ไปทำงานในที่คนอื่นไปไม่ถึง เสน่ห์อย่างหนึ่งของครู กศน.บนดอย


บนเส้นทางที่คดเคี้ยวเลี้ยวลดไปตามขุนเขาใหญ่น้อยจากพื้นราบสู่ยอดดอยที่ต้องวิ่งหลบหลุมและไต่ระดับความชันของพื้นที่ด้วยรถโฟร์วีลไดรฟ์ที่ กศน.เชียงใหม่ให้เป็นพาหนะเดินทาง ไปเยี่ยมชมการจัดการศึกษาเพื่อชุมชนในเขตภูเขา ที่เราชาว กศน.ไปถักทอสร้างโอกาสทางการศึกษาในที่ๆโรงเรียนในระบบไม่สามารถเข้าไปถึง จึงเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของครู กศน.บนดอยที่เรียกว่าครู ศศช.(ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา"แม่ฟ้าหลวง") ที่ทำการสอนเด็กและเยาวชนให้อ่านออกเขียนได้ตั้งแต่อนุบาลไปถึงในระดับประถมศึกษา พร้อมกับการสอนวิชาอาชีพ ทั้งสุขอนามัยในชุมชน จนถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมท้องถิ่น ใน 1 ศศช. มีครู กศน. 2 คน ฝังตัวอยู่ในพื้นที่ ในอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่นี้มีคูนย์การเรียนชุมชนในเขตภูเขาถึง 113 แห่ง ที่อยู่ในชุมชนบนภูเขาใหญ่น้อยจากกลางดอยสู่ยอดดอยที่คอยดูแลให้การศึกษาแก่เด็กและเยาวชนบนพื้นฐานความรักความเมตตาและความศรัทธาในหน้าที่ครูของชุมชน..ดังบทเพลง. " ครู บนดอย ดุจแสง หิ่งห้อย กลางป่า ขจัด ความมืด นานา. สร้างเสริม ปัญญา คงมั่น ..ศรัทธา หน้าที่พร้อมพลี สุขสารพันเขาอยู่ อย่างผู้ สร้างสรรค์ สมคำ ของครู ผู้ให้"

ดร.ดิศกุล เกษมสวัสดิ์

รองเลขาธิการ กศน.

6 ธ.ค.57

https://www.facebook.com/disakulk/media_set?set=a....


หมายเลขบันทึก: 581831เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2014 06:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 ธันวาคม 2014 06:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ตอนเด็กๆ ผมก็ฝันเป็นครูบนดอยนะครับ

มาให้กำลังใจ ผอ และครูดอยครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท