ฮักนะเชียงยืน 50


เรามาเรียนรู้

กิจกรรมเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างทางในโครงการโรงเรียนวันสุข

         เมื่อวันที่ 17-20 ที่ผ่านมา เราฮักนะเชียงยืนได้มีโอกาสเข้าไปร่วมกิจกรรมเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ของโรงเรียนวันสุขที่จัดขึ้นที่ ณ มูลนิธิการศึกษาเพื่อชีวิตเเละสังคม หรือ กชส . เเละสสส. อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ครั้งนี้มาในเเนวเเบบโฮมสเตย์ เป็นกันเอง พักที่บ้านชาวบ้านในชุมชน เดินทางไปด้วยกัน 3 คน ได้เเก่ ครูเพ็ญศรี วิน เเละเเสน ซึ่งครั้งนี้เรามาเรียนรู้ ... จากกิจกรรมอาจสรุปได้ ใน 3 ประเด็นด้วยกัน ได้เเก่ ประเด็นเเรกในเเง่ของเครื่องมือ มีดังนี้ .... 

1.การวิเคราะห์งาน อันนี้เป็นเครื่องมืองจากทางพี่หนุ่มที่ชวนเราวิเคราะห์ มองงานตนเองเคื่องมือเเรกเป็นการวิเคราะห์งานตนเองที่ได้ทำผ่านมาเเเล้ว เเบ่งเป็น 4 ส่วนด้วยกัน ได้เเก่ งานที่ทำมาเเล้ว ใครทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อไร ส่วนที่สองให้บอกข้อดีเเละข้อเสีย เเล้วบอกจุดที่จะพัฒนาต่อไป ข้อต่อมาบอกความสำเร็จเเละการเรียนรู้ เเเลว้สุดท้ายให้บอกสิ่งที่จะทำต่อไป ... จากนั้นพี่หนุ่มชวนมาวิเคราะห์ SWOT (จุดเเข็งS จุดอ่อนW โอกาสO เเละข้อจำกัดT) งานตนเอง เเล้วปรับมาเป็นยุทธศาสตร์ ในการทำงาน
โดยมีสูตร คือ S+O = ยุทธศาสตร์เชิงรุก
.....................S+T = ยุทธศาสตร์เชิงรับ
.....................W+O = ยุทธศาสตร์เชิงพัฒนา
.....................W+T = ยุทธศาสตร์เชิงชลอ ...
          ทั้ง 3 เครื่องมือนี้ ผมพึ่งเรียนรู้เป็นครั้งแรก ได้เเก่ มองงานตนเอง วิเคราะห์SWOT เเละเชื่อมเข้าสู่ยุทธศาสตร์ สุดท้ายพี่หนุ่มชวนคิดในเรื่องการถอดบทเรียนขั้นเทพ เทพจริงๆเพราะยากมาก มีอยู่ 3 ส่วนด้วยกัน ได้เเก่ การทบเรียนรู้ วิเคราะห์การเรียนรู้ สุดท้าย คือ สังเคราะห์ผลการเรียนรู้ สำหรับเด็กๆต้องใชคำถามง่ายๆ เเบบบ้านๆเอาขั้นที่ 1 ไปก็พอ (ทบทวนการเรียนรู้)

2.การเรียนรู้ชุมชน ครั้งนี้ผมพยายามตั้งคำถามกับตนเองว่า ผมเห็นแะไรกับชุมชนนี้ ซึ่งผมได้คำตอบเเล้ว ได้เเก่

- เห็นความร่วมมือของคนในชุมชนที่เข้ามาทำให้เรามีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น เเละเห็นผู้ใหญ่เเละผู้ช่วยพยายามสร้างบรรยากาศความเป็นกันเองกับเรามากที่สุด
- เห็นภูมิปัญญา เเละวัฒนาธรรมของชุมชน ที่ชาวบ้านยังคงอนุรักษ์ไว้อยู่จนบัดนี้ ได้เเก่ การสอนตั๊กเเตน การทำบายศรี รำวงย้อนยุค การทำขนมจีนเเบบโบราณ ฯ ซึ่งวัฒนธรรมดังกล่าวสะท้อนความเข้าเเข็งของชุมชนในเเง่ของจิตวิญญาณของผู้คนในชุมชน
- เห็นความสัมพันธ์อันดีระหว่างเด็กๆลูกหลานกับปู่ย่า ตา ยาย ที่คุณยาย พาลูกๆหลานๆมารำวงด้วยกัน ยายเเละตาก็เต้นไปกันลูกหลาน หลานก็เต้นด้วยกัน อันนี้ผทประทับใจเป็นการส่วนตัวอย่างยิ่ง
- เห็นความร่วมมือในกันชุมชนที่ไม่ว่าจะเป็น โรงเรียน อบต. ผู้ใหญ่บ้าน ชาวบ้าน เด็กนักเรียน คนชรา ฯ ....
3.การเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ อันนี้เป็นการสะท้อนความรู้สึก ความคิดเห็นในการทำงาน โดยส่วนใหญ่นั้นคนทีทำงาน เขาเป็น NGO ส่วนเราเป็นครูเเละนักเรียน NGO อยากเป็นครู ครูก็อยากเป็น NGO เหมือนกัน หากทั้งสองร่วมมือได้จะดีมากต่องาน ต่อมาเป็นเรื่องของการปฏิรูปการศึกษาที่เวทีไหนๆก็คุยกันไม่ค่อยลงตัวสักที ในรูปเเบบวิธีการ เเต่ในความไม่ลงตัวนั้นก็มีเเนวทางในการปฏิรูปอยู่ ซึ่งทุกๆคนก็เห็นตรงกัน หากมีการกระจายอำนาจขึ้นจริง จะดีอย่างยิ่ง เเต้เมื่อกระจายเเล้ว กระทรวงการศึกษาควรมาเสริมโรงเรียนด้วย เพื่อพัฒนาเด้กเป็นหลัก โดยเฉพาะคุณลักษณะอันพึงประสงค์ .........................
ครั้งนี้ผมได้เรียนรู้ใน 2 ด้าน ด้วยกัน ได้เเก่
1.ด้านเครื่องมือ/กระบวนการ ที่มี 3 เครื่องมือการคิด คือ การมองการ วิเคราะห์SWOT เเละเชื่อมสู่ยุทธศาสตร์
2.ด้านวัฒนธรรม ในการทำรำวงเเละทำขนมจีน เเบบโบราณที่ให้ นั่งทำ (เเต่น่าเสียดายที่ผมกลับก่อนเลยไม่ได้ชิม) .... 

.

.

.

.

หมายเลขบันทึก: 579015เขียนเมื่อ 20 ตุลาคม 2014 07:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 ตุลาคม 2014 07:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท