เช้าตรู่ของวันที่จะต้องอำลากัน 23 มีนา 57 พวกเรามารวมกันที่บ้าน
ลุงวอ เพื่อกินมื้อเช้าด้วยกัน (กินข้าวกับลุงวอ) เห็นทุเรียนใกล้ ๆ บ้าน
ลุงวอออกดอกเต็มกิ่งก้านไปหมด คิดว่าถ้าทุกดอกติดผล คงทาน
น้ำหนักไม่ไหวแน่
อาหารเช้าเมืองพัทลุงที่ลุงวอจัดให้ แปลกตาสำหรับคนครึ่งใต้ครึ่งกลาง
อย่างคุณมะเดื่ออีกแล้ว
ใบเขียว ๆ ในถาดนี้ ครูหยินบอกว่า เป็น " ผักสมุย " (ไม่ใช่ผัก
สุราษฎร์...อิ อิ)
คุณมะเดื่อเลือกที่จะหม่ำ " ข้าวยำปักษ์ใต้ " ของแท้ และเป็นของโปรด
ซะด้วยนะจะบอกให้
และนี่....ปลาท่องโก๋จิ้มน้ำตาลทราย...อาหารเช้าธรรมดา ๆ อีกอย่าง
ของพี่น้องชาวใต้แต่ดูว่าเป็นของแปลกตาสำหรับลูกครึ่งใต้ครึ่งกลาง
อย่างคุณมะเดื่อ เพราะทางบ้านเรานิยมจิ้มนมข้นจ้ะ
หลังมื้อเช้าผ่านไป ลุงวอขอตัวไปแปลงโฉม...นี่แหละชุดใหญ่เต็มสูตร
พร้อมลุยทุกสถานที่...! (ทำให้คุณมะเดื่อคิดว่า กลับบ้านต้องหา
"ย่าม" สักใบ เอาไว้สะพายแข่งกับครูหยิน และลุงวอ..อิ อิ)
ก่อนออกเดินทางก็เก็บภาพบรรยากาศไว้ก่อนตามระเบียบ
จากนั้น...ลุงวอก็เป็นไกด์กิตติมศักดิ์พาคณะของเราไปเก็บเกี่ยวความรู้
ที่มีสาระและคุณค่าสำหรับคุณมะเดื่อยิ่งนัก ... สถานที่แห่งแรกคือ...
" วิสาหกิจชุมชนวิจัยรังนก " ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 64 หมู่ 11 ต.ฝาละมี
อ.ปากพะยูน จ.พัทลุง ซึ่งเป็นของคุณครูที่เกษียณอายุราชการไปแล้ว
ที่แห่งนี้นับเป็นที่ที่จุดประกายความคิดให้คุณมะเดื่อหลายประการที
เดียว เพราะใช้ หลักความพอเพียง ในการดำเนินชีวิตให้เห็นเป็นที่
ประจักษ์จริง ๆ ลุงวอบอกว่า ที่นี่เป็นเครือข่ายของลุงวอเอง...
ลุงวอพาไปดูงานที่ถูกใจมาก ๆ จ้ะ
เมื่อผ่านประตูรั้วเข้าไปก็เห็น กล่องเลี้ยงผึ้งกับรังผึ้งเหมือนในภาพนี้
และยังมีอีกหลายกล่องกระจายอยูู่บริเวณนั้น
มะเฟืองและไม้ผล ไม้ดอกอื่น ๆ กำลังออกดอกเต็มต้น นี่แหละแหล่ง
น้ำหวานอาหารผึ้งในกล่องนั้น
เมื่อเดินเข้าไปในอาคารเล็ก ๆ ที่แบ่งเป็นห้อง ๆ คล้ายห้องจำหน่ายสินค้า ก็พบกับสินค้าหลากหลายอย่าง ส่วนใหญ่เป็นงานหัตกรรม
เมื่อได้พูดคุยกับน้องผู้หญิงที่ดาดว่าเป็นเจ้าของบ้านคนหนึ่ง น้องบอก
ว่า สินค้าที่เห็นวางจำหน่ายนี้ ส่วนใหญ่รับซื้อมาจากคนในหมู่บ้านและ
นักเรียน เป็นการรับซื้อขาดเพื่อนำมาจำหน่ายไม่ใช่ฝากขาย สำหรับ
สินค้าของที่บ้านนี้มีสองอย่าง คือ...
น้ำผึ้งสดบรรจุขวดมีทั้งขนาดใหญ่และเล็ก เป็นผึ้งที่เลี้ยงเอง
และเครื่องดื่มรังนกนางแอ่นแท้ ซึ่งรับซื้อรังนกมาจากผู้เลี้ยง แล้วนำมา
ผลิตเอง พวกเราได้รับแจกเครื่องดื่มรังนกคนละขวด...แล้วก็ซื้อกลับ
บ้านมาอีกคนละสองสามโหล
ไม่มีเวลาพอที่จะได้เดินชมผลิตภัณฑ์อย่างทั่วถึง เนื่องจากเวลาจำกัด
พวกเราจึงมาฟังการบรรยายเรื่องการเลี้ยงผึ้ง ของอาจารย์สุริยา เจ้าของ
สถานที่ ที่อธิบายถึงวิธีการเลี้ยงผึ้งอย่างละเอียดยิบ เริ่มตั้งแต่วิธีการจับ
นางพญาผึ้ง จนถึงการเก็บน้ำหวาน
ถุุงตาข่ายลวด สำหรับใส่นางพญาผึ้งที่จับมาได้ และนำไปแขวนไว้ใน
กล่องเลี้ยงผึ้ง เพื่อล่อให้ผึ้งงานเข้ามาทำรังต่อไป
กล่องเลี้ยงผึ้ง เมื่อเปิดดูด้านใน
นี่คือ " รังนกนางแอ่น" ตัวจริงเสียงจริง ที่ราคาหลักหมื่น และหลาย ๆ
หมื่น ตามคุณภาพของรัง ที่นี่รับซื้อมา แล้วนำมาตัดแต่งทำความ
สะอาด ก่อนส่งจำหน่ายต่อ แล้วนำส่วนที่ตัดแต่งหรือรังที่ไม่ได้
ขนาด ไปทำเป็นเครื่องดื่มรังนกบรรจุขวดจำหน่าย....คุณมะเดื่อขอชิม
รังนกดิบ ๆ นิดหน่อย (ชิมมากไม่ได้เพราะรังหนึ่งคงหลักร้อย) ต้องการ
รู้รสชาติ....ก็รสชาติมัน ๆ นิด ๆ ..... จากนั้นอาจารย์สุริยา จึงพาพวก
เราเดินดูรอบ ๆ บ้าน
ทุก ๆ พื้นที่ของบ้านหลังนี้ ใช้ประโยชน์คุ้มค่า คุณมะเดื่อชอบการทำ
สวนหย่อมที่ใช้ต้นไม้ที่เป็นอาหารได้ทั้งสิ้น ทำให้นึกถึงที่ศูนย์เรียนรู้
เศรษฐกิจพอเพียง ที่พะโต๊ะ ซึ่งก็จะมีสวนหย่อมแบบนี้ทั่วไป ทั้งสวย
ทั้งดูดี มีประโยชน์พร้อมสรรพ
ต้นเหมือนมะม่วง แต่ช่อดอกสีแดง...ก็นึกสงสัยว่ามะม่วงพันธุ์อะไร..
ครูหยินจึงเฉลยว่า...มะมุด...อ้อ..! คุณมะเดื่อเคยเห็นแต่ผล...เพิ่งเคย
เห็นต้นนี่แหละ
มะอึกยักษ์ ผลโตจริง ๆ
ส้มโอจ้ะ
มุมนี้เลี้ยงเป็ดพันธุ์ไข่
มุมนี้เลี้ยงปลาดุก กับ ปลาหมอไทย
ทุกคนเดินชมอย่างสนใจ สำหรับคุณมะเดื่อ ได้แนวคิดอะไรหลาย ๆ
อย่างกับที่นี่ ที่จะกลับไปเริ่มต้นที่ ศพด.วัดอู่ตะเภา ในโอกาส ต่อไป
ก่อนลาจาก ก็ถ่ายภาพร่วมกันไว้เพื่อความทรงจำ
ต่อจากนั้้น ลุงวอก็นำทีมพวกเรามายัง ศูนย์ศิลปหัตกรรมบางแก้ว
ซึ่งเป็นสถานที่ที่รวมงานฝีมือการแกะสลักหนังวัว
ซึ่งแต่เดิมคงเน้นการแกะสลักเป็นตัวหนังตะลุง ซึ่งเป็นศิลปะของ
ภาคใต้ แต่ปัจจุบันได้พัฒนาไปตามความนิยมของยุคสมัย หลายแบบ
ที่นี่มีการสาธิตการแกะสลัก และรับแกะสลักตามความต้องการของ
ลูกค้าที่สั่งให้ทำด้วย ราคาไม่แพงนัก
คุณมะเดื่อซื้อพวงกุญแจน่ารัก ๆ สำหรับเป็นของฝากมาด้วย 1 โหล
ออกจากที่นี่ ลุงวอพาพวกเราไปเยี่ยมเยียนคนสำคัญสำหรับพวกเรา
ชาวโกทูโนท่านหนึ่ง
คุณพ่อเขียน หรือ "เครื่องหมาย ? คำถามเดี่ยว " บล็อกเกอร์ผู้
เปรีื่องปราดเรื่องหนังตะลุงนั่นเอง คุณพ่อเขียนคุ้นเคยกับลุงวอเป็น
อย่างดี แต่ไม่รู้จักคุณมะเดื่อกับครูหยิน แต่พอเราแนะนำตัว คุณพ่อ
เขียนก็คงดีใจระคนปนแปลกใจคาดไม่ถึงว่าจะพบพวกเรา...คุณมะเดื่อ
ก็ดีใจมาก ๆ ที่ได้พบกับคุณพ่อเขียน...คุณพ่อคนดีของน้องอรคนงาม
เรามีเวลาทักทายกันเพียงน้อยนิด เพราะมีเวลาจำกัด...จึงลากันก่อน
โดยหวังว่า สักวันคงได้พบกันอีก
จากนั้น...ลุงวอพาพวกเราไปแวะ " วัดเขียนบางแก้ว" ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่
ที่สุดของพัทลุง...ซึ่งคุณมะเดื่อจะเขียนต่อในบันทึกต่อไปนะจ๊ะ..เป็น
บันทึกส่งท้ายก่อนอำลาเมืองใต้จ้ะ
...ชอบร้านค้ารับซื้องานหัตถกรรมของชาวบ้าน และนักเรียนมากๆค่ะ ...เป็นร้านค้าในอุดมคติ ที่เคยคิดไว้นานแล้วว่าแต่ละโรงเรียนน่าจะมีร้านจำหน่ายงานหัตถกรรมของชุมชน และนักเรียน ...
มีความสุขครับ
เศรษฐกิจพอเพียว พึ่งตนเองได้
มีผลิตภัณฑ์ภายในชุมชน ส่งออกไปขาย..มีรายได้เลี้ยงตนเอง
มีผู้นำชุมชนดี ก็ชาวบ้านมีความสุขคับ
-สวัสดีครับ
-มีความรู้ทุกกิจกรรมเลยนะครับครู
-น่าสนใจมากๆ ครับ
-ชอบใจรังนกสด ๆ
-อยากลองชิมของแพง..อิๆ
-ท่านวอญ่า..ดูแข็งแรงดีนะครับ..
-ขอบคุณครับ..
หวัดดีจ้ะท่าน ดร.พจนา เป็นแนวคิดของคุณมะเดื่อที่คิดไว้แล้วเช่นกันจ้ะ ขอบคุณจ้ะ
สวัสดีจ้ะคุณยง ถ้าทุกครัวเรือนนำแนวคิดความพอเพียงนี้ไปใช้ ... เชื่อว่าเมืองไทยอยู่รอด คนไทย happy แน่ ๆ จ้ะ ขอบคุณนะจ๊ะ
หวัดดีจ้ะคุณพิชัย ใช่จ้ะ โดยเฉพาะแนวคิดในการใช้ชีวิตอย่างพอเพียงที่อยู่ได้ในยุคสมัยนี้ ขอบคุณที่มาทักทายจ้ะ
หวัดดีจ้ะคุณเพชร ลุงวอ แข็งแรง อารมณ์ดีมาก ๆ 4 - 6 เมษา พบกับลุงวอแน่ ๆ ที่บ้านคุณมะเดื่อจ้ะ
หวัดดีคุณชนะ เป็นการท่องเที่ยวที่มากด้วยคุณค่า สาระ และประโยชน์จริง ๆ จ้ะ ขอบคุณสำหรับกำลังใจ
ได้ไปหลายที่มาก
ผักที่พี่บอก คือยอดหมุยครับ
ไม่ใช่สมุย
555
ดีจ้ะน้องอาจารย์ขจิต ยอดหมุย...คล้าย ๆ สมุย คุณมะเดื่อเลยจำผิดอ่ะ อิ อิ ขอบคุณจ้ะ
อ่านเรื่องเล่าเหมือนได้มาด้วย ทำให้คิดถึงชีวิตเรียบง่าย พอเพียง ที่คนกรุงไม่รู้จัก
ผักหมุยนี่เด็กๆ พี่ชอบกินกับขนมจีนน้ำยาปักษ์ใต้ แต่ตอนนี้ลืมกลิ่นลืมรสไปแล้ว พรรณนาหน่อยสิน้องครู