พูดอย่างไรดี กับชุมชนให้ประทับใจ


การพูดเป็นทักษะ ดังนั้นการพูดจําเป็นต้องมีการฝึกบ่อย ๆ จึงจะทําใหพูดได้ดีขึ้น

     การพูดเป็นทักษะ ดังนั้นการพูดจําเป็นต้องมีการฝึกบ่อย ๆ จึงจะทําใหพูดได้ดีขึ้น และควรจะได้ฝึกปฏิบัติดังนี้ เอามาจากที่อธิปไตย โพแตง กล่าวไว้ แล้วมาปรับให้เหมาะกับคนบ้านเรา (ปักต์ใต้) ลองดูนะครับ
          1. การออกเสียงถูกต้อง ควรฝึกพูดคําที่เป็นอักษรควบและอักษรกล้ำใหถูกต้อง อันนี้ คนใต้ (พัทลุง) อย่างผมบางครั้งก็ทำยากมาก แต่พยายามฝึก แต่อย่าให้ดูผิดธรรมชาติ ที่ชาวบ้านเรียก “จีบคำ” จะทำให้รู้สึกไม่ดี ดูไม่จริงใจ
          2. การออกเสียงชัดเจน ควรฝึกออกเสียงใหดังพอดี คือ ไม่ค่อยเกินไปหรือ ดังเกินไป เสียงชัดเจน ไมเร็วรัว น้ำเสียงนุ่มนวลชวนฟัง ไม่ห้วนหรือแสดงอารมณจนเกินไป และควรเว้นวรรคใหถูกต้องด้วย
          3. การใช้คํา ไม่ควรพูดคำลัดตัดคำให้สั้นสั้น และเป็นคำที่ไม่คุ้นชินกับชาวบ้าน
          4. การใช้ภาษา ควรใช้ภาษาสุภาพและพูดใหขบขันบ้าง ควรใช้คําภาษาไทย ไม่ควรเลียนแบบคําภาษาต่างประเทศ เช่น คําว่า โอเค เป็นต้น
          5. การสรางความเชื่อมั่นในตนเอง เลือกเรื่องที่ตนถนัดและเตรียมตัวใหพรอม
          6. การสร้างความปรารถนาที่จะพูด โดยนึกถึงความสําคัญและประโยชน์ในการพูดที่จะเกิดขึ้นกับตนและผู้ฟัง
          7. การตรงต่อเวลา ควรไปถึงสถานที่ก่อนเวลาเล็กน้อย การไปสายทําให้จะเป็นการเสียมารยาทต่อที่ประชุมด้วย และการไปก่อนมีโอกาสที่จะได้รู้จักกับคนที่มาแล้วบางส่วน แล้วก็จะเป็นมุกที่เราเอามาใช้ได้เมื่อจำเป็นขณะที่เราพูดอยู่
          8. การระวังเรื่องการแต่งกาย ควรแต่งกายใหเรียบร้อย แต่ไม่ควรให้เป็นจุดเด่นจนเกินไป สำคัญมากอย่าให้แปลกแยกจากผู้เข้าประชุมมาก โดยเฉพาะชาวบ้าน
          9. การให้เกียรติผูฟัง โดยกล่าวสวัสดี กล่าวยกย่องชมเชยผู้ฟังบางโอกาส
          10. การทอดสายตา ขณะพูดควรประสานสายตากับผูฟังโดยทั่วไป และควรสังเกตปฏิกิริยาผู้ฟัง
ตลอดเวลา
          11. ลีลาการพูด ใช้ลีลาในการพูดและแสดงท่าทางหรือหน้าตาใหสอดคล้องกับเนื้อเรื่องที่กําลังพูดอยูด้วย
          12. การเคลื่อนไหวของอากัปกิริยา ควรยืน ถ้ามีเวทีที่พอจะเดินไดก็เดินพอประมาณ อย่าเดินมากจนผู้ฟังเวียนศีรษะ
          13. การรักษาเวลา ผู้พูดต้องวางแผนให้ดี และรักษาเวลาอย่างเคร่งครัด
          14. จังหวะการพูด การพูดไม่ควรแข่งกับเสียงหัวเราะหรือเสียงปรบมือ ควรเว้นจังหวะใหเหมาะ เรียกว่ามีจังหวะจะโคน
          15. การจบเรื่องที่พูด ไม่ควรจบห้วน ๆ ควรสรุปประเด็นทั้งหมดอย่างย่อ ๆ แล้วให้ที่ประชุมบันทึกสู่ความทรงจำ และทิ้งท้ายหรือให้ข้อคิดแก่ผู้ฟังเสมอ

     ทีนี้มาดูหลักพื้นฐานของการพูดสิบประการ ที่สมาคมฝึกการพูดแห่งประเทศไทยไดนำเสนอไว้ดังนี้ ครับ
          1. จงเตรียมพร้อม
          2. จงเชื่อมั่นในตนเอง
          3. จงปรากฏตัวอย่างสง่าผ่าเผย
          4. จงพูดโดยใชเสียงอันเป็นธรรมชาติ
          5. จงใช้ท่าทางประกอบการพูดให้พอเหมาะ
          6. จงใช้สายตาให้เป็นผลดีต่อการพูด
          7. จงใช้ภาษาที่ง่ายและสุภาพ
          8. จงใช้อารมณ์ขัน
          9. จงจริงใจ
          10.จงหมั่นฝึกฝน

หมายเลขบันทึก: 5792เขียนเมื่อ 23 ตุลาคม 2005 20:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท