ดอกไม้ & แจกัน (สังขาร) ...ทุกข์


๑ “ไตรลักษณ์” มีพุธพจน์แสดงหลักไว้ในรูปของกฎธรรมชาติ ว่าดังนี้

             “ตถาคต (พระพุทธเจ้า) ทั้งหลายจะอุบัติหรือไม่ก็ตาม ธาตุ (หลัก) นั้นก็ยังคงมีอยู่ เป็นธรรมฐิติ เป็นธรรมนิยามว่า

                           ๑. สังขารทั้งปวง       ไม่เที่ยง.....

                           ๒. สังขารทั้งปวง       เป็นทุกข์.....

                           ๓. ธรรมทั้งปวง        เป็นอนัตตา.....

      

            ตถาคตตรัสรู้ เข้าถึงหลักนั้นแล้ว จึงบอก แสดง วางเป็นแบบ ตั้งเป็นหลัก เปิดเผยแจกแจง ทำให้เข้าใจง่ายว่า “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง..... สังขารทั้งปวง เป็นทุกข์..... ธรรมทั้งปวง เป็นอนัตตา.....”

........................................................................................................................................

            ทุกขตา (Stress and Conflict) ความเป็นทุกข์ ภาวะที่ถูกบีบคั้นด้วยการเกิดขึ้นและสลายตัว ภาวะที่กดดัน ฝืนและขัดแย้งอยู่ในตัว เพราะปัจจัยที่ปรุงแต่งให้มีสภาพเป็นอย่างนั้นเปลี่ยนแปลงไปจะทำให้คงอยู่ในสภาพนั้นไม่ได้ ภาวะที่ไม่สมบูรณ์มีความบกพร่องอยู่ในตัว ไม่ให้ความสมอยากแท้จริง หรือความพึงใจเต็มที่แก่ผู้อยากด้วยตัณหา และก่อให้เกิดทุกข์แก่ผู้เข้าไปอยากเข้าไปยึดด้วยตัณหาอุปทาน

            ถ้าสังเกตที่คำว่า ‘สังขาร’ ท่านพระพรหมคุณาภรณ์ ได้แยกและเปรียบเทียบให้เห็นดังนี้

             ๑. สังขาร ในขันธ์ ๕ ( รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)  ซึ่งเป็นข้อที่ ๔ ในขันธ์ ๕ นั้น หมายถึง สภาวะที่ปรุงแต่งจิต ให้ดี ให้ชั่ว ให้เป็นกลาง ได้แก่ คุณสมบัติต่าง ๆ ของจิต ที่มีเจตนาเป็นตัวนำ ที่ปรุงแปรการตริตรึกนึกคิดในใจ และการแสดงออกทางกาย วาจา ให้เป็นไปต่าง ๆ เป็นตัวการของทำกรรม เรียกง่าย ๆ ว่า เครื่องปรุงของจิต เช่น ศรัทธา สติ หิริ โอตตัปปะ เมตตา กรุณา ปัญญา โมหะ โลภะ โทสะ เป็นต้น (คัมภีร์อภิธรรมจำแนกไว้ ๕๐ อย่าง เรียกว่า เจตสิก ๕๐ ในจำนวนทั้ง ๕๒) ซึ่งทั้งหมดนั้นล้วนเป็นนามธรรม มีอยู่ในใจทั้งสิ้น นอกเหนือจาก เวทนา สัญญา และวิญญาณ

             ๒. สังขาร ในไตรลักษ์  (สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา)  ที่กล่าวถึงในไตรลักษณ์ หมายถึง สภาวะที่ถูกปรุงแต่ง คือ สภาวะที่เกิดจากเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้นทุกอย่าง ประดามี ไม่ว่าจะเป็นรูปธรรมหรือนามธรรมก็ตาม เป็นด้านร่างการหรือจิตใจก็ตามมีชีวิตหรือไร้ชีวิตก็ตาม อยู่ในจิตใจหรือเป็นวัตถุภายนอกก็ตาม เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  สังขตธรรม  คือทุกสิ่งทุกอย่าง เว้นแต่นิพพาน

         จะเห็นได้ว่า ‘สังขาร’ ในขันธ์ ๕ มีความหมายแคบกว่า ‘สังขาร’ ในไตรลักษณ์ หรือเป็นส่วนหนึ่งของสังขารในไตรลักษณ์นั่นเอง...

        

        เนื้อหาที่นำมา เอาเฉพาะส่วนที่สำคัญที่เกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกับประเด็นดังกล่าวเท่านั้น...แต่รายละเอียดทั้งหมดในเรื่องดังกล่าวจะอยู่ใน ตอนที่ ๒ ชีวิตเป็ยอย่างไร? บทที่ ๓ ไตรลักษณ์ : ลักษณะโดยธรรมชาติ ๓ อย่างของสิ่งทั้งปวง หน้า ๖๘ – ๗๘/๑๕.

    

       จากสังขารในไตรลักษณ์  ท่านกล่าวว่า เป็น สภาวะที่ถูกปรุงแต่ง หรือ สภาวะที่เกิดจากเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้นทุกอย่าง

          -  หากพิจารณากรณี ‘ดอกไม้’ ในที่นี้ก็จะได้ว่า ดอกไม้ คือ สังขาร เพราะ ดอกไม้เป็นสภาวะที่ถูกปรุงแต่งขึ้นจากเหตุปัจจัย คือ ต้นไม้ และ ต้นไม้ ก็เป็นสภาวะที่ถูกปรุงแต่งขึ้นจากเหตุปัจจัย เช่น ดิน  ปุ๋ย  น้ำ เป็นต้น

          -  หากพิจารณากรณี ‘แจกัน' ในที่นี้ก็จะได้ว่า แจกัน คือ ‘สังขาร’ เพราะ แจกันเป็นสภาวะที่ถูกปรุงแต่งจากกระบวนการผลิตที่มีองค์ประกอบต่าง ๆ ... นั่นเอง

         ดังนั้น เมื่อทั้งสองอย่างเป็น ‘สังขาร’ ในไตรลักษณ์ ก็กล่าวได้ว่า   ดอกไม้และแจกัน เป็น ทุกข์ นั่นเอง

       

         ยิ่งจะชัดเจนยิ่งขึ้น เมื่อนำเอา สิ่งเหล่านั้น (ดอกไม้หรือแจกัน) ไปจับกับความหมายของ ทุกข์ คือ ดอกไม้และแจกันย่อมมีปัจจัยที่ปรุงแต่งขึ้นให้มีสภาพเป็นอย่างนั้นเปลี่ยนแปลงไป จะทำให้คงอยู่ในสภาพนั้นไม่ได้  คือ ดอกไม้ก็เหี่ยวเฉาและแจกันก็เก่าหรือแตกสลายไป...

         หรืออาจจะสรุปให้เข้าง่าย ๆ ได้ว่า : สิ่งไหนก็ตาม (รูปธรรม / นามธรรม มีชีวิตหรือไม่มีชีวิต) ที่เกิดจากเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้นทุกอย่าง...แล้วเกิดขึ้นแล้วสลายตัว เปลี่ยนแปลงไป คงอยู่ในสภาพนั้น (เดิม) ไม่ได้...สิ่งแหล่านั้น...เป็นทุกข์ นั่นเอง.

  

****************************************************************

พระพรหมคุณาภรณ์. พุทธธรรม (ฉบับปรับปรุงขยายความ).

 

เครดิตภาพ : http://www.seangthongflorist.com/catalog/p_74563.jpg

เครดิตภาพ : http://www.hort39.com/new-poem/index.php?topic=482.0

 

หมายเลขบันทึก: 554498เขียนเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2013 09:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2013 10:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

แวะมาซึมซับ..แจกันและดอกไม้ของอาจารย์ นะครับ

แจกันและดอกไม้ อ่านแล้ว .... ได้ข้อคิด ปรัชญา นะคะ ขอบคุณ ขอบคุณค่ะ

อธิบายง่าย

เห็นภาพเลยครับ

๑. สังขารทั้งปวง ไม่เที่ยง.....

๒. สังขารทั้งปวง เป็นทุกข์.....

๓. ธรรมทั้งปวง เป็นอนัตตา....

ขอบคุณครับ

-สวัสดีครับ...

-ตามมารับสิ่งดีๆ

-ขอบคุณครับ


ท้าย ๆ พอยกเป็นตัวอย่างดอกไม้ แจกัน เข้าใจง่ายขึ้นมาก ขอบคุณมากค่ะ

สวัสดีค่ะ

สาธุอนุโมทามิ นะคะ

ขอบคุณมากครับ : สำหรับดอกไม้ที่ให้กำลังใจ...และความคิดเห็นจากทุก ๆ ท่าน

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท