พัฒนาคนชายแดน...นวัตกรรมสาธารณสุขแม่ฮ่องสอน


งานนี้ทีมวิทยากรเหนื่อยแน่นอนครับ แต่เหนื่อยก็สนุก สนาน มีความสุขในการได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ พัฒนาศักยภาพคนเพื่อการออกไปทำงานกับชุมชน สร้างสรรค์สิ่งดีๆในชุมชน พัฒนาจังหวัด พัฒนาประเทศของเรา

ผมได้รับการติดต่อจาก คุณทวีวรรณ สัมพันธสิทธิ์ ติดต่อเพื่อจะให้ไปช่วยงานเป็นทีมวิทยากร อบรมพนักงานสุขภาพชุมชนชายแดน(พสชช) ในประเด็น การวิเคราะห์ชุมชนแบบมีส่วนร่วม และการทำแผนชุมชน ซึ่งเน้นหัวใจของการมีส่วนร่วมสำหรับผู้ที่จะเข้าไปทำงานกับชุมชน ทำงานสุขภาพเชิงรุก ให้กับกลุ่มเป้าหมายจำนวน ๑๗ คน 

ผมค่อนข้างหนักใจ เพราะกระบวนการเรียนรู้ประเด็นใหญ่ๆแบบนี้ ต้องใช้เวลาค่อนข้างนาน มีทั้งภาคทฤษฏี และภาคปฏิบัติการ และผู้จัดการอบรมให้เวลาเพียง ๒ วันเท่านั้น จึงต้องคิดกันหนัก และคิดว่าหลักสูตรเร่งรัดแบบนี้หน้าตาจะเป็นอย่างไร การเรียนรู้แบบเร่งด่วนสิ่งที่พวกเราน่าจะทำได้ในข้อจำกัดแบบนี้ คือ การให้ทักษะ แนวคิดที่จำเป็นในการปฏิบัติงานในชุมชน ส่วนภาคปฏิบัติจริงก็คงจะเป็นการปฏิบัติงานในชุมชนเลย แบบ Learning By Doing

 

พสชช. เป็นโครงการพัฒนาศักยภาพให้กับคนในพื้นที่พิเศษ (พื้นที่ชายแดน) ที่มีปัญหาในการเข้าถึงบริการสาธารณสุข เพื่อให้คนเหล่านั้นทำหน้าที่ส่งเสริมและป้องกันโรคตามแนวชายแดนไทย พม่า เป็นโครงการภายใต้ โครงการ SHIELD (มีองค์กรที่เข้าร่วมสนับสนุน ได้แก่ IRC – International Rescue Committee ,WE/C : World Education / Consortium และ PATH

โดยมีพันธกิจงาน (Mission) ที่น่าสนใจในการพัฒนา สุขภาพ (Health) การศึกษา (Education) การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กร (Capacity Building)   และการประสานงาน แบบบูรณาการ (Advocacy and coordination) ผมมองว่าเป็นโอกาสที่ดี ที่องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรระหว่างประเทศ ในพื้นที่เข้ามาร่วมในการพัฒนาสุขภาพโดยเฉพาะพื้นที่พิเศษ เพราะแม่ฮ่องสอนมีภูมิประเทศที่ทุรกันดาร ติดแนวเขตชายแดน มีการเข้าออกของกลุ่มผู้อพยพลี้ภัยมากมาย เหล่านี้เป็นสาเหตุใหญ่ๆของปัญหาสาธารณสุขใหม่ๆ (โรคติดต่อที่เคยหยุดระบาด กลับมาระบาดอีก เป็นต้น)

แนวคิดการพัฒนาคนในพื้นที่ให้เป็น พนักงานสุขภาพชุมชน เพื่อปฏิบัติงานในการดูแลสุขภาพชุมชน นับว่าเป็น นวัตกรรม (Innovation) ของงานสาธารณสุขที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง

 กระบวนการคัดเลือก พสชช. คัดเลือกจากคนในพื้นที่ ซึ่งก็ได้เปรียบในการสื่อสาร มุมมอง และการปรับตัวกับชุมชนได้ดีอยู่แล้ว พสชช. นี้เองจะเป็นผู้ประสานงานหน่วยงานสาธารณสุข และพัฒนางานสาธารณสุขเชิงรุกในชุมชนชายแดน เคียงคู่กับหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่พสชช.ที่ทำงานเชิงรุกกับชุมชนจึงจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องเรียนรู้ทักษะที่สำคัญ ต้องเรียนรู้ และพัฒนาศักยภาพตนเองเพื่อเตรียมให้พร้อมในการทำงานกับชุมชน ที่เน้นวิธีคิดแบบมีส่วนร่วม 

งานอบรม และแลกเปลี่ยนกับ พสชช.ที่โรงพยาบาลศรีสังวาลย์แม่ฮ่องสอน ในครั้งนี้ค่อนข้างหนักหน่วงพอสมควร แต่คิดว่าเราได้ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ที่สนุกสนาน

งานนี้ทีมวิทยากรเหนื่อยแน่นอนครับ แต่เหนื่อยก็สนุก สนาน มีความสุขในการได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ พัฒนาศักยภาพคนเพื่อการออกไปทำงานกับชุมชน สร้างสรรค์สิ่งดีๆในชุมชน พัฒนาจังหวัด พัฒนาประเทศของเรา 

หมายเลขบันทึก: 56880เขียนเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2006 09:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)
อืม น่าสนใจมากครับคุณจตุพรตามอ่านนะครับ อย่าลืมรายละเอียดที่พอจะนำมาปรับใช้กับคนอีสานด้วยนะครับ เล่าให้ฟังหน่อย

ยินดีอย่างยิ่งครับคุณ ออต

ผมร่วมงานทีมวิทยากรที่มีความสามารถในการจัดกระบวนการเรียนรู้ ผมโชคดีครับ ที่ได้มีโอกาสที่ได้เรียนรู้กระบวนการเหล่านั้นจากพี่ๆ

ผมก็เห็นว่า กระบวนการจัดการอบรมทั้ง ๒ วันน่าสนใจมาก

ผมจะลองนำมาเขียนออกเป็นบันทึกนะครับ เผื่อนักพัฒนา และวิทยากรท่านอื่นๆจะได้ใช้ประโยชน์ร่วมกันครับ

ขอบคุณคุณออตครับ

เรียนอาจารย์จตุพร

การจัดกระบวนกลุ่ม กระบวนการอบรมให้กับกลุ่มต่าง ๆ นั้น วิทยากรต้องมีการเตรียมและมีการบ้านทำเยอะมาก ....อาจารย์ต้องเล่าวิธีการ อย่างไร มีเทคนิคอะไร ดูจากรูปแล้วน่าสนใจว่า ในกระบวนการอบรมซึ่งมันกำลังบอกอะไรอยู่ในนั้น

ที่อาจารย์บอกว่ากระบวนการจัดอบรมทั้งสองวันน่าสนใจมาก ...ยิ่งทำให้อยากรู้วิธีการมากขึ้นค่ะ

จะรออาจารย์เขียนบันทึกออกมานะค่ะ

 

คุณ Chah

ผมเองคิดว่าจะนั่งเรียบเรียงอยู่ครับ ในกระบวนการเหล่านี้เองผมก็ได้เรียนรู้กับทีมงานพร้อมๆกันด้วย

กระบวนการน่าสนใจมากครับ คิดว่าผู้เข้ารับการอบรมน่าจะสนุกสังเกตจากการมีส่วนร่วมและอารมณ์ของผู้ร่วมเรียนรู้ทั้งสองวันครับ

ยินดีครับที่ได้แลกเปลี่ยน

ยินดีครับคุณจตุพร..ขอให้ความฝันเป้นจริงนะครับ

ขอบคุณครับ คุณ น.เมืองสรวง

...ทุกคนมีส่วนร่วมกันก่อร่างสร้างฝันครับ

  • แวะมาให้กำลังใจ
  • ดีใจที่สนุกกับการเป็นวิทยากรครับ

ขอบคุณครับอาจารย์  ขจิต   ครับ

งานนี้สนุกครับได้เรียนรู้กระบวนการจากทีมวิทยากรที่ทำงานด้วยกัน และได้เรียนรู้จากผู้เข้าร่วมอบรม ...

คุ้มมากครับ

แนวคิดน่าสนใจครับ แต่ผมสนใจในรูปมาก กระดาษที่วางไว้กับพื้นเรียงเป็นห้าแฉกคืออะไรหรือครับ

คุณ  จันทร์เมามาย

ในภาพ เป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้ครับ โดยให้ พสชช.แบ่งกลุ่มวิเคราะห์ชุมชนเป็นประเด็นๆ ให้ครอบคลุมว่าน่าจะวิเคราะห์ชุมชนประเด็นไหน และมีรายละเอียดอย่างไร

เสร็จแล้วเรานำมาสรุปลงในบัตรคำ เติมเต็มในกระดาษ ห้าแฉก (ห้าประเด็นหลัก) เช่น ระบบสุขภาพ ระบบทรัพยากร ระบบพืชสัตว์ เป็นต้นครับ

ด้วยความหลากหลายของพื้นฐานของผู้เข้ารับการอบรม และ เนื้อหาการวิเคราะห์ชุมชนที่หนัก เราเลยทำกิจกรรมให้สนุกสนาน เน้นการเรียนรู้จากการปฏิบัติงานกลุ่ม มากกว่านั่งฟังเลคเชอร์ครับ

หนูอ่านจากบทความของพี่แล้ว  น่าสนใจมากเลยค่ะ

เกี่ยวกับการแก้ปัญหาแบบองรวมของคนในชุมชนค่ะแต่คือว่าหนูต้องการทราบถึงรายละเอียดของกระบวนการที่พี่จัดทำค่ะ เพราะหนูต้องทำรายงานในเรื่องนวัตกรรมสาธารณสุข  เรื่องของพี่น่าสนใจมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท