ดร.อุทัย อันพิมพ์
ดร. อุทัย ดร.อุทัย อันพิมพ์ อันพิมพ์

การจัดการความรู้การเพาะเห็ดแบบ วิน – วิน


การจัดการความรู้เป็นเรื่องที่เราต้องมีการแบ่งปัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ อีกทั้งต้องใส่ใจความรู้สึกของคนรอบข้าง เมื่อเราทำได้เช่นนี้เราก็จะเป็นผู้ชนะทั้งคู่

Win – Win  การสื่อความหมายให้คนอื่นเข้าใจก็ถือว่าเป็นการจัดการความรู้อีกอย่างหนึ่ง แต่สำหรับการจัดการความรู้แบบวิน วิน (Win – Win) ที่มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวันนี้ขออนุญาตต้องแปลเป็นภาษาฝรั่งที่พี่น้องเราเข้าใจกันดีคือ ชนะทั้งคู่ และที่สำคัญห้ามแปลเป็นภาษาอีสานนะครับเดี๋ยวจะปวดหัวไปกันใหญ่ เพราะว่า วิน-วิน ถ้าแปลเป็นภาษาอีสานจะหมายถึงปวดหัวเป็นสองเท่า

 

การจัดการความรู้อย่างไร  การจัดการความรู้ในองค์กรนั้นแน่นอนครับในการที่จะมาจัดการความรู้จะต้องมีคนหลายฝ่าย หรืออาจจะหลายหน่วยงาน ที่มีเป้าหมายในการที่จะแก้ไข หรือดำเนินการในเรื่องที่คล้ายคลึงกันได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยกันซึ่งอาจมีหลายระดับ ซึ่งอาจจะมีทั้งคุณอำนวย คุณกิจ และคุณประสาน ในกระบวนการขับเคลื่อนกิจกรรมเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แน่นอนครับในการที่จะทำให้เกิดการจัดการความรู้แบบสมบูรณ์ ทุกฝ่ายต้องให้ความร่วมมือซึ่งกันและกัน ต้องเปิดใจในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Shearing and Learning) อีกทั้งต้องเอาใจเขามาใส่ใจเราด้วยเช่นกัน (Care) จึงจะทำให้สัมฤทธิ์ผลที่ตั้งไว้

 การจัดการความรู้แบบ Win – Win  จากประสบการณ์การพัฒนาอาชีพการเพาะเห็ดบ้านสว่าง ตำบลสำราญ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร ของผมและทีมงานในปีที่ผ่านมาซึ่งเราทำงานแล้วได้ผลในระดับดี ซึ่งครั้งแรกเราก็ยังไม่คุ้นชินกับการจัดการความรู้ (Knowledge  Management) ครั้นหลังจากที่ผมได้มาเรียนรู้ KM. ที่ สคส. กับ ศ.นพ.วิจารณ์  พานิช อาจารย์ ดร.ประพนธ์  ผาสุขยืด และพี่ๆ น้องๆ ที่แสนจะใจดีทุกคนใน สคส. จึงทำให้ผมต้องร้อง อ๋อ ขึ้นมาทันที นั่นแหละคือการจัดการความรู้ KM. แบบลูกทุ่งของผม ถึงแม้นครั้งแรกที่เราทำก็ลองถูกลองผิดกันไปเรื่อยแต่สุดท้ายก็สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี จนกระทั่งสามารถแก้ปัญหา และพัฒนาอาชีพของตนเองได้อย่างยั่งยืน

 

Win – Win  อย่างไร  จากความสำเร็จที่เราได้ดำเนินการกับกลุ่มเพาะเห็ดบ้านสว่าง นั้นมีขั้นตอนดังนี้

 

            การเลือกพื้นที่  ในการเลือกพื้นที่นั้นครั้งแรกเราได้เข้าไปสอบถามข้อมูลกับพัฒนาชุมชนจังหวัดว่าที่ใดเขามีการเพาะเห็ดบ้าง ซึ่งเขาก็บอกมาอย่างหลากหลายมาก แล้วเราก็มาประชุมในทีมงาน จึงตัดสินใจเอากลุ่มเห็ดบ้านสว่าง เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีสมาชิกมากที่สุด

 

            การสร้างความคุ้นเคย หลังจากที่เราตกลงเลือกพื้นที่เสร็จเราก็เข้าไปหาประธานกลุ่มเพื่อทำความรู้จัก และสร้างความคุ้นเคย พร้อมได้นัดประชุมกลุ่ม เพื่อแจ้งถึงวัตถุประสงค์ของการเข้ามาของเรา (ขายแนวคิด) ว่ากลุ่มมีความสนใจหรือไม่ เพราะว่าที่เราเข้ามาทำงานพัฒนาในครั้งนี้ ที่สำคัญเราไม่มีเงินมาให้ แต่เราจะมาให้ความรู้ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรืออาจจะมีบ้างในเรื่องของวัสดุฝึกทดลองเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้น ทุกฝ่ายจึงตกลงปลงใจว่าเราจะร่วมขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาอาชีพด้วยกัน

 

            กระบวนการขับเคลื่อน KM.  ในเริ่มแรกเราใช้กระบวนการ SWOT ตามสูตรของ รศ.ดร. ณรงค์ และ รศ.ดร.นันทิยา   หุตานุวัตร เข้าไปวิเคราะห์ กลุ่ม เพื่อหาจุดแข็ง จุดอ่อน อุปสรรค(ปัญหา)  และโอกาสอย่างแท้จริง สุดท้ายเราจึงพบว่าสิ่งที่ต้องแก้ไขปัญหาหลักคือการผลิตหัวเชื้อเห็ดที่มีคุณภาพ  เนื่องจากกลุ่มไม่สามารถผลิตหัวเชื้อเองได้

             การจัดการความรู้  หลังจากที่ทราบปัญหาอย่างแท้จริงแล้วเราจึงเข้าสู่การจัดการความรู้ คือมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในการผลิตหัวเชื้อเองเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว สุดท้ายได้กสามารถผลิตหัวเชื้อเห็ดใช้เองภายในกลุ่ม อีกทั้งสามารถผลิตขายทั้งเห็ดที่เพาะเองและเห็ดป่า เช่น เห็ดเผาะ เห็ดผึ้ง ทั่วภาคอีสาน Win – Win  ทั้งคู่ จากแนวทางการทำงานของทีมเราดังที่กล่าวมา ผมจึดคิดว่าน่าจะเป็นการจัดการความรู้ด้านการพัฒนาอาชีพการเพาะเห็ด และจากผลสำเร็จดังกล่าวเราจึงถือว่า Win – Win  ทั้งนักวิจัย และกลุ่มเกษตรกร 

ขอบคุณครับ

 อุทัย   อันพิมพ์ 

18 ตุลาคม  2549

หมายเลขบันทึก: 55058เขียนเมื่อ 18 ตุลาคม 2006 17:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 เมษายน 2012 15:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
เข้าทีเหมือนกัน เพาะเห็ดแบบ วิน วิน  แต่มีอีกอย่าง วิน วิน เน็ต ถ้าเข้าไปค้นใน Google  แล้วจะพบข่าวที่ต้องทึ่ง  เมืองไทยมีอย่างนี้ด้วยรึ  จะดูให้รู้เรื่องอีกนิดต้องไปที่ www.wintv.in.th  ทีนี้รู้จักหน้า่ค่้่าตาเลย  อ้อนี่โอกาสทำธุรกิจขนาดย่อมนี่  ทราบแล้วรีบจองคิวตั้งสถานีถ่ายทอดสัญญานเสียเลย  แล้วหาสมาชิกรอบๆศูนย์สัก ๒,๐๐๐ ราย  รับเดือนละ ห้าแสนขึ้น  ขอแบบจองคิวก่อนยังไม่ต้องวางเงิน  ตรวจอนุมัติทำเลแล้ว จึงค่อยวางมัดจำ ห้าหมื่น  ไม่เอาก็ไม่ว่าคิวข้างหลังรอเพียบเลย  โทร.ที่ ๐๘ ๗๕๑๗ ๐๗๒๓
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท