การเปลี่ยนผ่านแนวคิดใหม่ด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม สู่การบูรณาการในประเทศเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (1)


ข้าพเจ้าได้มีโอกาสด้วยความขอบคุณ ที่มูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารพาณิชย์ฯ ได้มอบให้เป็นผู้แทนไปร่วมประชุม การเปลี่ยนผ่านแนวคิดใหม่ด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม สู่การบูรณาการในประเทศเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAMEO Congress : Southeast Asia in Transition Re-thinking Education,Science and Culture for Regional Integration) เมื่อวันที่ 21-22 ตุลาคม 2557 ณ โรงแรมอมารี วอเตอร์เกด ทั้งนี้ ในวันที่ 22 ตุลาคม 2557 ข้าพเจ้าและคุณศศินี ลิ้มพงษ์ ได้ร่วมกันนำเสนองานพัฒนาเยาวชน และการขับเคลื่อนการเรียนรู้หลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา ของมูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ฯ ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนหลัก (Gold Sponsor) ร่วมกับ สสส. และหน่วยงานอื่นๆ

การประชุม SEAMEO Congress ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ

1. การระดมความคิดจากภาคการศึกษา อุตสาหกรรม และแลกเปลี่ยนประสบการณ์จริงจากนานาชาติ ในการสนับสนุนการศึกษา และการพัฒนาด้านทรัพยากรบุคคล ทั้งในเชิงนโยบาย และการปฏิบัติ เพื่อเสริมหนุนส่วนต่างระหว่างประเทศเอเซียตะวันออกเฉียงใต้

2. การกระตุ้นให้เกิดแรงกระเพื่อมในการค้นหานโยบายที่เหมาะสมทางด้านการศึกษา และประสิทธิภาพในการบูรณาการและความร่วมมือกันในประเทศอาเซียตะวันออกเฉียงใต้

3.การผลักดันให้เกิดกระบวนการทบทวนความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษา อุตสาหกรรม และองค์กรระหว่างประเทศ ในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลในภูมิภาค

ความคาดหวังในการประชุมครั้งนี้ คือ การประสานความร่วมมือกันในการปรับปรุงบทบาทของภาครัฐ สถาบันการศึกษา ภาคอุตสาหกรรม องค์กรระหว่างประเทศและภูมิภาค รวมทั้งองค์กรที่ไม่ใช่ภาครัฐ ทั้งนี้ ผลจากการประชุมนี้ จะนำไปสู่ข้อเสนอแนะที่ทรงพลัง ในการจูงใจให้เกิดการคิดใหม่ และปฏิรูปการศึกษา การพัฒนาทรัพยากรบุคคล ในประเทศเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อการสนองตอบเป้าหมายการพัฒนา และบูรณาการร่วมกันของภูมิภาค



การนำเสนอหัวข้อในที่ประชุม จัดทำในลักษณะแก่นสาระของนโยบาย การปฏิรูปและการคิดสร้างสรรค์ ยุทธศาสตร์การเรียนการสอน ความร่วมมือและการเชื่อมโยงในแต่ละภาคส่วนของการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม โดยจัดเป็นกลุ่มประชุมย่อย เพื่อเปิดโอกาสให้มีการหารือในเชิงลึกในแต่ละแก่นสาระ เช่น

(1) การปฏิรูปการศึกษา เพื่อพัฒนาไปสู่การหนุนเสริมทักษะการประกอบอาชีพ ควรประกอบด้วยนโยบายใดบ้าง ที่คลอบคลุมในเรื่องการฝึกความชำนาญงาน ที่ต้องมีกฎระเบียบจากภาครัฐรองรับ ในการสนับสนุนการปฏิบัติในแนวทางที่ปรับปรุงให้ทันสมัยของศตวรรษที่ 21 ตลอดจนการเลือกวิธีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เหมาะสมกับทุนสังคมของแต่ละประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นโยบายและการเปลี่ยนแปลงการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพื่อเพิ่มทักษะในการทำงานต่อไป

(2) ความคาดหวังและความเป็นไปได้ในการพัฒนาการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทั้งในเชิงนโยบาย การสนับสนุนของภาครัฐร่วมกับภาคอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มศักยะภาพของบุคลากรอย่างต่อเนื่อง

(3) ความรู้ด้านวัฒนธรรมและการศึกษา เพื่อนำไปสู่การบูรณาการ และพัฒนาร่วมกันของประเทศในภูมิภาค ซึ่งต้องกำหนดเป็นนโยบายในการส่งเสริมความเข้าใจในความแตกต่างทางวัฒนธรรม และแสวงหาแนวทางร่วมกันอย่างกลมกลืนราบรื่น โดยไม่ขัดแย้งกับความเป็นดั้งเดิมของแต่ละประเทศ

โปรดอ่านต่อ คลิ๊กที่ :

การเปลี่ยนผ่านแนวคิดใหม่ด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม สู่การบูรณาการในประเทศเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (2)

..โปรดติดตามรายละเอียดการประชุมนี้ที่ www.seameocongress.org ...................................................................................................................................................................

หมายเลขบันทึก: 579210เขียนเมื่อ 24 ตุลาคม 2014 16:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 ธันวาคม 2014 14:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

ตามมาให้กำลังใจครับ เป็นประเด็นสำคัญเพราะการศึกษาไม่สามารถตอบโจทย์ของผู้ประกอบการในการคัดเลือกคนเข้าทำงานได้ สมรรถนะ คือ สิ่งที่ประกอบการต้องการ แต่วงการศึกษาเรามองศักยภาพ
ขอบพระคุณที่ถอดบทเรียนดีๆมาให้สมาชิกอย่างผม คนบ้านไกลได้รับรู้ครับ

เป็นกำลังใจให้  นะคะ  นโยบายที่ดี   ผู้ปฏิบัติ ทำได้  ผลลัพธ์ (นักเรียนแบะผู้ผลประโยชน์)  น่าจะได้ผลที่ดีนะคะ    

ขอบคุณพี่ใหญ่ค่ะ

...ด้วยความชื่นชม อีกหนึ่งแนวทางของการบูรณาการทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ร่วมกันขับเคลื่อน พัฒนาประเทศให้ไปในทิศทางเดียวกันนะคะ

ขอบคุณพี่ใหญ่ค่ะที่เล่าเรื่องดีๆ

การกระทำใดๆ การประชุมใดๆ ที่นำไปสู่การปฏิรูปการศึกษาล้วนน่าชื่นชมนะคะ  อยากเห็นผลของการปฏิรูปการศึกษาที่เป็นรูปธรรมค่ะพี่

"ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง...
เป็นหลักแห่งคุณค่าแท้ของการศึกษา
นำกลับสู่สถานศึกษาได้
สถาบันครอบครัวไทยเป็นสุขกันถ้วนหน้าครับ ^_^"

ขอบพระคุณคุณครู และผู้ใหญ่ใจงดงามแห่ง SCB ทุกท่านครับ

มีความหวังครับคุณครู ^^   

เป็นการศึกษาที่ดีเลยนะครับ

อยากให้มีนโยบายที่ดีที่นำเสนอออกมามากๆ

ขอบคุณพี่ใหญ่ที่นำมาเขียนให้อ่านครับ

สวัสดีค่ะพี่ใหญ่

2.ความคาดหวังและความเป็นไปได้ในการพัฒนาการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทั้งในเชิงนโยบาย การสนับสนุนของภาครัฐร่วมกับภาคอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มศักยะภาพของบุคลากรอย่างต่อเนื่อง

ข้อ 2 นี่สำคัญมาก ๆเลยค่ะ     โดยเฉพาะในประเทศไทยเรา ภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจ รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐ หรือรัฐวิหสาหกิจยังมีอีกมากที่ให้ความสำคัญเรื่องการฝึกงานของนักศึกษาน้อย หลายแห่งรับเข้าฝึกงานจริงแต่ก็ไม่ได้ให้ฝึกงานอย่างเป็นระบบ ใช้ให้ทำงานธุรการเล็ก ๆน้อย ๆไม่ตรงกับสาขาวิชาของนักศึกษา หรือเป็นแค่เด็กช่วยงานแม่บ้าน ไม่ได้เรียนรู้อะไรทั้ง ๆที่เข้าไปอยู่กับเขาตั้งเกือบ 1 ภาคการศึกษา เหตผลก็คือกลัวงานของเขาจะเสีย ไม่มีเวลาสอนงาน หรือมีความลับทางะุรกิจ เมื่อเป็นเช่นนี้เมื่อเด็กเข้าสู่ตลาดแรงงานจริง ถ้ารับเข้าทำงานก็จะบ่นว่าเด็กไม่มีทักษะเพียงพอ มหาวิทยาลัยผลิตไม่ตรงกับความต้องการ หรือประกาศไม่รับบัณฑิตจากสถาบันอื่นใดนอกจากมหาวิทยาลัยของผู้บริหาร เป็นการไม่ให้โอกาสที่เท่าเทียมแก่บุคคลด้วย

รัฐบาลน่าจะมีมาตรการให้สถานประกอบการคืนกำไรแก่สังคมโดยเป็นผู้ฝึกงานให้แก่นักศึกษา หรือเป็นสถานศึกษาภาคปฏิบัติให้แก่มหาวิทยาลัย ซึ่งจะช่วยเพิ่มศักยภาพของบุคลากรในอนาคตของภาคอุตสาหกรรมอย่างมาก ปัจจุบันมีโครงการสหกิจศึกษาซึ่งเป็นโครงการที่ดี น่าจะขยายให้ครอบคลุม ซึ่งน่าจะทำให้บัณฑิตมีทักษะตรงตามความต้องการของผู้ประกอบการได้  

การพัฒนาบนฐานวัฒนธรรมและใช้การศึกษาเป็นกลไก..
คือสิ่งที่สังคมต้องไม่สิ้นศรัทธา ...

ชื่นชม ครับ

Prof. Vicharn Panich

อ.นุ

โอ๋-อโณ

ขจิต ฝอยทอง

nui

แผ่นดิน

ธนิตย์ สุวรรณเจริญ

ป.

ยายธี

Dr. Ple

สุดปฐพี เวียงสี

ฤทธิไกร มหาสารคาม

tuknarak

Pojana Yeamnaiyana Ed.D.

GD

* สวัสดีค่ะ ขอบคุณมากสำหรับกำลังใจมอบแก่การประชุม การเปลี่ยนผ่านแนวคิดใหม่ด้านการศึกษา วิทยาศาตร์ และวัฒนธรรม สู่การบูรณาการในประเทศเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAMEO Congress : Southeast Asia in Transition Re-thinking Education,Science and Culture for Regional Integration) นี้

* น้องสุดปฐพี...ใช่ค่ะ นั่นคือหัวใจสำคัญของการพัฒนาการศึกษาเพื่อสนองตอบความต้องการของภาคการผลิต ที่เป็นพื้นฐานสำคัญอีกประการหนึ่งของความเติบโตในประเทศของเราค่ะ

* น้อง Dr.Ple....ทุกประเทศให้ความสำคัญในการปฏิรูปการศึกษาในแนวทางเช่นนี้อย่างมุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนสู่ภาคปฏิบัติอย่างยั่งยืนค่ะ

* น้อง Dr.Pojana....ในตอนที่ 2 พี่ใหญ่จะได้เล่าถึงแนวทางที่่เป็นข้อเสนอ เพื่อให้เกิดผลแฏิบัติที่เป็นไปได้ในการบูรณาการของประเทศสมาชิกค่ะ

* น้อง Nui...การมองปัญหาในปัจจุบันในทางเดียวกันที่ถึงเวลาแล้วที่จะสร้างการรวมตัวเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเแข็งแกร่งของภูมิภาคค่ะ

* น้องอ.นุ...ในบันทึกต่อไป พี่ใหญ่จะได้เล่าถึงการนำเสนอบทเรียนการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอ เพียงสู่สถานศึกษาที่ประสบผลสำเร็จอย่างยั่งยืนของประเทศไทยด้วยค่ะ

* น้องดร.ขจิต....การประชุมครั้งนี้เป็นระดับรัฐมนตรี ซึ่งเห็นความตั้งใจจริงเชิงนโยบายที่จะเดินหน้าไปสู่ความร่วมมือกันอย่างเข้มแข็งค่ะ

* น้องGD ..ขอบคุณและเห็นด้วยอย่างยิ่งสำหรับข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์มากๆต่อการสร้างรูปธรรมของนโยบายด้านนี้ค่ะ

* น้องแผ่นดิน...ใช่ค่ะ พื้นฐานวัฒนธรรมคืออัตตลักษณ์ของชาติพันธ์ุ ที่ต้องได้รับการอนุรักษ์และพัฒนาเพื่อความยั่งยืนของสังคมค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท