เผยแพร่ผลงาน


ชื่องานวิจัย ผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ รายวิชา วิทยาศาสตร์ 5 รหัสวิชา ว23101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนปางศิลาทองศึกษา อำเภอปางศิลาทอง จังหวัดกำแพงเพชร

ชื่อผู้วิจัย นางสุภาพร เอี๋ยวศิริ

ปีการศึกษา 2556

บทคัดย่อ

ผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ รายวิชา วิทยาศาสตร์ 5 รหัสวิชา ว23101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่โดยเทียบกับเกณฑ์ 80/80 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วย ชุดกิจกรรมการเรียนรู้และ (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ กลุ่มประชากรนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนปางศิลาทองศึกษา จำนวน 5 ห้องเรียน นักเรียนจำนวน 181 คน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 46 คน ที่ได้จากวิธีการเลือกแบบเจาะจง ใช้แผนการวิจัยแบบมีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน (The One–Group Pretest Posttest Design) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบด้วย ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 7 ชุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน จำนวน 30 ข้อ ซึ่งมีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.31 – 0.56 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.37 - 0.57 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 ตามแบบของคูเดอร์ ริชาร์ดสัน โดยใช้สูตร KR-20 และแบบสอบถาม ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียน โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.81 การวิเคราะห์ข้อมูลหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรม การเรียนรู้เทียบกับเกณฑ์ 80/80 เปรียบเทียบความแตกต่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้การทดสอบ T-test แบบ Dependent ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ หาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

1.ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ มีประสิทธิภาพ (E 1/E2) เท่ากับ 85.65/83.49 มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 80/80

2.คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01

3.ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.21 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.76

การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่

ติดต่อเจ้าของผลงาน [email protected]

หมายเลขบันทึก: 560664เขียนเมื่อ 31 มกราคม 2014 14:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2014 15:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท