วยให้นักศึกษา “เดินทาง"
สู่
เป้าหมายได้สำเร็จในรายวิชานั้น ผู้เขียน (Linda B. Nilson) บอกว่าเอกสารประมวลวิชา ควรมี ๕ - ๑๐
หน้า แต่หากเขียนให้ละเอียดอาจยาวถึง ๒๐ - ๕๐ หน้า กลายเป็นคู่มือไปเลย ผม (อาจารย์หมอวิจารณ์) ตกใจที่เมื่ออ่านตอนนี้ พบว่ามีถึง ๒๓ รายการ ตามด้วยประเด็นเชิงกฎหมายที่พึงระวังอีก ๑๓ ข้อ
(ลองเข้าไปอ่านกันดูน๊ะครับ)
-
สอนอย่างมือชั้นครู : ๕. วันแรกในชั้นเรียน (ตีความจากบทที่ 4. Your First Day of Class)
- สรุปได้ว่า อาจารย์ต้องใช้วันแรกในชั้นเรียนสำหรับสร้างความประทับใจ
ความน่าสนใจของวิชา สร้างความรู้จักสนิทสนมกันระหว่างอาจารย์กับนักศึกษา
และระหว่างนักศึกษาด้วยกัน
- หลักการคือการเตรียมความพร้อม
- เตรียมความพร้อมของเอกสาร ควรเตรียมแต่เนิ่นๆ
- เตรียมความพร้อมของตัวเองก่อนเข้ัาสอนสัก ครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง
- ตรวจสอบความพร้อมของห้องเรียน ก่อนหนึ่งถึงสองวัน
- เทคนิคต่างๆ
- สร้างความประทับใจแรกพบ อาจารย์ต้องวางแผนใช้ชั่วโมงแรกสำหรับสร้างความคาดหวัง
และพฤติกรรมของนักศึกษา/ชั้นเรียน ที่เหมาะสม ที่จะใช้ไปตลอดการเรียนรายวิชา เช่น อภิปรายความคาดหวัง ในรายวิชานี้ มีการเกริ่นนำให้รู้จักธรรมชาติของรายวิชา
- แลกเปลี่ยนข้อมูล
-
สอนอย่างมือชั้นครู : ๖. สร้างแรงจูงใจแก่นักศึกษา (ตีความจากบทที่ 5. Motivating Your Students)
- สรุปได้ว่า วิธีสร้างแรงจูงใจในการเรียนของผู้เรียน นั่นคือ "วิธีการจัดการเรียนรู้ที่ดี" ของผู้สอนนั่นเอง
- แรงจูงใจ (Motivation) มี ๒ ประเภท คือแรงจูงใจภายใน (intrinsic motivation) กับแรงจูงใจภายนอก (extrinsic motivation)
- แรงจูงใจภายในต่อการเรียน หมายถึง ความรักหรือความสนใจตัววิชา เช่น สนใจในผึ้ง เพราะอยากจะเลี้ยงผึ้งเป็น เป็นต้น
- แรงจูงใจภายนอกต่อการเรียน หมายถึง ผลประโยชน์ที่ได้จากการเรียนวิชา เช่น เรียนการเลี้ยงผึ้ง เผื่อว่าตกงานในวิชาชีพ จะได้อาศัยวิชาชีพในการเลี้ัยงผึ้ง เพราะวิชานี้สอนให้มีทักษะการเลี้ยงผึ้ง เป็นต้น
- สิ่งสำคัญเกี่ยวกับเรื่องแรงจูงใจในการศึกษา ก็คือ ผู้สอนมีหน้าที่หลักในการสร้างแรงจูงใจแก่ผู้เรียน เช่น บีแมน บอกนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ วิชาเอกชีววิทยา ว่า จะสอนผู้เรียนให้ "เป็นครูมืออาชีพ" ผ่านวิชา "การเลี้ยงผึ้ง" นั่นคือ "จิตวิทยา" ที่ให้ไว้ก่อนหน้านั้น ซึ่งพอผู้เรียนได้มาเรียนแล้ว ผู้สอนสร้างบรรยากาศให้มีการสร้าง "แรงบันดาลใจ-inspiration" ในการเป็น "ครูมืออาชีพ" นั่นก็คือ เป็นกุศโลบาย สร้างแรงจูงใจให้มาเรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างแรงบันดาลใจในการเป็น "ครูมืออาชีพ"
- สอนอย่างมือชั้นครู : ๗. เคารพสิทธิทางปัญญา