จากประสบการณ์หนึ่งสู่การขับเคลื่อนศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนที่ลำปาง


ทีมงานก็ได้ฉุกคิดขึ้นมาว่า จะขับเคลื่อนงานด้านอารักขาพืชอย่างไร โดยให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางพัฒนาด้านอารักขาพืช โดยมุ่งเน้นให้ชุมชน มีแนวคิดที่จะลด ละ เลิก การใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช มองถึงการผลิตในชุมชนที่มีความยั่งยืน ผลผลิตทางการเกษตรปลอดภัย สิ่งแวดล้อมในชุมชนดีขึ้น

            

           

        จากประสบการณ์หนึ่งสู่การขับเคลื่อนศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนที่ลำปาง เมื่อผมและทีมงาน ของกลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดลำปาง ได้ลงไปศึกษาชุมชนต่างๆในเขตจังหวัดลำปาง ได้เรียนรู้สิ่งต่างๆในชุมชนเกษตรกรมากมาย ล้วนแต่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนางานด้านอารักขาพืช ต้องยอมรับความจริงกันนะครับว่า ในระบบการผลิตทางการเกษตรของเกษตรกรในชุมชนต่างๆนั้น มันมีความแตกต่างกันหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นวิถีการผลิตของชุมชน ประเพณี วัฒนธรรมในชุมชน รวมถึงความเคยชิน ในการทำการเกษตร บางแห่งยังคงอนุรักษ์องค์ความรู้ไว้ บางแห่งก็มีกระแส ข่าวสารการผลิต รวมถึงการใช้ปัจจัยการผลิตจากข้างนอก เข้าไปในชุมชนก็มีไม่น้อยเช่นกัน



                  ในขณะที่ได้ลงไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้นำชุมชน เกษตรกร ทีมงานก็ได้ฉุกคิดขึ้นมาว่า จะขับเคลื่อนงานด้านอารักขาพืชอย่างไร โดยให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางพัฒนาด้านอารักขาพืช โดยมุ่งเน้นให้ชุมชน มีแนวคิดที่จะลด ละ เลิก การใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช มองถึงการผลิตในชุมชนที่มีความยั่งยืน ผลผลิตทางการเกษตรปลอดภัย สิ่งแวดล้อมในชุมชนดีขึ้น แนวคิดอย่างนี้ มันคงจะขับเคลื่อนโดยเราฝ่ายเดียวมันคงไม่ง่ายเช่นกัน

 

 


                   การที่จะนำความรู้ และทำการส่งเสริม ด้านการผลิตสารชีวภัณฑ์ และสารสกัดชีวภาพ เพื่อให้พี่น้องเกษตรกรได้เห็นถึงความสำคัญ เห็นถึงประโยชน์ โดยทำการฝึกทักษะในการผลิตให้แก่เกษตรกรที่สนใจในเบื้องต้น แต่ก็ยังคาดหวังว่า หากเกษตรกรเขาผลิตเป็นแล้ว แล้วก็มีคำถามตามมาว่า เขาจะมีวัสดุอุปกรณ์ในการผลิตสารชีวภัณฑ์ไหม หากจะพูดง่ายๆว่าเมื่อเขามีความรู้แล้วเขาจะกลับไปทำเองหรือเปล่า เขาจะช่วยเหลือตัวเองหรือไม่อย่างไร ล้วนแต่เป็นโจทย์ที่ต้องคิดต่อ  และสำคัญที่สุดจะต้องมีการบูราณาการทำงานด้านการจัดการศัตรูพืชกับอปท. ผู้นำชำชุน อาสาสมัครเกษตรประจำหมู่บ้าน(อกม)  คณะกรรมการบริหารศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร(ศบกต.)  และผู้นำกลุ่มอาชีพทางการเกษตรในชุมชน หน่วยงานภาคี เป้นต้น



                   แต่ในเบื้องต้น ต้องรีบลงไปพูดคุยกับพี่น้องเกษตรกรที่อยู่ในชุมชนที่มีอาชีพทางการเกษตร ให้มีแนวคิดที่จะผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัย แต่ต้องเข้าใจและมีความรู้ในการอนุรักษ์แมลงศัตรูทางธรรมชาติ ทั้งที่เป็นทั้งตัวห้ำ ตัวเบียน พูดง่ายๆก็คือแมลงที่มีประโยชน์นั่นเอง ล้วนแต่มีความจำเป็นที่จะต้องกระตุ้นให้เกิดการรวมกลุ่ม หรือศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน ได้มีการป้องกันจำจัดแมลงศัตรูพืชด้วยวิธีผสมผสาน มุ่งเน้นการลด ละ เลิก การใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชนั่นเองครับ



เขียวมรกต

๒o ตค. ๕๗




หมายเลขบันทึก: 579019เขียนเมื่อ 20 ตุลาคม 2014 10:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 ตุลาคม 2014 14:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ชอบผังความคิดฉบับทำมือมากครับ
เห็นรอยหยักของความคิด
ทั้งอดีต ปัจจุบัน อนาคต ...

น่าสนใจมากครับ

ขอบคุณครับท่านแผ่นดิน ที่กรุณาแวะมาทุกทายกัน ผังความคิดนี้จะใช้สรุปอีกครั้งตอนปิดเวที ประเมินความเข้าในของเกษตรกรผู้เข้าร่วมเวทีด้วยครับ

ขอบอบคุณ คุณยายธี  พี่ใหญ่ และท่านบูรพากรณ์ ที่กรุณาแวะมาให้กำลังใจครับ

-สวัสดีครับ

-ตามมาให้กำลังใจครับ

-กำแพงเพชรขาดคนดีคนเก่งไปหนึ่ง..

-สำนักงานเกษตรอำเภอพรานกระต่าย เหงาๆ ชอบกล

-ในวัน..ประทุม..ร่วงหล่น

-ขอบคุณครับ

  • สวัสดีครับอ.เพชรน้ำหนึ่งที่แวะมาทักทายและให้กำลังใจกัน
  • ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวคุณปทุมวันครับ
  • และขอให้อ.เพชรน้ำหนึ่ง มีพลังและกำลังใจในการทำงานที่มุ่งมั่นต่อไปนะครับ
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท