ไปบรรยายKMที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์


ทางมหาวิทยาลัยคัดผู้ที่มีผลงานดีในสายสนับสนุนมาอบรมเพื่อผลักดันKMในกลุ่มของสายสนับสนุนก่อนซึ่งมีมากที่สุด
เมื่อวันที่ 21 ตุลาคมที่ผ่านมาผมได้เดินทางไปจังหวัดนครศรีธรรมราชเพื่อบรรยายที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ที่ได้จัดกิจกรรมสำหรับบุคลากรสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยรุ่นที่ 2 เพื่อจะนำKMมาประยุกต์ใช้ โดยมีจัดทั้งส่วนที่เป็นบรรยายและประชุมเชิงปฏิบัติการ ผมเดินทางจากบ้านตากโดยขับรถไปขึ้นเครื่องบินที่พิษณุโลกตั้งแต่ 5 โมงเย็นวันที่ 20 ตุลาคมขึ้นเครื่องเวลา 19.30 น. เกือบไม่ทันเพราะช่วงใกล้พิษณุโลกกำลังทำถนนสี่เลนทำมาสองปีกว่าแล้วยังไม่เสร็จ(เป็นช่วงที่น่าเป็นอันตราต่อการเกิดอุบัติเหตุมาก ยิ่งกลางคืนจะมองไม่ชัดเลย) ต้องโทรศัพท์ไปขอเช็คอินก่อน ถึงกรุงเทพฯต้องค้างคืนก่อนแล้วเช้า ตี 5 ถึงไปขึ้นเครื่องต่อไปที่นครศรีธรรมราช ถึงนครศรีธรรมราชฝนตกหนักเครื่องลงไม่ได้ต้องบินวนอยู่หลายรอบ พอลงเครื่องคุณบรรจงวิทย์ก็มารับไปที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และได้พบกับท่านอธิการบดี(ดร.สุพัทธ์ พู่ผกา)และรองอธิการบดีฝ่ายบริหาร(อาจารย์ รศ.สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์ ) ได้ทราบเรื่องราวต่างๆของมหาวิทยาลัยด้านต่างๆและทำให้ทราบว่าชื่อมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เป็นชื่อสร้อยพระนามของสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์  ประมาณ 4 โมงครึ่งก็ถึงเวลาบรรยายจนถึงบ่ายสามโมงเย็น พักกินข้าวกลางวัน 1 ชั่วโมง มีผู้เข้าร่วมอบรมประมาณ 50 คน ดูท่าทางสนใจกันดี ไม่มีใครหลับ(อาจหลับบ้างแต่ผมคงไม่รู้) จากการพูดคุยกับอาจารย์สมนึกได้ทราบว่าทางมหาวิทยาลัยคัดผู้ที่มีผลงานดีในสายสนับสนุนมาอบรมเพื่อผลักดันKMในกลุ่มของสายสนับสนุนก่อนซึ่งมีมากที่สุดคือประมาณ 400 คน ส่วนสายอาจารย์มี 200 คน ซึ่งผมเห็นด้วยเพราะจะเริ่มอะไรควรเริ่มที่จุดง่ายๆก่อนแล้วค่อยขยายวงไป ปกติสายสนับสนุนมักถูกทอดทิ้ง ทั้งๆที่มีความสามารถซ่อนอยู่ในตัวกันมาก ในกลุ่มของงอาจารย์จะทำได้ยากเหมือนๆกลุ่มแพทย์ด้วยกัน หลายท่านบอกว่ากลุ่มนี้มีอัตตาหรืออีโก้สูง เป็นผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งผมเองก็เห็นด้วยบางส่วน แต่อีกส่วนคิดว่าเนื่องจากมีความเชี่ยวชาญเฉพาะสูงและอาจเกิดผลกระทบได้ง่ายทั้งอาจารย์หรือแพทย์จึงต้องเชื่อมั่นในหลักวิชาการมากกว่า จะมั่วไม่ได้ หรือคิดเอา ฟังเอามาเล่าอย่างเดียวไม่ได้หากไม่สามารถหาหลักฐานทางวิชาการ(Evidence-based)มายืนยันได้ แต่ในขณะที่สายสนับสนุนนั้นการทำงานไม่ได้ลงลึกมากนักจึงสามารถนำมาแลกเปลี่ยนกันได้ดีกว่า เชื่อใจกันได้มากกว่า หากผิดพลาดก็ไม่เกิดผลกระทบมากนักเช่นการพิมพ์ดีด กับ การผ่าตัดผู้ป่วย หรือการสอนหนังสือนักศึกษา ย่อมส่งผลกระทบไม่เท่ากัน นี่อาจเป็นอีกปัจจัยหนึ่งขากการแลกเปลี่ยนกันยากเพราะทีแลกเปลี่ยนส่วนใหญ่เน้นความรู้ฝังลึกที่มาจากประสบการณ์ของแต่ละคน เมื่อบรรยายจบก็มีการเปิดวีดีโอบรรยายของอาจารย์ ดร.ประพนธ์ ให้ชมกัน ส่วนผมตอนแรกบรรยายจบคุณบรรจงวิทย์จะพาไปทัวร์รอบๆมหาวิทยาลัย(9000ไร่) และในตัวเมืองนคร แต่เผอิญทางสนามบิน(สายการบินพีบีแอร์)โทรมาขอเลื่อนจาก 2 ทุ่มเป็น 5 ทุ่มกว่า ทำให้ต้องเปลี่ยนการเดินทางมาที่สุราษฎร์ธานีของการบินไทย จึงต้องรีบเดินทางไปสุราษฎร์เลยไม่ได้เที่ยวชมบรรยากาศเมืองนคร ขึ้นเครื่องเวลา 19.20 น. ทันเวลาและมีเวลาเข้าไปทานข้างที่ห้องอาหารของสนามบิน เป็นลักษณะข้างราดแกง สั่งผัดเผ็ดหอยและไข่ดาวกับน้ำมะนาว 1 แก้ว ราคา 105 บาท ก็นึกในใจแพงเหมือนที่สนามบินดอนเมืองเลย ถ้าเป็นข้างนอกก็คงไม่เกิน  50 บาท พอทานไปได้สักระยะเริ่มหายหิวแล้วก็เริ่มคิดทางบวกว่าถ้าไม่มีทานอาจจะหิวมากกว่าเสียเงินแค่นี้ อีกอย่างก็ได้ชิมอาหารเมืองสุราษฎร์โดยเฉพาะหอยซึ่งมีเกือบ 50 ตัว คิดไปคิดมาก็คงพอสมน้ำสมเนื้อเพราะกินอาหารในห้องแอร์ ต้องเสียค่าสถานที่มาก คนขายคงได้กำไรไม่เท่าไหร่ พอคิดทางบวกก็ได้มองสิ่งดีๆมากขึ้น พอขึ้นเครื่องก็เลยไม่หิว ไม่ต้องกินอาหารบนเครื่อง ใส่ถุงติดมือกลับโรงแรมไปด้วยตอนเช้ากะว่าจะได้ทาแก้หิว แต่พอจะทานกลับทานไม่ลง แสดงว่าถ้าอยู่บนเครื่องหิวๆจะทานได้หมด แต่พอมีให้เลือกก็จะทานไม่ลงเลย อาหารบนเครื่องบินจะจืดๆ ขณะที่ผมชอบรสจัดก็เลยไม่ถูกปากแต่ถ้าทางบนเครื่องบินก็หมดทุกเที่ยวเพราะหิว ในเรื่องการนั่งเครื่องบินแม้บางครั้งของการบินไทยอาจจะมีพนักงานต้อนรับที่ไม่ยิ้มแย้มบ้างแต่ผมก็อุ่นใจที่จะนั่งมากกว่าสายการบินอื่นๆ รู้สึกปลอดภัยกว่า ผมลงเครื่องที่กรุงเทพฯค้างหนึ่งคืนเช้ามืดต้องออกมาขึ้นเครื่องกลับพิษณุโลกถึงประมาณ 7 โมงครึ่งก็ขับรถ(จอดไว้ที่สนามบินพิษณุโลก)กลับบ้านตากเช้า 22 ตุลาคม ถึงบ้านเกือบ 4 โมงครึ่ง กินข้าวแล้วไปคลินิกพอเที่ยงก็พาครอบครัวไปร่วมงานขึ้นบ้านใหม่ของญาติที่แม่สอดกว่าจะมาถึงบ้านก็ประมาณ 4 ทุ่ม เพลียมาก เป็นการเดินทางที่ทรหดพอสมควร ในการบรรยายครั้งนี้สิ่งที่ได้คือการจัดวางเวลาและสไลด์บรรยายยังไม่สมดุลกันทำให้เกินเวลาไปครึ่งชั่วโมง  สไลด์บางส่วนอาจต้องตัดทิ้งเพราะซ้ำซ้อน ในช่วงการพูดถึงแนวคิดหลักการยาวเกินไป และคนฟังไม่ค่อยสนุกกับการฟังมากนัก สู้ในส่วนที่เป็นขั้นตอนการทำในเชิงประสบการณ์ไม่ได้ ทำให้ได้ข้อสรุปในการเตรียมความพร้อมในการบรรยายครั้งต่อๆไปได้และในการบรรยายในแต่ละครั้งต้องยกตัวอย่างที่ใกล้ตัวหรือใกล้หน่วยงานของผู้ฟัง จะทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น
หมายเลขบันทึก: 5789เขียนเมื่อ 23 ตุลาคม 2005 19:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

  เรียน ท่าน พิเชษ รบกวนส่ง slide power point ให้ด้วยครับ ถ้าจะกรุณา

 JJ

ผมจะลองส่งให้ทางอีเมล์ของอาจารย์ครับ แต่ไม่แน่ใจว่าจะโหลดได้หรือเปล่า ถ้าไม่ได้คงจะไรท์ใส่แผ่นซีดีส่งไปให้ครับ อาจช้าหน่อยนะครับ

เรียน ท่าน คุณหมอติ่ง ขอบพระคุณล่วงหน้าครับ

JJ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท