ศิลปะถ้ำ งานสร้างสรรค์ของมนุษย์ในอดีต


ถ้ำ นอกจากจะเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ในอดีตแล้ว ยังเป็นที่สร้างสรรค์งานศิลปะที่แสดงออกถึงวิถีชีวิต ความเชื่อ และพิธีกรรมต่างๆ

ถ้าพูดถึง ถ้ำ เพื่อนๆ จะนึกถึงอะไรค่ะ  บางคนคงนึกถึงหินงอกหินย้อย  ค้างคาว  สิ่งเร้นลับ  มนุษย์หิน  หรือแม้กระทั้งทรัพย์สมบัติที่ซ่อนอยู่ในสมัยโบราณ  หรืออาจนึกถึงขุมทองโกโบริก็ไม่ผิดค่ะ  แล้วมีใครนึกถึงศิลปะบ้างไหมค่ะ  ศิลปะอะไรเอ่ยอยู่ในถ้ำ  ขอตอบว่าศิลปะถ้ำค่ะ  ถ้ายังไม่คุ้นลองนึกถึงภาพเขียนสีซิคะ  นึกออกแล้วใช้ไหมค่ะ  ศิลปะถ้ำหรือภาพเขียนสีเป็นสิ่งที่มนุษย์ทำขึ้นตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และยังคงเหลือให้เราเห็นในปัจจุบันนี้ค่ะ  ศิลปะถ้ำหรือภาพเขียนสีทำขึ้นเพื่ออะไรและมีความหมายอย่างไร  มาติดตามค้นหาคำตอบกันเลยดีกว่าค่ะ

ศิลปะถ้ำ 

 (ถ้ำผีหัวโต  จังหวัดกระบี่)      
         

          ศิลปะถ้ำ  แปลตรงตัวว่า Cave Art แต่ในทางวิชาการมีอีกคำหนึ่งว่า Rock Art แปลว่า ศิลปะบนหิน  หมายถึง ภาพที่เกิดจากการวาดเขียนเป็นสีและทำรูปรอยลงบนพื้นหิน  มักพบตามถ้ำ  เพิงผา  หรือผนังหินก้อนใหญ่ๆ  ศิลปะดังกล่าวเกิดจากกลุ่มชนโบราณที่ใช้ชีวิตอยู่ตามป่าเขา  โดยได้แรงบันดาลใจจากความเชื่อทางศาสนาหรือพิธีกรรม  ตลอดจนสภาพแวดล้อมและการดำรงชีวิต 

ศิลปะสร้างขึ้นด้วยวัตถุประสงค์  2  ประการ  คือ
1.ศิลปะเพื่อพิธีการ (ritualistic หรือ ceremonial  art) ทำขึ้นเนื่องในความเชื่อทางศาสนา ขนบประเพณี  ซึ่งมักมีข้อบังคับบางประการว่า  ทำอะไรอย่างไร  และทำอะไรไม่ได้  เช่น  รูปแบบ  สี  หรือวัสดุ  เป็น
2. ศิลปะทั่วไป (secular art) เป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับศาสนา  ศิลปินเลือกทำได้ตามใจ  ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบ  เทคนิค  วิธีการ  หรือที่ศาสนาประเพณีไม่ได้ห้ามไว้  ศิลปะดังกล่าวเป็นของที่สร้างมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์

แหล่งศิลปะถ้ำ

    ในประเทศไทยพบศิลปะถ้ำทุกภาค โดยพบที่ภาคตะวันออกดฉียงเหนือมากที่สุด  คือประมาณ  140  แหล่งใน  9  จังหวัด  คือ  นครราชสีมา, อุบลราชธานี, ชัยภูมิ, ขอนแก่น, กาฬสินธุ์, มุกดาหาร, สกลนคร, เลย  และอุดรธานี รองลงมาคือภาคใค้ ประมาณ10 แห่ง ในจังหวัดต่างๆ คือ ชุมพร, พังงา, กระบี่, ตรัง, ยะลาและสตูล สำหรับภาคเหนือและภาคกลางยังไม่พบมากนัก ภาคเหนือมีอยู่ 4 แห่ง ที่จังหวัดพิษณุโลก, อุตรดิตถิ์ และเชียงใหม่  ภาคกลางพบใน  4  จังหวัด  คือ  กาญจนบุรี, อุทัยธานี, ลพบุรี  และสระบุรี  ศิลปะถ้ำเหล่านี้พบอยู่ในภูมิประเทศที่เป็นภูเขา หรือเทือกเขา    ทั้งที่เป็นเขาหินทราย  หินปูนและแกรนิต
(ผาแต้ม  จังหวัดอุบลราชธานี) 

เทคนิควิธีการ
ศิลปะถ้ำโดยทั่วไปสร้างขึ้นจาก  2  เทคนิค  คือ
1. การลงสี
(pictograph)  คือ  การสร้างภาพด้วยสีตามวิธีการต่างๆ เช่น 
          - การวาดด้วยสีแห้ง (drawing  with dry pigment)
          - การเขียนหรือระบาย (painting)
          - การพ่น (stencilling)
          - การทาบ (imprinting)
          - การสะบัดสี (paint splattering)   หรืออาจใช้เทคนิควิธีต่างๆ ผสมกัน
          ภาพลงสี  (pictograph) หรือภาพเขียนสีมีเทคนิคการเขียนแบบต่างๆ กันคือ
          - แบบเงาทึบ (silhouette)
          - แบบโครงร่างภายนอก (outline)
          - แบบเงาทึบบางส่วน (partial silhouette)
          - แบบก่งไม้ (stickman)
2. การทำรูปรอยลงในหิน (petroglyph) เช่น    
          - การฝน (abrading)
          - การจาร (engraving)
          - การขูดขีด (scratching)
          - การตอกหรือแกะ (pecking)

ลักษณะภาพศิลปะถ้ำ     
          ภาพศิลปะถ้ำ  มีลักษณะการแสดงออกและเทนนิควิธีการที่ต่างกัน  สามารถแบ่งภาพได้เป็น  2 ประเภท  คือ
1. ภาพที่เป็นธรรมชาติ (naturalistic/ naturalism) หรือภาพสัจนิยม (realistic/ realism)
          - ภาพคน
          - ภาพสัตว์
          - ภาพมือและเท้าคน
          - ภาพวัตถุหรือสิ่งของ
          - ภาพพืชพันธุ์ไม้
2. ภาพคตินิยม (idealism) และสัญลักษณ์ (symbolism)  

เรื่องราวที่ปรากฏบนภาพเขียนสี    
1. ภาพการล่าสัตว์
2. ภาพการเกษตรกรรม
3. ภาพรื่นเริง
4. ภาพการร่วมเพศ
5. ภาพพิธีกรรม

คราวหน้ามาติดตามศิลปะถ้ำหรือภาพเขียนสีในจังหวัดชุมพรกันค่ะ  แล้วพบกันนะคะ

เอกสารอ้างอิง

ศิลปากร.กรม.ศิลปะถ้ำผีหัวโต กระบี่. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์, 2533

หมายเลขบันทึก: 5770เขียนเมื่อ 23 ตุลาคม 2005 16:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 02:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น

อยากทราบถึงวัสดุที่ใช้วาด  เขียน  หรือลงสี   และมีสีใดบ้าง เพราะส่วนมากเห็นแต่สีแดง   และเราสามารถกำหนดอายุของภาพเขียนสีได้อย่างไร

 

แก้ไขแล้วค่ะ  ขอบคุณค่ะ  สำหรับเรื่องที่คุณน้องสาวถามมาเราจะนำเสนอในคราวต่อไปค่ะ

ก็ดีนะครับ แต่ทำไมไม่บอกแผนที่ด้วยละครับคนที่จะไปแล้วไม่รู้เส้นทาง จะได้ไปถูกครับ

สีในถ้ำสีอะไร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท