๔๓๕. ปัญหาในการทำงานที่ได้ปฏิบัติ...


ปัญหาในการทำงานที่ได้ปฏิบัติ...

      จากที่ภาครัฐกระจายอำนาจมาสู่ส่วนราชการ โดยให้มหาวิทยาลัยบริหารจัดการเองนั้น ทำให้การดำเนินการต่าง ๆ คล่องตัวมากขึ้น...แต่ปัญหาที่เกิด นั่นคือ การเข้าใจในหลักการต่าง ๆ จากผู้บริหารกับผู้ปฏิบัติไม่ค่อยเข้าใจตรงกัน เนื่องจากผู้บริหารมหาวิทยาลัยมาจากสายวิชาการ ความเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏ ความพร้อมในด้านต่าง ๆ เช่น ความพร้อมในด้านการรับรู้ข้อมูล ความเข้าใจในระเบียบต่าง ๆ การสื่อสารในเรื่องระเบียบ จะมีปัญหา...

       เพราะต้องเกิดการเรียนรู้ร่วมกันกับฝ่ายปฏิบัติ เพราะฝ่ายปฏิบัติจะต้องอิงระเบียบของทางราชการเป็นหลัก และกฎหมายต่าง ๆ เกิดการหลากหลายเพราะมีบุคลากรที่ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยหลายประเภท เช่น ข้าราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ เจ้าหน้าที่ประจำตามสัญญาและอาจารย์ประจำตามสัญญา ซึ่ง ๒ ประเภทหลังจ้างด้วยเงินรายได้ของมหาวิทยาลัย...

       เหตุเพราะภาครัฐต้องการลดอัตรากำลังของข้าราชการให้ลดลง...แต่ให้อัตรากำลังโดยจ่ายเป็นเงินอุดหนุนมาแทนก้อนหนึ่งและให้มหาวิทยาลัยบริหารจัดการเองในเรื่องอัตรากำลัง เรียกว่าให้จำนวนอัตราพร้อมด้วยเงินอุดหนุนมาจำนวนหนึ่ง เพื่อทดแทนอัตรากำลังของข้าราชการซึ่งจะต้องหมดไปในไม่ช้านี้...และให้มหาวิทยาลัยมาจัดสรรอัตราพร้อมด้วยการจ่ายค่าจ้างตามอำนาจของสภามหาวิทยาลัยในแต่ละแห่งจะจ่ายไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับความพร้อมของแต่ละมหาวิทยาลัย...

       จึงทำให้เห็นว่าบางมหาวิทยาลัยจ่ายได้มาก บางมหาวิทยาลัยก็จ่ายได้น้อยกว่า เป็นเพราะความพร้อมของแต่ละมหาวิทยาลัยไม่เหมือนกัน รวมถึงการจัดสรรงบประมาณจากสำนักงบประมาณในแต่ละปีด้วยว่าได้รับจัดสรรมาในอัตราที่ไม่เท่ากัน จึงทำให้ก่อเกิดปัญหาในการจัดสรรงบประมาณ...รวมทั้งการจัดสรรงบประมาณของพนักงานมหาวิทยาลัยอยู่ในอัตรา ๑.๕ สำหรับสายสนับสนุนวิชาการ และอัตรา ๑.๗ สำหรับสายวิชาการ โดยอาจหัก ๐.๒ ออกจาก ๑.๕ หรือ ๑.๗ ก็ได้ เป็นอำนาจของมหาวิทยาลัยที่จะบริหารจัดการกันเอง...บางมหาวิทยาลัยก็หัก ๐.๒ บางมหาวิทยาลัยก็ไม่หัก บางมหาวิทยาลัยก็นำเงินรายได้มาสมทบ...แต่บางมหาวิทยาลัยก็ไม่นำเงินรายได้เข้ามาสมทบ

       เป็นสาเหตุให้ ณ ปัจจุบันแต่ละมหาวิทยาลัยจึงต้องมีการแข่งขันกันเอง สำหรับมหาวิทยาลัยเดิมไม่ต้องกล่าวถึง ความพร้อมต่าง ๆ มีมากกว่า แต่สำหรับ มรภ. ปัญหาที่เกิดมีมากมาย...แต่ทั้งผู้บริหารและผู้ปฏิบัติก็ต้องร่วมกันแก้ไขเพื่อให้มหาวิทยาลัยเดินหน้าต่อไปได้...นี่คือ ปัญหาในระดับผู้บริหารจะทราบรวมถึงผู้ปฏิบัติได้ทราบถึงสาเหตุความเป็นมาว่า ทำไม? ระบบพนักงานมหาวิทยาลัยในแต่ละมหาวิทยาลัยจึงแตกต่างกัน

 

ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้เกียรติเข้ามาอ่านบันทึกนี้ค่ะ

บุษยมาศ  แสงเงิน

๒๗ มีนาคม ๒๕๕๗

 

 

หมายเลขบันทึก: 564811เขียนเมื่อ 27 มีนาคม 2014 20:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 มีนาคม 2014 20:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบพระคุณครับ

จากมุมมองของคนนอกด้วยความเคารพนะครับ ผมเห็นว่าปัญหาที่สถาบันการศึกษาต่างๆมีการแข่งขันกันมากในปัจจุบันนี้เป็นไปเพื่อผลกำไรสูงสุด เน้นการให้วิชาการมากกว่าการสร้างจิตสำนึกและการสอนให้คิดเองเป็น เน้นการติวเพื่อให้สอบผ่านมากกว่าการเข้าใจ ซึ่งแตกต่างจากการเรียนการสอนในอดีตที่ผ่านมา

ผลก็คือ นักศึกษาบางคนที่จบออกมาทำงานจึงคิดไม่เป็นและไม่พยายามคิดแก้ไขเมื่อพบปัญหา ครูอาจารย์ก็มัวมุ่งแต่สอนพิเศษ ส่วนสถาบันฯก็มุ่งแต่เน้นผลกำไร ทำให้เกิดปัญหาเรื่องทรัพยากรมนุษย์และค่านิยมในสังคมปัจจุบันครับ

ผมชอบคำสอนของพระอาจารย์ชยสาโร..ยากที่สุดคือฟังเป็น...สาธุ ๆ ๆ

ทุกวันนี้้...สังคมไทยขาดเรื่องนี้มากๆๆค่ะ ... "เอาใจเขา==>มาใส่ใจเรา"


ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณทุกท่านค่ะ และขอขอบคุณสำหรับดอกไม้กำลังใจจากทุก ๆ ท่านด้วยค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท