ทฤษฎี 1 ห่วง 3 ขา


มีหลายครั้งที่ผู้เขียนเคยอ่านหนังสือจุลสารความมั่นคง นิตยสาร และวารสารทางทหาร เกิดความรู้สึกทึ่งและอยากจะเขียนบทความทางวิชาการทหารบ้างจังเลย ช่างเก่งกาจ และน่าเลื่อมใส กับนักเขียนและผู้บังคับบัญชาหลายท่าน ในหนังสือพิมพ์มติชนรายสัปดาห์ผู้เขียนเองก็ติดตามคอลัมน์ยุทธบทความของ

อ.สุรชาติ บำรุงสุข หรือคอลัมน์ของท่าน พล.อ.อดุล อุบล ข้าฯ อยากเขียนบทความที่เป็นวิชาการทางทหารแบบนั้นมาก แต่บอกเลยยากมากเพราะคุณวุฒิ และการศึกษาทางทหารไม่มีเลย ปริญญาเฉพาะทางก็ไม่ต้องพูดถึงเลย ข้าฯติดร้อยโทมา 3 ปี (ตั้งแต่ เม.ย.54) เข้าปีที่4 ยังไม่ได้เรียนชั้นนายร้อยเลย (หลักสูตรความก้าวหน้าชีวิตรับราชการทหาร) ยิ่งหลักสูตรชั้นสูงต่างๆก็ไม่ต้องพูดถึง แล้วจะเอาทฤษฏีอะไร หรือตัวแบบอะไรมาเขียน แต่ข้าฯก็ตั้งข้อสังเกตว่ามีนักเขียนหลายท่านใช้ประสบการณ์(Experience) มาเป็นงานเขียนแนววิชาการทหารได้ ตัวข้าฯ รับราชการมา 26 ปี ชั้นประทวน 19 ปี สัญญาบัตร 7 ปี ที่สำคัญบิดาของข้าฯเป็นทหาร ข้าฯเห็นจากการสัมผัสในชีวิตทหารมาทั้งชีวิต ก็น่าจะพอเขียนได้ ก็ลองดู

แล้วจะเขียนเรื่องอะไร ก็คงต้องเป็นเรื่องใกล้ตัว จะให้เขียนเป็นเรื่องใหญ่ๆคงมิบังอาจ ก็มามองดูตัวเองกับประสบการณ์ที่ได้สัมผัส (เป็นลูกชุดในตำแหน่ง พนักงานวิทยุ,ส.อาวุธหนัก และ มา ส.อาวุธเบา ชป. ตั้งแต่ปี 31 เป็น ผบ.ชุด IO ในสนาม 3 จชต. 3 ปี (53 – 55) )โดยเฉพาะในสนามรบ 3 จชต.กับหน้าที่ตนเองปัจจุบัน ข้าฯจึงเกิดความคิด และทฤษฎีสำหรับ ผบ.หน่วย ระดับชุดปฏิบัติการในสนาม ได้เป็น "ทฤษฎี 1 ห่วง 3 ขา" สำหรับ ผบ.ชป.รพศ.ในสนาม เพื่อให้เกิดเป็นประโยชน์ หรือข้อคิดบ้างไม่มากก็น้อย ที่สำคัญ ข้าฯได้ทดลองเขียนแนวแบบเป็นทางการแบบฟรุ้งฟริ้ง ที่บอกแล้วแต่ต้นว่าให้อ่านเล่นๆ นะ อย่าจริงจังสำหรับท่านที่มีหลักการ เพราะนี่เป็น(หลักกรู) ไม่ได้เป็นวิชาการหรือหลักการ ลองติดตามทฤษฎีนี้ดูไหมครับท่านผู้อ่าน

ในการปกครองและดูแลควบคุมการปฏิบัติงานตามภารกิจในสนาม ของ ผบ.ชป.รพศ. และ กำลังพลในชุดทั้ง 11 คน ตามตำแหน่งหน้าที่ สิ่งที่สำคัญ ผบ.ชป.ต้องสามารถบังคับบัญชาการปฏิบัติให้ภารกิจ(Mission)สำเร็จ ตามที่ได้รับมอบ ฉะนั้น"ทฤษฎี 1 ห่วง 3 ขา"จึงคิดขึ้นเพื่อเป็นแนวทาง(ไม่ใช่หลักการ) ในการปฏิบัติของ ผบ.ชป.รพศ. ที่ไม่ต้องนำไปใช้ก็ได้ แล้วแต่ความพึงพอใจ เอาละเริ่มเลย ให้มองเป็นภาพ(Mind map) 1 ห่วง 3 ขา คือ หัวเป็นวงกรม(O) และมีขาสามขาอยู่ข้างลาง(/I\) เหมือนรูปคนหัวโตๆ และมีแขนสองแขน มีตัวอยู่ตรงกลาง

1. ห่วง (วงกลม) หมายถึง ความรับผิดชอบ Trust : ความรับผิด และรับชอบ ตรงนี้มีในหลักการเป็นนายทหาร ที่ท่านนายทหารหลายท่านได้เคยศึกษาอบรมมาแล้ว คงไม่ต้องกล่าวถึง แต่ความรับผิดชอบในที่นี้ คือ "ชีวิต" ของ กำลังพลในชุดปฏิบัติการทั้งหมด รวมทั้งตัวเราเอง จำนวน 12 ชีวิต ที่ต้องร้อยกันเป็น "ห่วง"ไม่อาจขาดจากกันได้ ดูแลซึ่งกันและกัน แต่ไม่ใช่เฉพาะชีวิตกำลังพลใน ชป.เท่านั้น ใน 1 ชีวิต ยังมีแนวหลังคือ "ครอบครัว" พ่อแม่ ลูกเมีย ให้เป็น "ห่วง" ที่ต้องเป็นความรับผิดชอบอย่างสูงสุดของ ผบ.ชป. และนี่เองที่ ผบ.ชป.ต้องสำนึกตระหนักในความรับผิดชอบและทำอย่างไรให้พวกเขา "ปลอดภัย กลับบ้าน และภารกิจสำเร็จ"จงอย่าละเลยหน้าที่และอยู่ในความประมาทเมื่ออยู่ในพื้นที่การรบไม่ว่าจุดใด เวลาใด ก็ตาม

2. ขาที่ 1 ขาขวา (แขนขวา) "อำนาจกำลังรบที่มีตัวตน"Power หมายถึง หลักการ หรือ แบบแผน : ผบ.ชป.ต้องเป็นผู้มีหลักการ ซึ่งเป็นหนึ่งในสิบข้อของหลักการเป็นนายทหารสัญญาบัตร ตรงนี้ ข้าฯ จำและดู จากตัวแบบ หรือเรียก ไอดอล ที่นิยมเรียกกันสมัยนี้ ผบ.ชป.ตอนที่ ข้าฯเป็นเด็ก หลายท่าน(ไม่ขอเอ๋ยนามแต่ละท่านสุดยอด และบอกชื่อทุกท่านนักอ่านรบพิเศษต้องร้อง อ๋อ) เป็นที่สุดยอดของข้าฯ เป็นผู้เข้มงวด ,มีการวางแผนการปฏิบัติอย่างละเอียด (แผนหลัก,รอง,เผชิญเหตุ),ดุ (ข้าฯ ขอใช้คำนี้ ดุมาก เพราะตัวเองถูกเขกหัวประจำ),รอบคอบ,ฝึกสม่ำเสมอ,มีความพร้อม,กล้าหาญ,รุกรบและความกล้าตัดสินใจ ที่สำคัญความเด็ดขาด และลงโทษตามกฎเหล็ก อย่างไม่มีคำว่าให้อภัย ถ้าทำผิดกฎเหล็กในสนามรบ เพราะมันหมายถึงความเสี่ยง ของกำลังพลใน ชป. ฉะนั้นทุกคนในสนามกลัวมากกับคำว่า "ถูกส่งกลับ" เพราะยิ่งในสนาม "วินัย" และ "รบพิเศษ" ต้องเข้มยิ่งกว่าอยู่ในหน่วยปกติ

3. ขาที่ 2 ขาซ้าย (แขนซ้าย) "อำนาจกำลังรบไม่มีตัวตน" Non Power หมายถึง คุณธรรม : ผบ.ชป.ต้องเป็นผู้มีความยุติธรรม เมตาธรรม กรุณาธรรม ความซื่อสัตย์ ความเอื้ออารีย์ การให้เกียรติ และปิยะวาจา ซึ่งเป็นหนึ่งในสิบข้อของหลักการเป็นนายทหารสัญญาบัตร เช่นกัน คำว่าคุณธรรมนี้ ขอหมายรวมกับคำว่าสวัสดิการเข้าไปด้วย การกินดี อยู่ดี ตามอัตภาพ การไม่เบียดเบียน เบียนบัง หรือเห็นแก่เล็กแก่น้อย และต้องใจกว้าง สำหรับความพร้อมในการแก้ปัญหา ต้องไม่ละเลยหรือปล่อยทิ้งในทุกปัญหา พึงระลึกเสมอว่า ปัญหามีแน่ ต้องพร้อมที่จะแก้ แต่จะประคับประคองไปได้อย่างไร แก้ปัญหาให้ไว ให้ง่าย อย่างรอมชอม มองโลกในมุมบวกให้มาก คิดยาวอย่าคิดเพียงสั้นๆ ใช้พรมวิหาร 4 เป็นตัวนำในการปกครอง "เมตตา กรุณา มุธิตา อุเบกขา"

บทแทรก : ท่านผู้อ่านอาจอ่านดูแล้ว เอ๊ะ มันขัดแย้งกับขาที่ 1 นั่นแหละครับคือความสมดุลในการปกครอง การถ่วงดุลซึ่งกันและกันจะขาดอันใดอันหนึ่ง ขาใดขาหนึ่งไม่ได้ "แข็งไปก็ไม่ดี อ่อนไปก็ไม่ได้" เพราะพื้นที่การรบมันอันตราย แต่มันต้องทำให้ได้ในตัว ผบ.ชป.รพศ.ทั้งสองขา ต้องรู้จักใช้คนให้เป็นไม่ใช่คิดเอง ทำเองทั้งหมด ต้องหาจุดร่วม สงวนจุดต่าง และบริหารคน ร่วมกันทำงานเป็นทีม รับฟังความคิด ความอ่านของทุกคน แม้นจะมีอาวุโสหรือน้อยกว่าก็ต้องฟังและให้เกียรติ แต่มันมีจุดศูนย์ดุลของขาทั้งสองครับ ที่จะให้การทำหน้าที่ของขาทั้งสองเกิดความชอบธรรม นั่นคือ ขาที่ 3 (ขาตรงกลาง)

3. ขาที่ 3 ตรงกลาง (ลำตัว) หมายถึง ศีลปะ "Art" : อ้า งงละสิท่าน ก็นี่ไงครับ ข้าฯถึงบอกมันเป็นวิธีคิดแบบฟรุ้งฟริ้งนอกกรอบ และที่มันต้องอยู่ตรงกลางเพราะมันต้องเป็นกลาง เอ้า ยิ่งงงใหญ่ ข้าฯเอาคำว่า "ศีล" และ "ศิลปะ" มารวมกัน เพราะทั้งสองคำมีจุดมุ่งเหมาเดียวกันคือ "ความสุข" ผบ.ชป.ต้องมี "ศีลปะ" ในการปกครองเพื่อรักษาสมดุลของทั้ง 2 พลัง "อำนาจกำลังรบที่มีตัวตน"Power และ "อำนาจกำลังรบไม่มีตัวตน" Non Power ไม่ว่า ผบ.ชป.จะใช่หลักไหน ตำราไหน ทฤษฎีของใคร หลักสูตรไหน ต้องมี "ศีล" และ "ศิลปะ" เพื่อให้ผลของการกระทำนั้นเกิด "ความสุข" โดยมวลรวมของ ชป. อยู่ก็มีความสุข ทำงานก็มีความสุข ยอมรับโทษที่กระทำผิดอย่างเต็มใจ และพร้อมที่จะฝ่าอันตรายไปด้วยกันด้วยความเต็มใจ ภาคภูมิใจ และที่สำคัญอย่าซื้อใจ เพราะการซื้อใจในสนามรบมันไม่มีเวลา บางทีอาจสายเกินไป มันต้องใช้ ทฤษฏีนี้ ถึงจะสำเร็จโดยมุงสู่ผลสำฤทธิ์ End Stage คือ "ภารกิจสำเร็จ กพ.ปลอดภัย ทำงานด้วยความสุขในสนามรบ"

สำหรับบทหน้าจะเป็นตัวอย่างสัก 10 บรรทัด

บทนี้ก็สมใจอยากในการทดลองเขียนแนวทฤษฎี ให้ได้อ่านกันเล่นๆยามว่าง ถ้ามีประโยชน์ก็ขอขอบพระคุณ มีข้อตำหนิก็ขอรับไว้แก้ไข ไม่มีเจตนาจะทำให้ใครเคืองใจ ขอบคุณสำหรับท่านที่ติดตามงานเขียนของ เจ. จะฝึกหัด ทดลอง และเขียนไปเรื่อยๆ ไม่หวังอะไร เพียงแต่ชอบใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์เป็นงานอดิเรก ก็แค่นั้น เพียงท่านเพียง 1 คนอ่านก็ดีใจแล้ว ขอบพระคุณครับ

บังเจ.505 นราฟรุ้งฟริ้ง

คำสำคัญ (Tags): #ทฤษฎี#1 ห่วง 3 ขา
หมายเลขบันทึก: 580754เขียนเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2014 14:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2014 14:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก

มาเขียนบ่อยๆนะครับ

ตอนนั้นพบผู้หมวดยังเป้นวิทยากรอยู่เลย

ไม่คิดว่า ตอนนั้นติดร้อยโทนานขนาด

สู้ๆครับ มาเขียนบ่อยๆนะครับ

ปล จำผมได้ไหมเนี่ย 5555

แวะมาให้กำลังใจครับ ;)...

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท