workshop การให้เพื่อสังคม (ตอนจบ)


พระเจ้าอยู่หัวทรงรับสั่งว่า “รู้ไหมบ้านเมืองอยู่รอดมาได้ทุกวันนี้เพราะอะไร เพราะคนไทยเรายังให้กันอยู่ ยังช่วยเหลือกัน เวลาเกิดทุกข์ยากที่ไหน ทุกคนรวมตัวกัน ช่วยเหลือกันและกันอยู่ อันนี้เป็นสังคมที่หาได้ยากในโลก” (สุเมธ ตันติเวชกุล, 2548)

ตอนจบนี้เป็นความในใจของจ๊ะจ๋าที่ได้เรียนรู้จาก workshop นี้ ซึ่งเป็นเรืองที่มีคุณค่าเรื่องหนึ่ง คือ

  1. เป็นอีกโอกาสหนึ่งที่ได้ฝึกฝนการออกแบบกระบวนการจัดการความรู้ ซึ่งเป็นการออกแบบที่ไม่ได้ทำคนเดียว แต่ต้องการให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม   อาจจะบอกว่าเบื้องหลังการถ่ายทำ คนเบื้องหลังต้องเตรียมงานให้ดีที่สุด เพื่อผลการทำงานนี้จะได้ตรงกับเป้าหมายที่วางไว้  ด้วยการชักชวนทีมงานโครงการส่งเสริมเครือข่ายการให้เพื่อสังคม มูลนิธิกองทุนไทย   และวิทยากรอีกท่าน (พระสุเทพ สุวณโณ) ร่วมกันออกแบบกระบวนการใน 2 วันที่จะเกิดขึ้น
  2. ได้เรียนรู้และฝึกฝนไปพร้อมๆ กับผู้เข้าร่วมการประชุมในการเป็นวิทยากรนำกระบวนการ โดยจ๊ะจ๋าไม่ได้บอกกับครูนักกิจกรรมจาก 8 โรงเรียนให้รับทราบเครื่องมือการจัดการความรู้ เพียงแต่บอกว่าเป็นเทคนิคที่ทุกท่านสามารถนำไปและปรับใช้ในงานของทุกท่านได้ ซึ่งเครื่องมือที่จ๊ะจ๋าไปเผยแพร่ก็คือ  เทคนิคเรื่องเล่าเร้าพลัง (storytelling)        สุนทรียสนทนา   และ การทบทวนหลังปฏิบัติงาน (AAR-After Action Review) ผลที่เกิดขึ้น เป็นที่น่าพอใจเพราะพบว่า จากการออกแบบกระบวนการด้วยการนำเครื่องมือการจัดการความรู้ ทั้ง 3 ชิ้น (ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น) เพื่อให้ทุกคนได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้วยการเล่าผ่านความสำเร็จและความภาคภูมิใจที่ตน (ในฐานะครูผู้ปฏิบัติ) เป็นผู้ผลักดัน  คิดริเริ่มส่งเสริม ให้เกิดกิจกรรมการให้ในโรงเรียน  รวมทั้งการสะท้อนความคิดและแผนงานออกมาเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน สามารถนำไปปรับใช้และปฏิบัติได้อย่างไม่ยากเย็น
  3. นอกจากจ๊ะจ๋าจะได้ฝึกฝนตัวเองแล้ว  ทีมงานโครงการส่งเสริมเครือข่ายการให้เพื่อสังคม มูลนิธิกองทุนไทย  ยังร่วมฝึกฝนเครื่องมือ KM ด้วย ซึ่งเป็นการฝึกฝนผ่านการปฏฺบัติด้วยเครื่องมือ KM เพียงบางส่วนเท่านั้นนะคะ เพราะเครื่องมือ KM เรามีมากกว่า 3 ชิ้น (ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น) เช่น  เครื่องมือชุดธารปัญญา บล็อก  เป็นต้น  และเรายังมุ่งหวังให้ทีมงานโครงการส่งเสริมการให้ฯ สามารถถ่ายทอดกับเครือข่ายได้ โดยการพยายามออกแบบกระบวนการที่นำ KM เนียนเข้าไปในเนื้องาน และยังหวังว่าทีมงานโครงการส่งเสริมการให้ฯ นำเครื่องมือ KM ไปปรับใช้ในหน่วยงานของตนเองด้วย เพราะถ้าไม่ทำจะไม่รู้ ต้องปฏิบัติแล้วจะรู้
  4. ได้เห็นการรวมตัวกันของกลุ่มครูกิจกรรมจากโรงเรียนต่างๆ ร่วมกันทำงานเป็นเครือข่าย ด้วยความสมัครใจ และยังมีการนัดแนะทำกิจกรรรมร่วมกันระหว่าง 8 โรงเรียน   อย่างน้อยที่สุดเราได้เห็นประกายแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างชัดเจน  และท้ายที่สุดผลจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของครูกิจกรรมที่เข้าร่วม workshop นี้จะนำไปปฏิบัติแก่เด็กและเยาวชนในโรงเรียนของตน นั่นก็คือ ผลสรุปสุดท้ายที่ได้รับคือเด็กและเยาวชนไทยของเรา เพื่อให้มีจริยธรรมการให้ การแบ่งปัน การเอื้อเฟื้อ แก่เพื่อนมนุษย์ เพราะ  การให้เพื่อสังคม  คือ การทำความดีในทุกวิธี ที่เป็นประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์
  5. ยังได้เรียนรู้อีกว่า ผลของการให้คือ การลดอัตตา  เป็นต้นทุนแห่งความสุข และก่อเกิดความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น 

         ดั่งพระราชดำรัชในหลวง พระเจ้าอยู่หัวทรงรับสั่งว่า      รู้ไหมบ้านเมืองอยู่รอดมาได้ทุกวันนี้เพราะอะไร    เพราะคนไทยเรายังให้กันอยู่  ยังช่วยเหลือกัน  เวลาเกิดทุกข์ยากที่ไหน ทุกคนรวมตัวกัน  ช่วยเหลือกันและกันอยู่  อันนี้เป็นสังคมที่หาได้ยากในโลก     (สุเมธ  ตันติเวชกุล, 2548)

หมายเลขบันทึก: 55057เขียนเมื่อ 18 ตุลาคม 2006 17:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท