​ปั้นค่านิยมเยาวชน “ฮักบ้านเกิด” ให้ความสุขอยู่ใกล้ตัว


ปั้นค่านิยมเยาวชน “ฮักบ้านเกิด”

ให้ความสุขอยู่ใกล้ตัว

ช่วงสายของวันที่ 25 ตุลาคมที่ผ่านมา ณ ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนคนหนุ่มสาว ต.โพนแพง อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร พวกเราได้มีโอกาสไปร่วม “มหกรรมความสุขอยู่ที่บ้านเรา” ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมโครงการ ฮักบ้านเกิด (ความสุขอยู่ที่บ้านเรา) ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สนับสนุนกิจกรรมหนนี้ 

นอกจากจะเวทีแสดงฝีมือของน้องๆเยาวชน12 กลุ่มย่อย (รายละเอียดท้ายเรื่อง) ในพื้นที่ภาคอีสานตอนบนแล้ว ยังมีกิจกรรมอีกมากมาย ทั้งการแสดงของกลุ่มเยาวชนเด็กฮักถิ่น บ้านกลาง การแสดงดนตรีจากวงดนตรีที่เข้าร่วมในโครงการดนตรีเพื่อการเรียนรู้ พร้อมด้วยการพูดคุยแลกเปลี่ยนระหว่างเยาวชนกับกลุ่มชาวบ้าน ที่มอบภูมิปัญญาที่มีคุณค่าให้กับคนรุ่นใหม่ 

ธนภัทร แสงหิรัญ (ตั้ม) บัณฑิตหนุ่มจากมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ผู้รับผิดชอบโครงการ และเป็นหนึ่งคนสำคัญที่ทำให้มีกิจกรรมในวันนี้ เล่าว่า กิจกรรมโครงการฮักบ้านเกิดฯ มีเป้าหมายที่มุ่งเน้นการสร้างกระบวนการเรียนรู้และสุขภาวะของเด็กและเยาวชนใน 4 มิติ คือกาย ใจ ปัญญา และสังคม เช่น “กาย” ที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม การแสดงออก หรือ “ใจ” ซึ่งจะเกิดความเสียสละ จิตอาสา และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ส่วนสังคมนั้นหมายถึง การยอมรับและเข้ามามีส่วนร่วมจากคนในชุมชนมากขึ้น หรือสามารถขับเคลื่อนให้สังคมเกิดการตระหนักต่อปัญหาขณะที่ “ปัญญา” คือมุมมอง ทัศนคติ ซึ่งล้วนเกิดจากการปรับเปลี่ยน การมองปัญหาและกล้าทำในสิ่งที่ดีงาม

ที่มาของกิจกรรมการเรียนรู้เกิดขึ้นจากสภาพปัญหา ทั้งตัวเด็กและเยาวชน สิ่งแวดล้อม และชุมชน ที่กลุ่มเยาวชนแต่ละกลุ่มได้เรียนรู้และดำเนินงานภายใต้โครงการฮักบ้านเกิดฯในช่วงระยะเวลาดำเนินโครงการ ซึ่งหลังจากการตั้งโจทย์แล้ว เยาวชนทั้ง 12 กลุ่มนี้จะเรียนรู้จากกิจกรรมตั้งแต่เริ่มต้น คือการสืบค้นปัญหา คิด วิเคราะห์ถึงปัญหาในพื้นที่ พร้อมปรับปรุง แก้ไข ปัญหา อุปสรรค และพัฒนาศักยภาพการขับเคลื่อนโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพตามแต่ลักษณะชุมชนของตนเอง “ทุกคนอยากให้เยาวชนมีจิตอาสาที่ดีต่อสังคม ไม่ได้คิดถึงขนาดว่าโครงการที่ทำจะต้องเปลี่ยนแปลงทันทีทันใด แต่ภายหลังเริ่มโครงการ ทุกคนเห็นศักยภาพเด็กมากกว่านั้น ได้เห็น เด็กสนใจคิดประเด็นในการแก้ปัญหาหมู่บ้านของตัวเอง เด็กได้สะท้อนปัญหาภายในชุมชนขึ้นมา ขณะที่พ่อแม่ผู้ปกครองเองก็สนับสนุนให้เด็กได้มีกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ไม่ได้มามั่วสุมกันที่จะมีชีวิตไปวันๆเท่านั้น” ตั้มอธิบายเสริม

เราสังเกตเห็นซุ่มกิจกรรมที่แต่ละโครงการทำอย่างเรียบง่าย ทว่าล้วนผ่านการเข้าใจในชุมชนของตนเองในระดับหนึ่งและทั้งนี้นอกจากจะเป็นพื้นที่แสดงออกของเยาวชนแล้ว อีกนัยหนึ่งกิจกรรมได้สะท้อนถึงแนวคิดด้านจิตสำนึกและภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่เยาวชนมีต่อบ้านเกิดของตัวเองด้วย ยกตัวอย่าง "โครงการรักษ์ไทย รักษ์ถิ่น" ที่ กลุ่มยุววิจัยรักษ์ไทย รักษ์ถิ่น โรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ ศึกษาท้องถิ่นตัวเองก่อนจะบันทึกผ่านสื่อสารคดีวีดีโอ หรือกลุ่มเยาวชนสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดสกลนคร ที่ศึกษาเรื่องแนวคิดการใช้สมุนไพร ไม่นับอีกจำนวนหนึ่งที่ให้คุณค่ากับเรื่องวัฒนธรรมและแนวคิดพื้นบ้านที่ควรค่าอนุรักษ์

เบียร์-จันทร์จิรา สาขามุละ นักเรียนชั้น ม.4 โรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ สะท้อนว่า กิจกรรมได้ช่วยเปิดมุมมองและส่งเสริมให้มีโอกาสกลับมาสำรวจพื้นที่ชุมชนตัวเอง ซึ่งภายหลังจากการทำกิจกรรมแล้ว ได้เกิดความรู้สึกภูมิใจในชุมชนของตัวเองเหมือนกับที่ บิว-วรัญญา แสงมณี โรงเรียนแก่งนาจารย์พิทยาคม จ.กาฬสินธุ์ ที่ว่า กิจกรรมที่ทำอาทิ การทอผ้า สมุนไพรในชุมชน การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ได้ย้ำเตือนถึงคุณค่าที่อยู่ใกล้ๆตัว และตอกย้ำที่คนรุ่นใหม่ต้องหวงแหนรักษาไว้จริงอยู่ที่ว่ากิจกรรมฮักบ้านเกิดฯ จะไม่ได้คาดหวังว่างานที่ทำจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนในชุมชนอย่างฉับพลัน แต่สำหรับตัวเยาวชนเองแล้วสิ่งที่เก็บเกี่ยว แบบสิ่งละอัน พันละน้อยในครั้งนี้ล้วนส่งผลต่อวิธีคิด ที่จะมองสังคมใกล้ตัวโดยเฉพาะความหวงแหนในบ้านเกิดของตัวเอง ที่ความสุขเวียนว่ายอยู่ใกล้ๆตัว

รายชื่อโครงการ 12 กิจกรรม

โครงการ กลุ่มอิสระ/ชมรม/คณะ พื้นที่ดำเนินโครงการ
โครงการเด็กฮักป่าบุ่งคล้าภูวัว กลุ่มเด็กฮักป่าบุ่งคล้าภูวัว พื้นที่บ้านบุ่งคล้าเหนือ ต.บุ่งคล้า อ.บุ่งคล้า จ.บึงกาฬ
โครงการรักษ์ไทย รักษ์ถิ่น กลุ่มยุววิจัยรักษ์ไทย รักษ์ถิ่น โรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ พื้นที่ ต.ปลาโหลและพื้นที่ต.วาริชภูมิ อ.วาริชภูมิ จ.สกลนคร
โครงการพัฒนาศูนย์เรียนรู้เยาวชนฮักถิ่นภูเก้า-ภูพานคำ เครือข่ายเยาวชนคนบนภู พื้นที่บ้านนิคมศรีสมบูรณ์ ต.กุดดู่ อ.โนนสัง จ.หนองบัวลำภู
โครงการหมู่บ้านสร้างสุข สภาเด็กและเยาวชนจังหวัดสกลนคร พื้นที่บ้านกวนบุ่น ต.จันทร์เพ็ญ อ.เต่างอย จ.สกลนคร
โครงการป่าสัญจร รอนแรมในป่าใหญ่ กลุ่มเยาวชนก่อการดี พื้นที่ ต.เอราวัณ อ.เอราวัณ จ.เลย
โครงสานสัมพันธ์ สู่ผลงาน สืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่น กลุ่มยุวชนข้าวเหนียวปั้นน้อย พื้นที่บ้านแก่งนาขาม ต.นาจารย์ อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์
โครงการเด็กฮักถิ่น กลุ่มเด็กฮักถิ่น พื้นที่บ้านกลาง ต.โพนแพง อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
โครงการเยาวชนคนบ้านเฮา(บ้านก่อ) กลุ่มเยาวชนข้าวเหนียวปั้นน้อย บ้านก่อ พื้นที่บ้านก่อ ต.หนองสนม อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร
พาน้องกลับสู่อ้อมกอด กลุ่ม ศูนย์พัฒนาศักยภาพเยาวชนอีสาน พื้นที่ ต.ยางตลาด ต.บัวบาน อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์
โครงการเด็กฮักภู เรียนรู้บ้านเฮา ตุ้มเต้าสร้างสรรค์ เครือข่ายเยาวชนรักษ์ภูพาน พื้นที่บ้านหลุบเลา อ.ภูพาน จ.สกลนคร
โครงการพัฒนาศักยภาพผู้นำเยาวชนลุ่มน้ำบังแบบมีส่วนร่วมสู่ความยั่งยืนของชุมชน เครือข่ายกลุ่มเยาวชนรักษ์ถิ่นลุ่มน้ำบัง จังหวัดนครพนม พื้นที่บ้านนาบัว ตำบลโคกหินแฮ่ อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม
โครงการดนตรี – นาฏศิลป์พี่สอนน้อง ชมรมดนตรี-นาฏศิลป์ สีทันดร พื้นที่บ้านโคกคอน หมู่ 4,5,6 ต.โคกคอน อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย
หมายเลขบันทึก: 579509เขียนเมื่อ 31 ตุลาคม 2014 11:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 ตุลาคม 2014 11:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ชื่นชม  กิจกรรมดีดีนี้ค่ะ

เป็นกิจกรรมที่ยอดเยี่ยมและน่าชื่นชมมากๆ เลยครับ

ชอบใจทั้ง 12 โครงการเลยครับ

มีกิจกรรมแบบนี้มาเขียนอีกนะครับ

น่าสนใจมากๆๆ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท