บันทึกที่หนึ่งพัน...สะกิดใจ Human Intelligence


เมื่อวานคิดตั้งใจจะทำเครื่องหมายจำแนกศักยภาพผู้สูงอายุไทยให้สปสช. ก็ทำได้จริงๆ ก็ใช้เวลาที่ทำงาน 17.00-18.00 น. แต่ในเวลาตั้งแต่ 8.00-17.00 น. มีเหตุการณ์ที่ "จุดประกาย" ความคิดความเข้าใจและการกระทำของดร.ป๊อปมากมาย...เลยอยากนำมาบันทึกแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับ GotoKnow.Org ที่ผมรักและนับถือเสมอมาจนมาถึงบันทึกที่หนึ่งพัน

เริ่มจากพบกับญาติผู้รับบริการท่านหนึ่งที่เป็นตัวอย่างที่ดีในการพาผู้รับบริการโรคหลอดเลือดสมอง (แตก) มาฝึกกายภาพบำบัดและกิจกรรมบำบัดทุกวัน จากภาวะสมองที่ใช้งานไม่ดีนักในการจัดการอารมณ์ ความคิดความเข้าใจ และการเคลื่อนไหวร่างกาย ทำให้ฟื้นพลังชีวิตได้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ญาติผู้รับบริการท่านนี้คือ พี่ อ. ก็แสดงความห่วงใยแนะนำอาหารสุขภาพและการปฏิบัติตัวเบื้องต้นให้ดร.ป๊อปช่วงกลับมาทำงานวันแรกๆ หลังจากพักฟื้น 1 เดือนเต็มที่บ้านหลังจากป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง (ตีบ) ...พี่ อ. ก็เตือนผมอีกครั้งเมื่อวานนี้ว่า "อ.ป๊อป พี่เห็นอาจารย์ทำงานหนักอีกแล้วเหมือน 3 คนทำงานเลย เค้า (โรคหลอดเลือดสมอง) เคยมาเตือนอาจารย์แล้วหนึ่งครั้งนะ อย่าให้เค้ามาเตือนอาจารย์อีกเลย พักผ่อนบ้างนะค่ะ"

ผมนิ่งและคิดทบทวนตนเองพร้อมคำเตือนของพี่ อ. ก็ตอบไปว่า "จริงซิพี่ อ. ผมรู้สึกเหนื่อยมากขึ้นหลังจากกลับมาทำงาน ผมพยายามจะพักให้เต็มที่ในทุกวัน ได้แต่นอนหลับให้เพียงพอ ผมยังคงต้องทำงานใช้ทุนรัฐบาลและงานอาจารย์กิจกรรมบำบัดมันเหนื่อยเหลือเกิน ปิดเทอมไม่มีการสอน ก็ต้องเตรียมสอนให้ดีขึ้น ต้องลงคลินิกให้ครบชั่วโมงตามข้อตกลงของคณะฯ ต้องทำวิจัยให้ดีพอในการสร้างสรรค์นวัตกรรม ต้องให้บริการวิชาการต่างๆ เพื่อเป็นความรับผิดชอบต่อสังคม ต้องบริหารจัดการในฐานะประธานหลักสูตรกิจกรรมบำบัด และต้องเข้าร่วมกิจกรรมทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรม ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่จะทำงานวันจันทร์-วันศุกร์เพียง 8.00-16.00 น. ..."แต่ผมก็ต้องเหนื่อยหลายเท่าเพราะร่างกายก็เตือนให้พักผ่อนเสมอมาหลังจากป่วย ... ขอบคุณพี่ อ. มากๆครับ ผมจะตั้งใจกระจายงานให้น้องๆ อย่างเหมาะสมและแบ่งเวลาดูแลตนเองให้มากกว่าเวลาทำงานที่เหมาะสมและสำคัญกับศักยภาพของตนเอง"

จากนั้นผมก็มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรมของดร.ป่าน วิศวกรชีวการแพทย์ ผู้ที่สร้างแรงบันดาลใจและให้โอกาสผมทำงานร่วมกันเป็นทีมสหวิชาชีพ เช่น หุ่นยนต์กับการพัฒนาเด็ก ประสบการณ์เข้ารอบ True Innovation Award  และดร.เอก นักกิจกรรมบำบัดผู้มุ่งมั่นช่วยเหลืองานผมด้านวิทยาศาสตร์ของกิจกรรมการดำเนินชีวิต หรือ Occupational Sciences อย่างน่าประทับใจ เช่น การสร้างระบบกิจกรรมบำบัดมหิดลในผู้ที่มีประสบการณ์อัมพาต ผมกับอ.เอก กำลังเรียนรู้การใช้งานระบบไจโรโรลเลอร์เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพการใช้แขนและมือในผู้ที่มีประสบการณ์อัมพาต ประกอบด้วยเกมส์ 3 รูปแบบที่มีการเคลื่่อนไหวบน-ล่าง-ซ้าย-ขวาบนล้อที่มีการปรับแรงต้นแบบสั่นสะเทือนขณะเล่นเกมส์ได้ด้วย ผู้สนใจสมัครฟรีที่คลินิกกิจกรรมบำบัด ศูนย์กายภาพบำบัด คณะกายภาพบำบัด ม.มหิดล ศาลายา 

นอกจากนั้นพวกเรามีฝันเหมือนกันคือ "การสร้างศูนย์ศักยภาพของมนุษย์ (Human Intelligence) ในการเปิดโอกาสและพัฒนาระบบการฟื้นฟูสมรรถภาพแบบสหวิชาชีพแบบครบวงจร (Rehabilitation Sciences) + วิทยาศาสตร์ของกิจกรรมการดำเนินชีวิต (Occupational Sciences) + เทคโนโลยีหุ่นยนต์และวิศวกรรมชีวทางการแพทย์ (Artificial Intelligence & Biomedical Engineering) ที่จะเพิ่มความสามารถและความสุขของมนุษย์ในการมีทักษะชีวิตด้วยการจัดการปัญญาหรือความรอบรู้ด้วยตนเองและเกิดพลเมิืองดีของไทยและโลกในการช่วยเหลือผู้อื่นหรือผู้ที่มีความบกพร่องทางร่างกาย จิตสังคม การเรียนรู้ และการพัฒนาทักษะชีวิตตลอดทุกช่วงวัยต่อไปในอนาคตอีก 5-10 ปีข้างหน้านี้" 

สุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุดพี่เพ็ญลักษณ์ หน.ข่าวจากกรุงเทพธุรกิจได้เข้ามาสัมภาษณ์เรื่องราวชีวิตของดร.ป๊อปที่สนใจพัฒนางานกิจกรรมบำบัดจิตสังคมเป็นคนแรกและคนสุดท้ายของไทย กับโครงการจิตอาสามากมาย สุดท้ายก็จับประเด็นว่า "สื่อการรักษาทางกิจกรรมบำบัดควรนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิต ซึ่งมิใช่คำตอบสุดท้าย ... เมื่อชีวิตเราทุกข์กับความเจ็บป่วยเข้าจริง ประสบการณ์ที่ช่วยเหลือในผู้ป่วยทั้งหลายมิได้ทำให้เราบำบัดฟื้นฟูตัวเองได้เสมอไป ... ผมเป็นตัวอย่างของการขวนขวายหาความรู้เพิ่มเติมในการผสมผสานกิจกรรมบำบัดจิตสังคมกับศาสตร์อื่นๆ เช่น Neuro-Linguistic Programming (NLP) ฯลฯ เพื่อให้ผมมีพลังชีวิตหลังโรคหลอดเลือดสมอง (ตีบ) ในปัจจุบันขณะ" และมีช่างภาพมาถ่ายรูปในทรงผมใหม่และวิวสวยๆของม.มหิดลที่สนใจให้ลูกสาวมาสมัครเรียนกิจกรรมบำบัดด้วย 

กัลยาณมิตรทั้งหลาย...โปรดติดตามคอลัมน์ดร.ป๊อปใน "จุดประกาย Talk ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจฉบับอังคารที่ 29 เม.ย. 2557 นะครับผม ขอบพระคุณมากๆครับ" 

ท้ายสุด กัลยาณมิตรทั้งหลายถ้าสนใจฝึกทำกิจกรรมความสุข สามารถลงทะเบียนฟรีวันนี้ถึงวันอบรมคือ 24 พ.ค. 2557 เวลา 9.00-12.00 น. 



หมายเลขบันทึก: 566578เขียนเมื่อ 23 เมษายน 2014 10:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 เมษายน 2014 10:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

มาแสดงความยินดี กับบันทึกที่ 1000

ขอชื่นชมครับ

ขยันเขียนบันทึก...มุ่งมั่นปฏิบัติกิจกรรมบำบัด...รักษาตนให้แข็งแรง...เป็นกำลังใจให้ค่ะ...

สวัสดีค่ะ..ดร..ป้อป..ยายธีมีความสนใจ..การสร้างศูนย์ศักยภาพมนุษย์..แต่..คำว่า..ศักยภาพ..น่าจะบวกคำว่า..ภราดรภาพ..ด้วยนะเจ้าคะ..และอยากมีส่วนร่วมสนับสนุน..โครงการณ์นี้..จะอนุญาติให้ติดต่อหลังไมค์ได้ไหมเจ้าคะ...ยายธีค่ะ..


... ขอบคุณ บันทึกดีดีนี้ค่ะ ...


ขอบพระคุณมากๆครับคุณ พ.แจ่มจำรัส พี่ใหญ่ คุณยายธี (ยินดีติดต่อหลังไมค์ที่ 0852240707 ครับ) พี่ดร.เปิ้น คุณมะเดื่อ พี่โอ๋ พี่ขจิต คุณวอญ่า คุณชยพร และคุณบุษยมาศ 

ขยันมากเลยครับ

ดูแลสุขภาพบ้างนะครับ

เป็นห่วงครับ

-สวัสดีครับพี่หมอ

-ตามมาให้กำลังใจ

-นำเอาส้มลิ้ม..ส้มแผ่น..มาฝากครับ..

ขอบคุณที่แจ้งและจะติดตามอ่านค่ะ

ชื่นชมอาจารย์ที่มีฝันใหญ่ ด้วยใจให้สังคม ค่ะ :)

ขอบคุณมากๆครับคุณหมอป. คุณเพชรน้ำหนึ่ง และพี่ขจิต (อีกครั้ง) 

ครูหยินขอเป็นกำลังใจให้นะ และเชื่อว่างานหนักไม่เคยฆ่าคน สิ่งที่อุทิศไปคือสิ่งที่ดีที่สุด และจะนำพาให้น้องได้พบแต่สิ่งดี ๆ ในชีวิตตลอดไป พร้อมกับอยู่ในใจคนไทยทั่วประเทศ ถ้ามีอะไรให้ครูหยินช่วยด้วยความยินดียิ่ง ครูหยินก็จัดกิจกรรมบำบัดนักเรียนหลากหลายรูปแบบ สำเร็จบ้าง ล้มเหลวบ้าง แต่จะไม่ย่อท้อครับ สู้ ๆนะ

สวัสดีครับอาจารย์

ชื่นชมกิจกรรมแบบนี้มากจริง ๆ ครับ

อยากไป...แต่คงไม่มีโอกาส

..

จะคอยติดตามเรื่องเล่า...ของอาจารย์ที่นี่นะครับ

..

ปล. น้องอ้อ นักกิจกรรมบำบัด รพสุราษฎร์ฯ บอกว่า...อาจารย์เป็นคนน่ารักมาก สุภาพ และเป็นกันเองกับนศ ทุกคน

สมัครเข้าร่วมกิจกรรมความสุขได้ที่ไหน  อย่างไรคะ

ขอแสดงความยินดีด้วยนะคะ...ดร.ป๊อบ  และก็ชื่นชอบมากค่ะ  สำหร้ับแนวคิดการจัดตั้งศูนย์พัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์  ติดตามและเป็นกำลังใจให้เสมอนะคะ  สำหรับคนขยัน  และคนเก่งค่า

ชื่นชมและให้กำลังใจอีกครั้งสู้ ๆ นะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท