กำเนิดเพลงโศกประจำชาติไทย


กำเนิดเพลงโศกประจำชาติไทย

              ในอดีตที่ผ่านมา เมื่อมีการเสียชีวิตของคนในหมู่บ้าน หรือในละแวกใกล้เคียง  หากว่าเป็นการตายโดยธรรมชาติ เจ้าภาพมักจะจัดให้มีการสวดศพที่บ้าน ยิ่งผู้ตายเป็นผู้สูงวัยด้วยแล้ว นอกจากจะมีการบำเพ็ญกุศลศพนานวันแล้ว ยังต้องเก็บศพไว้ที่บ้านเป็นเวลานานจึงจะจัดให้มีพิธีฌาปนกิจศพ บ้างก็ว่าเพื่อให้ลูกหลานที่อยู่ไกลๆจะได้มาพร้อมหน้าพร้อมตากัน แต่บางครั้งก็เพื่อให้มีเวลาเก็บรวบรวมเงินทองให้เพียงพอ ที่จะจัดงานให้สมเกียรติและสมแก่ฐานะของผู้ตาย
                เมื่อถึงวันเผาก็จะเคลื่อนศพจากบ้านไปทำพิธีที่วัด บ้านที่อยู่ริมน้ำก็จะเตลื่อนย้ายโดยทางเรือ แต่ถ้าอยู่ในสวนและไม่สะดวกก็จะใช้วิธีแบกหามไปวัดแทน เพราะการเดินทางในสมัยนั้นจะมีก็เพียงทางน้ำเท่านั้น แต่ที่เหมือนกันเวลาเคลื่อนศพก็คือจะมีขบวนแห่ โดยมีแตรวงนำหน้า บรรเลงเพลงช้า และมีกลองตีเป็นจังหวะนานๆครั้ง ซึ่งเมื่อได้ยินก็ทราบได้ว่าเป็นเพลงที่แสดงถึงความเศร้าโศกและอาลัยต่อการจากไปของผู้ตาย
                 บรรยากาศเช่นนี้นับวันแต่จะไม่ค่อยพบเห็น  นับตั้งแต่ความเจริญเข้ามาถึงพร้อมด้วยการคมนาคมที่สะดวกสบาย งานศพก็แค่เพียงไปร่วมไว้อาลัยต่อผู้ตาย ร่วมฟังสวดและฌาปนกิจศพเท่านั้น ไม่ต้องไปอยู่ช่วยงานกันจนหามรุ่งหามค่ำ แต่ที่เห็นว่ามีความคล้ายคลึงกันก็คือ ยังมีการบรรเลงหรือเปิดเพลงโศกในงานศพกันอยู่บ้างโดยเฉพาะในชนบท ซึ่งการใช้เพลงโศกนี้ก็มีที่มาจากราชสำนักในสมัยรัตนโกสินทร์นี่เอง
                 โดย จอมพลเรือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต  ทรงประพันธ์เพลงโศกในพระราชพิธีถวายพระเพลิง สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ  พระพันปีหลวง
      พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงฟังขณะเสด็จพระราชดำเนินตามพระบรมศพ  ได้ทรงพระราชดำรัสว่า เพลงนี้สมควรเป็นเพลงโศกจริง ต่อไปขอให้ใช้เพลงนี้เป็น  "เพลงโศกประจำชาติ" และให้ใช้นำศพตั้งแต่พระบรมศพตลอดจนถึงศพสามัญชนได้
                  จึงถือเป็นกำเนิดเพลงโศกประจำชาติไทย ยามใดที่ได้ยินหรือได้ฟังเพลงที่มีอารมณ์เพลงใกล้เคียงกับเพลงโศก  ใจมันก็รู้สึกปล่อยวางได้เหมือนกัน  รู้สึกว่าสุดท้ายแล้วก็ไม่มีใครเอาอะไรไปได้ นอกเสียจาก กรรมดี กรรมชั่ว ที่ตนเองสร้างสมไว้นั่นเอง

                                                         โดย   คนบ้านเดียวกัน


พระเมรุมาศ  พระเมรุ  และเมรุ  สมัยกรุงรัตนโกสินทร์  โดยศาสตราจารย์  น.อ สมภพ  ภิรมย์  ร.น  ราชบัณฑิต
หนังสือที่ระลึกเฉลิมพระเกียติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในโอกาสที่วันพระราชสมภพครบ  ๑๕๐ ปี  พุทธศักราช  ๒๕๔๖ โดย กองทัพเรือ

หมายเลขบันทึก: 55068เขียนเมื่อ 18 ตุลาคม 2006 20:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท