มะพร้าวอินเดียใต้


อินเดียใต้เป็นแหล่งปลูกมะพร้าวที่มีชื่อเสียงของอินเดียและของโลก เมืองตามชายฝั่งทะเลอาหรับและอ่าวเบงกอลเป็นถิ่นมะพร้าวที่มีมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะที่รัฐเกรละ (Kerala) และรัฐทมิฬนาฑู (Tamil Nadu)

 

 

อินเดียส่งออกมะพร้าวและผลิตภัณฑ์จากมะพร้าวเป็นอันดับต้นๆของโลก

อินเดียสามารถผลิตมะพร้าวได้ปีละ 6 พันล้านลูก (โดยเฉลี่ย) เคยส่งออกให้กับตลาดอเมริกา มูลค่า 400 ล้าน USD

แหล่งปลูกมะพร้าวหลักของอินเดีย คือ รัฐเกรละ ซึ่งพื้นที่ 42% ของรัฐเป็นส่วนมะพร้าว และมะพร้าวในอินเดียมาจากรัฐเกรละ 37%  

  

ข้อมูลในอดีต มีดังนี้

   

ค.ศ.2009 ระบุว่า ทั่วโลกผลิตมะพร้าว 61.7 ล้านตัน จาก 92 ประเทศ (รวมประเทศไทย)

อันดับที่ 1 อินโดนีเซีย = 21.5 ล้านตัน (34.9%)

อันดับที่ 2 ฟิลิปปินส์ = 15.6 ล้านตัน (25.4%)

อันดับที่ 3 อินเดีย = 10.1 ล้านตัน (16.4%)

 

    ผลิตภัณฑ์รวมจากมะพร้าวของรัฐเกรละ มีมูลค่า 5,564-6,001 ล้าน UDS ในช่วง ค.ศ.2005-2008

 

 

แผนที่-อินเดียใต้ สีเขียว = รัฐเกรละ , สีส้ม = รัฐทมิฬนาฑู

 

รัฐเกรละนั้น มะพร้าวเป็นผลไม้ประจำรัฐ ชื่อของรัฐในทฤษฎีหนึ่งเชื่อว่า Kerala หรือ Keralam มาจาก 2 คำ คือ kera + alam คำว่า kera = ต้นมะพร้าว ส่วนคำว่า alam = ดินแดนแห่ง ดังนั้น Keralam = ดินแดนแห่งมะพร้าว (land of coconuts)

มะพร้าวและผลิตภัณฑ์จากมะพร้าวส่วนใหญ่ของอินเดียมาจากรัฐเกรละ

อันที่จริงแล้ว รัฐเกรละมีชื่อเสียงในหลายด้าน ทั้งตลาดเครื่องเทศ มะพร้าว แหล่งท่องเที่ยว 

ในอดีต รัฐเกรละคือจุดเปลี่ยนอนาคตของยุโรปในต้นคริสตศวรรษที่ 15 จากการที่นักเดินทางชาวโปรตุเกส คือ วาสโก ดา กามา (Vasco da Gama) แล่นเรือตามหาเครื่องเทศ โดยได้ขึ้นฝั่งที่รัฐเกรละและติดต่อทางการค้า ซื้อเครื่องเทศต่างๆ โดยเฉพาะพริกไทย 

 

มะพร้าวอยู่ในวิถีชีวิตของชาวอินเดียใต้ ทั้งสิ่งปลูกสร้าง ข้าวของเครื่องใช้ อาหารและขนม ประเพณีพิธีกรรม

 

ในครัวเรือนชาวอินเดียใต้จะสามารถสร้างรายได้จากสวนมะพร้าวในหลายทาง ท้องถิ่นนิยมสานทางมะพร้าว เพื่อนำใช้ในงานต่างๆ โดยไม่เน้นการใช้พลาสติก เป็นผลดีต่ออุตสาหกรรมในครัวเรือน การเกษตร และสิ่งแวดล้อม รัฐเกรละจึงได้ชื่อว่าเป็นรัฐที่สะอาดมากแห่งหนึ่งของอินเเดีย

 

ชุมชนในรัฐเกรละ ค.ศ.1921 

 (ภาพจาก Old Indian Photos)

 

ภาพในปัจจุบัน

 

 

 

การขึ้นมะพร้าวในปัจจุบันเป็นเรื่องง่ายๆ ปัจจุบันทั้งบุรุษและสตรีขึ้นมะพร้าวกันเป็นเรื่องธรรมดา คงจะเป็นเพราะว่าทุกคนต่างต้องหารายได้กันทั้งนั้น 

 

ชาวสวนในอดีตกับการปืนต้นมะพร้าวในปัจจุบัน (แบบดั้งเดิม)

(ภาพจาก Old Indian Photos)

   

(ภาพจาก The Hindu Business)


 

  

 

ส่วนสตรีก็มีอุปกรณ์เสริม ทำให้ขึ้นต้นมะพร้าวได้อย่างสบายๆ

ซึ่งมีการอบรมการใช้อุปกรณ์ขึ้นต้นมะพร้าว จากหน่วยงานของรัฐและเอกชน

 

 India innovates : coconut climber
    

 

 

อาหารและขนมที่ทำมาจากมะพร้าว แบบอินเดียใต้

 

  

รัฐบาลท้องถิ่นของรัฐเกรละมีนโยบายส่งเสริมการบริโภคมะพร้าวอย่างจริงจังเพื่อส่งเสริมรายได้ของชาวสวน โดยน้ำตาลมะพร้าวและน้ำมะพร้าว เรียกว่า นีรา (Neera) ที่บริสุทธิ์และปราศจากแอลกอฮอล์ เป็นเครื่องดื่มของทางราชการประจำรัฐ

 

มะพร้าวในพิธีกรรมของศาสนาฮินดู เช่น ในการบูชาพระลักษมี (Varalakshmi Vratham)
 

 

 

ผลิตภัณฑ์จากมะพร้าว นำมาเชือกและใยมะพร้าว

 

 

หมายเหตุ : ได้นำภาพพมาจากเว็บไซต์ต่างๆ

หมายเลขบันทึก: 552877เขียนเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2013 12:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2013 10:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

-สวัสดีครับ..

-ชอบใจ"ผู้หญิงปีนต้นมะพร้าว"ครับ

-บ้านเราหากผูหญิงขึ้นต้นไม้ผล จะทำให้"ผลไม้แตก"ได้น่ะครับ(ความเชื่อส่วนบุคคล)55

-ขอบคุณสำหรับข้อมูลจากต่างแดนครับ..

น่าสนใจมาก

โดยเฉพาะที่ใช้ขึ้นมะพร้าว

นอกจากมะพร้าวที่เราเห็นภายนอกแล้ว.. มันยังมีปรัชญาคำสอนไว้แก่เราด้วย น่ามหัศจรรย์จริง....

ขอบคุณภาพประกอบที่ลงครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท