การอ่านเพื่อให้เกิดความเข้าใจ (Reading Comprehension) ตอนที่ 2


2. การอ่านเพื่อความเข้าใจ คืออะไร และทำไมการอ่านเพื่อความเข้าใจจึงมีความสำคัญ

การอ่านเพื่อให้เกิดความเข้าใจ หมายถึง ความเข้าใจ และสามารถจำสิ่งที่อ่านได้ ในอีกแง่หนึ่งก็คือ เราอ่านเพื่อที่จะค้นหาว่าผู้แต่ง, เรื่องราว, หรือบทความ พยายามที่จะบอกอะไรแก่เรา ไม่ว่าเราจะอ่านการ์ตูน, นวนิยายที่ดี, รายการโทรทัศน์, หนังสือพิมพ์, หรือแม้แต่ใบสมัครงาน สิ่งที่ต้องการก็คือ คำที่อยู่บนหน้ากระดาษนั้นมีความหมายว่าอะไร หากนักเรียนที่มีปัญหาในการเรียนรู้ไม่สามารถที่จะเข้าใจ หรือจำสิ่งที่อ่านได้แล้วหละก็ พวกเขาจะไม่สามารถได้รับข้อมูลจากหนังสือที่อ่านหรือแม้แต่เรื่องราวที่เพลิดเพลินได้เลย

การอ่านเพื่อให้เกิดความเข้าใจ เป็นทักษะที่เชื่อมโยงกับการฟังเพื่อให้เกิดความเข้าใจ ซึ่งหมายถึง ความสามารถของปัจเจกบุคคลที่จะเข้าใจและจำสิ่งที่ฟังได้ กล่าวให้ง่ายก็คือ นักเรียนที่ฟังไม่เข้าใจ ก็จะมีปัญหากับการอ่านเพื่อความเข้าใจด้วย นักเรียนที่มีปัญหาทางสมอง (แปลว่ามีความยุ่งยากในการคิดและการให้เหตุผล) โดยมากแล้วจะมีปัญหาในเรื่องความเข้าใจในการฟังและการเขียน

นอกจากนี้จะมีความเข้าใจแบบต่างๆกันอยู่หลายระดับ ความเข้าใจที่ง่ายที่สุดก็คือ ความเข้าใจทางตัวอักษร (literal comprehension) คำนี้หมายถึง การจำสิ่งที่อ่าน และสามารถที่จะบอกได้ว่าที่อ่านไปคืออะไร เช่น หากครูอ่านประโยคว่า "มานีไปนา" แล้วถามนักเรียนว่า "มานีไปที่ไหน" ครูจะได้ยินความเข้าใจทางตัวอักษรว่า "นา"

ทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจอื่นๆที่สำคัญ มี 3 ประการ ก็คือ 1. การเรียงลำดับ (sequencing) ซึ่งหมายถึง การนำเหตุการณ์มาเรียงลำดับกันและกัน 2. การสรุป (summarizing) ซึ่งหมายถึง การหาใจความสำคัญ (main idea) ในบทอ่านนั้นให้ได้ และ 3. การหานัยยะ (inference) ซึ่งหมายถึง การใช้ตัวแนะ (clue) ในบทอ่าน เพื่อค้นหาคำตอบ คำตอบที่ตอบคำถามแบบนัยะนั้นจะไม่มีในเนื้อหา แต่ผู้เรียนจะต้องคิด, ให้เหตุผล, และสรุปเกี่ยวกับสิ่งที่อ่านเอาเอง

ขอขอบคุณกบ พงศกร บัวทอง และง้อ ที่สอนให้ผมค้นคว้าเรื่องนี้

หนังสืออ้างอิง

Carolyn A. Denton and Jan E. Hasbrouck. (2000) Reading Comprehension from Teaching Students with Disabilities to Read. Texas A & M University.

หมายเลขบันทึก: 580169เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2014 19:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2014 19:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท