บันทึกความคิด2


   ห่างกัน 6 วันเลยทีเดียวสำหรับบันทึกนี้กับบันทึกแรกที่ใช้ชื่อว่า บันทึกความคิด ซึ่งเมื่อคิดแล้วก้สงสัยตัวเองอยู่เหมือนกันที่ใช้ชื่อบันทึกนี้ เพราะคิดว่าตัวผู้เขียนเองไม่น่าจะมีความคิดอะไรมากมายที่จะบันทึกไว้ จะมีบ้างก็เป็นความคิดมาก คิดมากมาย คิดเพ้อเจ้อ จนถึงขึ้น คิดฟุ้งซ่าน

   แต่จะว่าไปแล้วไม่ว่าจะคิดอะไร มันก็คือความคิด เลยคิดแล้วคิดอีกว่าจะเขียนบันทึกที่2 อย่างไรดี...

   จึงย้อนกลับไปอ่าน บันทึกความคิด1 ว่าบันทึกไว้อย่างไร เมื่ออ่านแล้วก็เป็นความคิดในวันนั้น อารมณ์ความรู้สึก ณ ขณะนั้น ซึ่งมันเป็นอดีตที่ผู้รู้จะบอกว่าอย่านำมาคิด รวมทั้งเรื่องราวในอนาคตด้วย

   ให้คิด ณ ปัจจุบันขณะนี้

   แล้ว ณ ปัจจุบันขณะนี้ เราคิดอะไรอยู่ล่ะ...

   คิดว่าอารมณ์ความรู้สึกตอนนี้ ขณะนี้ต่างจากวันก่อนนั้นอย่างไร และที่สำคัญ มันเป็นบวกกว่าวันก่อนนั้น ด้วยเหตุผลของสิ่งใดที่ทำให้เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นได้

   เพราะการมองโลกให้กว้างขึ้น เห็นความใจแคบ ความเห็นแก่ตัว ความอ่อนแอ ของตัวเอง จนหลงตัวเอง  หลงสิ่งที่อยู่รายรอบว่าเป็นของตัวเอง และทุกสิ่งอย่างจะเป็นไปตามที่ตัวเองคิดจะให้เป็น ตามที่เข้าใจและคาดหวัง

   ซึ่ง...มันเป็นไปไม่ได้...

   มันไม่ใช่ของเรา มันไม่ใช่ตัวเรา

   ทุกสิ่งอย่างเป็นรูป เป็นกลิ่น เป็นเสียง เป็นรส เป็นสัมผัส ชั่วครั้งชั่วคราว

   เท่านั้นเอง...

ขอบคุณภาพสวยๆจาก dreamstime.com

..................

4 พฤศจิกายน 2557

หมายเลขบันทึก: 579703เขียนเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2014 15:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2014 15:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ใช่ค่ะ ....อย่าคิดมากเลย .... คิดน้อยๆๆและคิก ในทางบวก +++ นะคะ



ความคิด (Thought) คือ คุณสมบัติของมนุษย์ เพราะเรามีเครื่องมือช่วยในการคิด (Thinking) คือ อายตนะภายใน (ประสาทใน) ดังนั้น การคิด (มันเป็นไปตามระบบปรุงแต่ง จินตนาการของสัตว์โลกชนิดหนึ่ง) มันมีเกิด ทรงอยู่และสลายไป

วันหนึ่งๆ เราคิดหลายเรื่อง หลายประเด็น แต่มันก็ไม่มั่นคงถาวร (เกิด-ดับในขณะๆ) ที่ควรระวังคือ อย่าคิดนอกคอก จนเรียกว่าปรุงแต่งเหนือความเป็นจริง แต่ให้รู้เนื้อหาที่คิด (Object) และรู้ตัวคิด (Subject) โดยต้องอยู่บนฐานที่ตั้งแห่งความคิดคือ "สติ ปัญญา" (Awareness) ทั้งสอง จะเป็นเครื่องช่วยประคับประคองตัวตนของความคิด และเป้าหมายความคิดว่า ใครคิด คิดอะไร และได้อะไร แล้วจะปรับทิศทางการคิดไปทางที่ถูกต้องอย่างไร โดยให้สอดคล้องกับโลกวิสัย มนุษยวิสัยและศาสนวิสัยอย่างกลมกลืนได้

ภาวะหนึ่งของมนุษย์คือ การปรุงแต่ง การคิด ถ้าคิดเป็น ปรุงแต่งเป็น ก็เป็นคุณ ถ้าไม่- ก็ฟุ้งซ่าน ทางโลกวิสัยเรียกว่า "มโมหรือจินตนาการ" เหมาะสำหรับนักติสต์และนักพูด นักบริหาร นักปกครอง ครู อาจารย์ นักวิทย์ นักดาราศาสตร์ ฯ

ดังนั้น อย่าปฏิเสธเรื่องการคิด เพราะธรรมชาติสร้างให้มนุษย์ต้องคิดนั้นเหมาะแล้ว ถ้าไม่คิด เราก็จะเป็นคนเฉื่อย ไม่ตื่นในตัวรู้หรือปัญญา ยิ่งคิด ยิ่งรู้สรรพสิ่ง คำเตือนคือ = เราจึงควรแยกให้ออกระหว่าง "การคิด กับ ความคิด" และ "เนื้อหาความคิด กับ ผู้กำลังคิด"  จากนั้น จงนำไปปรับใช้ในอณูกิริยากรรม (การกระทำเล็กๆ น้อยๆ) และมหกรรมกิริยา (การกระทำที่ใช้พลังงานมาก) ของตนว่า สภาวะภายนอกกับสภาวะข้างในสัมพันธ์กันอย่างไร

พระพุทธศาสนามีทางปฏิบัติให้ฝึกคือ "วิปัสสนา" (Insight Knowing) เพื่อสำรวจกาย อารมณ์ จิต และความจริงที่ปรากฎอยู่ครับ โดยอาศัยสติและปัญญาเป็นเครื่องช่วยสนับสนุนครับ

เป็นทัศนะแซมเสริมในประเด็นของคุณพ.ครับ

ขอบคุณทั้ง 2 ท่าน ครับที่ให้แง่คิดอย่างดีมากๆครับ

Dr. Ple 

ส.รตนภักดิ์

คิดปลงได้   ใจก็ว่าง   เพราะวางได้

จิตสดใส    ไร้กังวล   กมลผ่อง

อันสังขาร  ผ่านร้อนหนาว  ตามครรลอง

ย่อมจะต้อง  สุขทุกข์เข็ญ  เป็นอนิจจัง

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท