​ส่งเสริมเกษตรกรผลิตปุ๋ยอินทรีย์ไว้ใช้เอง


ลองมาทำความเข้าใจกับการผลิตปุ๋ยอินทรีย์(ปุ๋ยหมัก)แบบไม่พลิกกลับกอง ด้วยวิธีวิศวกรรมแม่โจ้ ๑


ส่งเสริมเกษตรกรผลิตปุ๋ยอินทรีย์ไว้ใช้เอง เมื่อเร็วๆนี้ ผมมีโอกาสไปร่วมกับท่านเกษตรจังหวัดลำปาง(ท่านสมพร เจียรประวัติ) ในการส่งเสริมการนำจอกหูหนู ที่แพร่ระบาดเต็มพื้นที่ผิวน้ำบริเวณเขื่อนกิ่วลม โดยนำมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตปุ๋ยหมัก พร้อมส่งเสริมให้เกษตรกรได้ผลิตปุ๋ยหมัก ไว้ใช้เอง แต่ได้ขอความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและอปท.ในพื้นที่ ได้ช่วยกันขนย้ายจอกหูหนู จากบริเวณดังกล่าว และกระจายไปตามจุดต่างๆ เพื่อทำการผลิตปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยอินทรีย์นั่งเองครับ


การผลิตปุ๋ยหมัก จากจอกหูหนู ครั้งนี้ คงจะใช้วิธีการทำปุ๋ยหมักโดยไม่กลับกอง ซึ่งจะใช้ตามแบบของกรมพัฒนาที่ดิน แนะนำ และอาจจะทำปุ๋ยหมักแบบกลับกองก็ได้ ซึ่งในห้วงระยะเวลาที่ผ่านมา สำนักงานเกษตรจังหวัดลำปาง ได้นำพาเกษตรกรผู้ผลิตข้าวและพืชผัก ในเขตอำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง จำนวน ๒๕o คน ไปศึกษาดูงานที่คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ พร้อมได้ฝึกทักษะในการทำปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกลับกอง ซึ่งเรียกกันว่า การผลิตปุ๋ยอินทรีย์(ปุ๋ยหมัก)ตามวิธี วิศวกรรมแม่โจ้ ๑ มีการใช้วัตถุดิบมีเพียงเศษพืชและมูลสัตว์ เท่านั้น


ลองมาทำความเข้าใจกับการผลิตปุ๋ยอินทรีย์(ปุ๋ยหมัก)แบบไม่พลิกกลับกอง ด้วยวิธีวิศวกรรมแม่โจ้ ๑ ซึ่งมีวิธีการทำดังนี้

ขั้นที่ ๑. นำใบไม้ ๓ ส่วน ถ้าเป็นฟางข้าว ผักตบชวา หรือเศษข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ๔ ส่วน มาวางบนพื้นดิน มีฐานกว้าง ๒. ๕ เมตร ให้หนาเพียง ๑o ซม. และห้ามเหยียบกองปุ๋ย โดยโรยทับด้วยมูลสัตว์ ๑ ส่วน แล้วทำการรดน้ำ เสร็จแล้วทำชั้นต่อไป ทำแบบเดียวกัน ทำกองปุ๋ยเป็นรูปสามเหลี่ยม สูง ๑. ๕ เมตร สำหรับความยาวของกอง จะยาวเท่าไรก็ได้ ขึ้นอยู่กับปริมาณวัตถุดิบ เศษพืชและมูลสัตว์ที่มี การที่ต้องทำเป็นชั้นบางๆ ก็เพื่อให้จุลินทรีย์ที่มีอยู่ในมูลสัตว์ ได้ใช้ทั้งธาตุคาร์บอน ที่มีอยู่ในเศษพืชและธาตุไนโตรเจนที่มีอยู่ในมูลสัตว์ สำหรับการเจริญเติบโตและสร้างเซลล์ จึงส่งผลให้การย่อยสลายวัตถุดิบเป็นไปอย่างรวดเร็ว


ขั้นที่ ๒. ภายในเวลา ๖o วันรักษาความชื้นภายในกองปุ๋ยให้มีความเหมาะสมอยู่เสมอ โดยรดน้ำภายนอกกองปุ๋ยให้มีความเหมาะสมอยู่เสมอ โดยรดน้ำภายนอกกองปุ๋ยทุกวัน และทุกๆ ๑ o วันให้ใช้เหล็กแทงกองปุ๋ยหมัก ให้เป็นรูลึก ให้ถึงข้างล่างแล้วกรอกน้ำ ลงไป ระยะห่างของรู ๔o ซม. เมื่อเติมน้ำเสร็จแล้ว แม้ว่าจะอยู่ในฤดูฝนก็ตาม ก็ยังต้องทำ เพราะว่าน้ำฝนไม่สามารถซึมเข้าไปในกองปุ๋ยได้


ขั้นที่ ๓. หลังจากที่กองปุ๋ย เมื่อมีอายุครบ ๖o วัน ก็จะมีความสูงเหลือเพียง ๑ เมตร หลังจากนั้นกองทิ้งไว้เฉยๆให้แห้ง หรือจะเกลี่ยผึ่งแดด เพื่อให้จุลินทรีย์ในกองปุ๋ยสงบตัว ไม่เป็นอันตรายต่อพืช


เมื่อวันที่ ๓o ตุลาคม ๒๕๕๗ ที่ผ่านมา ณ. ห้องประชุมสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดลำปางในการประชุมเพื่อปรึกษาหารือ แนวทางการดำเนินงานการผลิตปุ๋ยหมักจากจอกหูหนู หรือจอกแหน เพื่อเป็นฐานการเรียนรู้ โดยมี อปท. ประกอบด้วย นายก อบตบ้านแลงและ นายกอบต.ทุ่งฝาย และนอกจากนี้ยังมีผู้แทนจากมณฑลทหารบกที่ ๓๒ ผู้แทนจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ สำนักงานเกษตรจังหวัดลำปาง สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดลำปาง สถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดลำปาง และโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษากิ่วลม-กิ่วคอหมา ซึ่งจะมีการสาธิตจัดทำกองปุ๋ยหมักกองใหญ่ ณ.สนามโรงเรียนเมืองมายวิทยา หมู่ ๒ บ้านสบมาย ตำบลบ้านแลง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง โดยทาง โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษากิ่วลม-กิ่วคอหมา จะเป็นผู้ขนย้ายจอกหูหนู ไปไว้ที่สถานที่ทำปุ๋ยหมักต่อไป นอกจากนี้ แต่ละหน่วยงานที่ต้องการวัตถุดิบ จอกหูหนูไปจัดทำกองปุ๋ยหมักก็จะได้ทำการขนย้ายปริมาณจอกหูหนู ไปดำเนินการต่อไป

ทั้งนี้สถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดลำปาง จะสนับสนุนสารเร่ง พด. เพื่อการจัดทำกองปุ๋ยหมักจากจอกหูหนู(จอกแหน) ตามฐานการผลิตจุดเป้าหมายต่างๆ หาก แต่ละหน่วยงานได้วางแผนการกองปุ๋ยหมักที่จะทำแล้ว จะทำเมื่อใด ก็จะได้ประสานงานโดยตรงไปยังสถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดลำปางได้ทันที เพื่อจะสนับสนุนวิทยากรไปช่วยในการจัดทำกองปุ๋ยหมักจากจอกหูหนูต่อไป


เขียวมรกต

๑o พย.๕๗

หมายเลขบันทึก: 580160เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2014 15:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2014 16:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณ อาจารย์ดร.พจนา ที่กรุณามาแวะทักทายเสมอมา

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท