ที่นี่กำลังขาดแคลนครูแนะแนว


        ขณะที่ครูนกกำลังนั่งเตรียมเอกสารกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ที่ต้องนำมาใช้ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 ทีมน้องที่จัดตารางสอนกำลังว้าวุ่นใจกับการจัดตารางเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนของเด็กและการจัดการสอนของครู ซึ่งน้องได้บอกว่าครูแนะแนวระดับ ม.5 หนึ่งคนจะต้องสอนนักเรียนครั้งละ 2 ห้อง เพราะข้อจำกัดของจำนวนบุคลากรซึ่งตอนนี้มีครูแนะแนวเพียง 3 ท่าน นักเรียนมีจำนวน 6 ระดับๆ ระดับม.ต้นมีจำนวน 16 ห้องต่อระดับ (ยกเว้น ม.3 มีเพียง 12 ห้อง) และระดับม.ปลายมีจำนวน 10 ห้องต่อระดับ


                                               "ครูแนะแนวท่านล่าสุดที่เกษียณอายุราชการ"


       จากประสบการณ์ที่โรงเรียนเราเคยมีครูแนะแนวจำนวน 6 คนรับผิดชอบคนละระดับ ผลปรากฏคือ
-  การแนะแนวนักเรียนเข้าูสู่เส้นทางที่ถนัดทำได้ดีและครอบคลุม
-  การแนะแนวการเลือกวิชาเลือก วิชาแนะแนวให้ข้อมูลกับนักเรียนได้อย่างชัดเจน และสัมพันธ์กับแนวทางการศึกษาต่อของเด็กๆ
-  การแนะแนวกับงานทะเบียน ทำให้นักเรียนได้ตรวจสถานะของตนเองว่า เรียนวิชาพื้นฐานกี่หน่วยการเรียน วิชาเพิ่มเติมกี่หน่วยการเรียน และปัญหาผลการเรียน "O" "ร" "มส" หรือ "มผ." วิชาแนะแนวสามารถจัดการ ดูแลและเยียวยาอาการได้อย่างเหมาะสม
        ปัจจุบันนี้ด้วยข้อจำกัดของจำนวนบุคลากรทำให้ภาระหน้าที่ต้องกระชับ  ผลที่่ส่งตรงคือ  จำนวนนักเรียนที่มากขึ้น แต่จำนวนผู้แนะแนวน้อยลง ทำให้ข้อมูลคุณภาพต่างๆ ที่จะพัฒนาตนเองของนักเรียนได้รับน้อยลง หรือได้รับในวงจำกัด
        แนวทางการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นปัจจุบันคือ นักศึกษาฝึกประสบการณ์  แต่ด้วยชื่อที่บ่งบอกว่าเป็นนักศึกษาฝึกประสบการณ์ทำให้การดำเนินให้มีประสิทธิภาพเท่ากับครูมืออาชีพต้องอาศัยเวลา และใจรักที่จะเป็นครูแนะแนวเนื่องด้วยครูแนะแนวต้องเป็นครูที่มีทักษะหลายด้านตั้งแต่ทักษะทางสังคม  ทักษะการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์  ทักษะการสื่อสารเชิงบวก  และทักษะชีวิต  หากครูแนะแนวเข้มแข็งคือมีสัดส่วนของจำนวนบุคลากรเหมาะสมกับขนาดของโรงเรียนจะทำให้ประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอนเกิดขึ้นอย่างแน่นอน
        ทั้งๆข่าวการศึกษาที่มีมากมายในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารกระทรวง  แต่ยังไม่มีการกล่าวถึงครูแนะแนว ความสำคัญของวิชาแนะแนว ตลอดจนการบริหารจัดการ
คลากรที่จำเป็นต่อการพัฒนาศักยภาพของนักเรียน  ครูวิทยาศาสตร์แบบครูนกก็อดวังเวงในหัวใจไม่ได้เช่นกัน
 

หมายเลขบันทึก: 551119เขียนเมื่อ 17 ตุลาคม 2013 12:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 ตุลาคม 2013 16:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

ระยะหลังๆนี้จะไม่รับครูแนะแนวที่ รร. ก็พบปัญหาครูแนะแนวไม่มีเพราะเออร์ลีออกพร้อมกัน มาแทนคนเดียวต้องเกลี่ยคาบเรียนให้ครูที่ปรึกษาค่ะ

ปัญหาของการขาดครูแนะแนวกำลังมากขึ้นเรื่อย ๆ ครับ คุณครูนก ;)...

สวัสดีค่ะ คุณครูkrutoom 
เป็นการแก้ปัญหาได้ดีระดับหนึ่งค่ะ สำหรับการใช้ครูที่ปรึกษาทำหน้าที่ครูแนะแนว  ในส่วน

บริการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นรายบุคคล บริการให้คำปรึกษา และ บริการติดตามและประเมินผล แต่ด้านบริการสนเทศและ

บริการจัดวางตัวบุคคล ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญค่ะ(ความเห็นส่วนตัวนะคะ)

ขอบคุณค่ะ อาจารย์ Wasawat Deemarn  สำหรับข้อมูลแนวโน้มในอนาคต....แสดงว่าหน่วยงานทางการศึกษาต้องพัฒนาศักยภาพครูทั่วไปให้ทำหน้าที่บริการ ๕ ด้านของครูแนะแนวได้......ใจครูนกก็อยากให้มีครูแนะแนว...แถมจะขอเพิ่มนักจิตวิทยาในโรงเรียนอีกต่างหากค่ะ

-สวัสดีครับครู

-ตามมาให้กำลังใจครับ

-ถือว่าเป็นปัญหาในทุกวงการเลยครับ

-อัตรากำลังลดลง..ภาระงานมากขึ้ัน..

-ขอบคุณครับ

ขอบคุณสำหรับกำลังใจค่ะ น้องเพชรน้ำหนึ่ง

อ่านบันทึกแล้วพี่เห็นภาพครูแนะแนวชัดขึ้น

พี่กำลังคิดว่า มีคนบางคนพยายา่มลดขนาดระบบรา่ชการเพื่อวัตถุประสงค์อะไรบางอย่าง

แต่ที่ไม่ควรควบคุมอัตรากำลังเลย คือ ครู กับ บุคลากรสาธารณสุข  เรากำลังเจอปัญหาวิกฤติขาดบุคลากรเช่นกันค่ะ

ทั้งสองงานเป็นงานเพื่อคุณภาพชีวิตประชาชน หากำไรไม่ได้ หยุดไม่ได้ ขาดไม่ได้  ปล่อยไปอยู่ในมือเอกชนก็ไม่ได้ 

...ครูแนะแนวสามารถดูแล ให้คำแนะนำและจัดให้มีบริการแนะแนวในโรงเรียนได้อย่างถูกต้องครบถ้วน แต่ไม่ได้หมายถึงว่าครูแนะแนวจะต้องเป็นผู้ให้บริการทั้งหมดนะคะ...เพราะงานต่างๆทั้ง 5 บริการที่ครอบคลุม 3 ด้าน(ด้านการศึกษา ด้านอาชีพ และด้านสังคม) เป็นงานของโรงเรียนที่ครูทุกคนทำอยู่แล้ว...เพียงแต่จัดให้เป็นระบบมีคณะทำงาน และผู้รับผิดชอบนะคะ...

 

..... ส่งกำลังใจมาช่วย นะคะ ..... ขอบคุณค่ะ 

- มาให้กำลังใจครูนก ในการทำงาน ค่ะ

- ขอสนับสนุน "แนวคิด" ของ ท่าน ดร.พจนา /// ทักษะ "การแนะแนว"  สำหรับ นักเรียน  คุณครู ทุกท่าน จะมีอยู่ในตัวอยู่แล้ว

  อาจจะต้อง ตั้งคณะทำงาน จัดระบบ วางแผนกันดีดี  ศึกษาเทคนิค กลวิธีแนะแนว ให้เหมาะสม ///... อาจจะมีงานเพิ่มขึ้น   แต่เป็นงาน ที่สร้างความภาคภูมิใจในวิชาชีพ .... ช่วยแก้ปัญหาให้เด็ก ๆ ได้  (บ้างก็ยังดี ) .... ดีกว่ารอ นโยบายจากผู้บริหาร.......

ในระดับประถม ครูทุกคนจะได้รับการออกแบบมาให้เป็นครูฉับฉ่าย

สอนได้ทุกวิชา สร้างเด็ฏให้เป็ฯคนดีคนเก่งได้โดยไม่ต้องใช้ครูเฉพาะทาง เฉพาะเอก

แต่สำหรับระดับมัธยมศึกษาแล้ว จำเป็นต้องมีครูแนะแนววิชาชีพโดยตรงเพราะไม่เพียงแต่สอน แนะ

หากยังต้องสรรหา ติดตาม และหูตากว้างในด้านกาารให้บริการทั้ง 3 ด้าน

รวมถึงความเปลี่ยนแปลงทางสังคม ค่านิยม และวัฒนธรรมไร้พรมแดน

จนก่อให้เกิดปัญหาในวัยรุ่น ปัญหายาเสพติด ปัญหาโรคร้ายแรง จนกลายเป็นปัญหาระดับประเทศ

หากไม่เร่งสร้างครูแนะแนวเห็นทีจะลำบากแน่การศึกษาไทย

อาจแก้ปัญหาได้ โดยรับครูแนะแนวที่เกษียณแล้วให้เข้ามาทำหน้าที่ครูต่ออีกสักระยะ

เป็นกำลังใจให้แก่วงการสร้าง พัฒนาและดูแลทรัพยากรมนุษย์ ค่ะคุณหมอnui 

สวัสดีค่ะ อาจารย์ ดร. พจนา แย้มนัยนา  ขอบคุณค่ะสำหรับคำแนะนำที่มีประโยชน์ ในระดับมัธยมศึกษาครูนกก็มองเห็นความจำเป็นต้องมีครูแนะแนว เพราะเด็กๆ ต้องการคำแนะนำที่ทำให้เขารู้จักตัวตน พร้อมทั้งศักยภาพของตนเองอย่างมืออาชีพเพื่อก้าวสูอุดมศึกษาได้อย่างที่ใช่เลย ว่านั่นคือตัวเขาเอง มิใช่เพราะพ่อแม่อยากให้เรียน หรือเรียนเพราะทำเงินได้มากมาย

ขอบคุณค่ะ Dr. Ple    ต้องแก้ปัญหากันไปเบื้องต้นก่อนค่ะ ตามทรัพยากรที่เอื้ออำนวยในขณะนี้

ขอบคุณค่ะ ดร.Joy   ทางโรงเรียนก็แก้ปัญหาตามปัจจัยเอื้อของโรงเรียน...แต่ประสิทธิภาพค้นพบได้เลยว่าไม่เท่ากับครูแนะแนวสายตรงค่ะ 

สวัสดีค่ะ คุณครู krutoiting  
-  ครูนกเคยเจอกับครูแนะแนวประเภทจ้างสอนจากครูที่เกษียณอายุค่ะ...ท่านน่ารักมาก คล่องแคล้วปราดเปรียว โดนใจวัยรุ่นเลยค่ะ ก็นับว่าเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่ดี แต่ผู้ที่เกษียณส่วนใหญ่จริงๆ ก็คืออยากวางมือ(แล้ว) นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท