จุดมุ่งหมายการนิเทศภายนอกคือ การนิเทศเพื่อไม่ต้องไปนิเทศอีก


"เราต้องพยายามใช้วิธีการนิเทศภายนอกของเราไปกระตุ้นให้เกิดระบบนิเทศภายในโรงเรียนที่เข้มแข็ง แล้วค่อยๆถอยออกมา นั่นคือการนิเทศเพื่อไม่ต้องไปนิเทศอีก"
      ดร.อาคม  จันทสุนทร  อดีตหัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์กรมสามัญศึกษา  เคยบอกภารกิจสำคัญประการหนึ่งของศึกษานิเทศก์ว่า
      "เราต้องพยายามใช้วิธีการนิเทศภายนอกของเราไปกระตุ้นให้เกิดระบบนิเทศภายในโรงเรียนที่เข้มแข็ง แล้วค่อยๆถอยออกมา  นั่นคือการนิเทศเพื่อไม่ต้องไปนิเทศอีก"    

     ดร.อาคม กล่าวประโยคนี้มาร่วม 20 กว่าปีแล้ว จนปัจจุบันท่านเสียชีวิตแล้ว  คำกล่าวนี้ก็น่าจะยังทันสมัยอยู่  ซึ่งมาสอดรับกับหลัก
การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน(School Besed Management :SBM) ที่กำลังเป็นที่ยอมรับในปัจจุบัน  ที่ยึดหลัก   การกระจายอำนาจ  การมีส่วนร่วม  การบริหารตนเอง  ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ เป็นฐาน  
     ดังนั้นศึกษานิเทศก์ก็น่าจะต้องนิเทศโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน โดยทำอย่างไรจึงจะส่งเสริมให้ระบบวิชาการ  ระบบนิเทศภายในโรงเรียนเข้มแข็งให้ได้  แล้วเราก็ถอยออกมาให้เขาเป็นตัวของเขาเอง (ไม่ใช่เป็นเด็กที่เลี้ยงไม่โต)
     ดร.อาคมบอกอีกว่า 
       "ถ้าเราสามารถทำให้โรงเรียนมีระบบนิเทศภายในที่เข้มแข็งได้ทุกโรงเรียน ก็อาจไม่ต้องใช้ศึกษานิเทศก์อีกก็ได้  แต่ศึกษานิเทศก์อาจมาทำหน้าที่คิดค้นนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนที่สูงขึ้นเพื่อช่วยเหลือครู เฉพาะด้าน เพราะครูเขาไม่มีเวลาพอ"
       ผมเลยคิดต่ออีกว่า  ถ้าโรงเรียนเขาสามารถ SBM ได้ทั้งหมด และครูส่วนใหญ่ก้าวหน้าจริงๆ อาจไม่ต้องมีศึกษานิเทศก์ยังได้(ซึ่งในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานคงต้องใช้เวลาอีกนาน)   ถ้าจะมีก็ต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน  เพื่อเป็นที่ปรึกษาโดยเฉพาะเท่านั้น
      ตัวอย่างหนึ่งคือศึกษานิเทศก์กรมการฝึกหัดครูในอดีต  เมื่อสถาบันฝึกหัดครูเปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฎ  มีอาจารย์เก่งๆมากมายแล้ว  เขาก็ไม่มีศึกษานิเทศก์อีก  แต่เรื่องการนิเทศการศึกษาจะยังคงมีอยู่และจะมีความเข้มข้นยิ่งขึ้น โดยเป็นการนิเทศภายในมหาวิทยาลัยแทนการนิเทศจากภายนอก
      มหาวิทยาลัยต่างๆจึงกำหนดให้มีวิชาการนิเทศการศึกษา ให้นิสิตนักศึกษาได้เรียนกัน  ซึ่งถือว่าเป็นกระบวนการหนึ่งของการบริหารการศึกษา โดยจะอยู่ในคณะหรือภาควิชาบริหารการศึกษา
      เห็นหรือยังว่า  การนิเทศการศึกษาไม่มีวันตาย  แต่จะปรับไปตามบริบทของการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา 
     
เพราะตราบใดที่ยังให้ความสำคัญกับคำว่า "คุณภาพการศึกษา" ก็จะมีคำว่า "นิเทศการศึกษา" อยู่ด้วยเสมอ
หมายเลขบันทึก: 56526เขียนเมื่อ 31 ตุลาคม 2006 09:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 10:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

การนิเทศการศึกษาที่กล่าวมา อยากให้ท่านอาจารย์ได้เปรียบเทียบ การนิเทศภายใน และการนิเทศภายนอกให้ทราบบ้างนะคะและบอกถึงข้อดีและข้อเสียของการนิเทศทั้งสองวิธีด้วยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท