มัทนา
มัทนา (พฤกษาพงษ์) เกษตระทัต

จริยศาสตร์ชีวภาพ (Bioethics) กับ วิญญาณความเป็นคน (Human Spirit)


Margaret Somerville is the founding director of the Centre for Medicine, Ethics and Law at McGill University. She has worked with the World Health Organization, the UN High Commissioner for Human Rights and UNESCO.

คืนนี้ไปฟังบรรยายสำคัญมาค่ะ เป็นบรรยายสันจรระดับชาติที่จัดขึ้นโดยสถานีวิทยุ CBC one มาตั้งแต่ปี 1962

พิธีกรเปิดรายการว่า ถ้ามีมนุษย์ต่างดาวมาเยือนโลก แล้วเค้าถามว่าคนแคนาดาเป็นยังไง มีความคิดอย่างไรบ้าง ให้ยื่นหนังสือสรุปการบรรยายชุดนี้ (ชื่อว่า Massey Lecture Series) ไปให้มนุษย์ต่างดาวเป็นอันพอ เพราะการบรรยายที่จัดๆมาได้มีการพูดคุยถึงเรื่องสำคัญๆในชีวิตคนเราหลายเรื่อง

และหัวข้อที่วิทยากร Margaret Somervilleมาพูดวันนี้คือ

The Ethical Imagination, Journeys of the Human Spirit

EM  Prof. Somerville ภาพจาก เวปไซท์CBC

(แปลไม่ถูกเหมือนกันว่าจะเขียนชื่อหนังสือ/หัวข้อบรรยายเป็นภาษาไทยว่ายังไง) 

แต่เนื้อความสำคัญคือ เมื่อเรามีเทคโนโลยีทางการแพทย์และพันธุกรรมที่สามารถทำอะไรได้หลายอย่างมากเช่น  เด็กหลอดแก้ว โคลนนิ่ง การตัดต่อพันธุกรรม เค้าพูดง่ายๆคือ ...
มื่อเทคโนโลยีทำให้ HOMO SAPIENS เป็นTECHNO SAPIENS จริยศาสตร์ชีวภาพจะยืนอยู่จุดไหน และ จะเป็นเครื่องมือช่วยการตัดสินใจอย่างไร เพื่อป้องกันไม่ให้เนื้อแท้ความเป็นมนุษย์ (the essence of being human) สูญเีสียไป

ขอเกริ่นไว้ด้วยว่า

  1. เนื่องจากไม่ทราบคำแปลหลายๆคำเลยจะขอทับศัพท์ซะส่วนมาก
  2. บันทึกนี้เป็นการเล่าเรื่องว่าไปฟังอะไรมา วิทยากรพูดอะไรบ้าง บันทึกนี้ไม่ใช่การแสดงความคิดเห็นของผู้เขียนค่ะ
  3. ส่วนที่ผู้เขียนจะวิเคราะห์และวิพากท์นั้นจะนำไปบันทึกแยกไว้วันหลังค่ะ (โปรดติดตามตอนต่อไป)
  4. วิทยากรท่านนี้เก่งมากค่ะ มีชื่อเสียงมากๆ แต่ก็ไม่ใช่ว่าทุกคนจะเห็นด้วย (อันนี้แน่นอน)
  5. เทปบันทึกการบรรยายทั้งหมดจะมีให้ฟัง online ได้ ในเดือนหน้า ถ้าสนใจให้ติดตามเช็คเวปไซท ์นี้เรื่อยๆค่ะ

---------------------------------------------------------------

วิทยากรเริ่มว่า ถ้าเราต้องการเปลี่ยนแปลงโลกนี้ให้ดีขึ้น สิ่งที่พวกเราต้องการคือ "shared ethics"

การที่คนเราที่ต่างกันจะมาร่วมกันตัดสินใจในเรื่องสำคัญๆนั้น แทนที่จะเริ่มการคุยด้วยการแจ้งมุมมองที่แตกต่าง ให้ลองหา commnality หา shared values ว่า มีอะไรไม๊ที่เห็นพ้องต้องกันบ้าง แล้วค่อยๆว่ากันต่อไป

วิทยากรเน้นเรื่อง interdependence คือ คนเราต่อเนื่องเชื่อมโยงกันหมด แล้วคนเราก็เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ไม่ได้เหนือกว่าธรรมชาติอย่างที่สังคมตะวันตกคิดๆกัน

ท่านเน้นว่า ตัวการร้ายที่สุดคือ การที่คนไม่สามารถทนต่อ "ความไม่แน่นอน" ได้ พยายามจะควบคุม (control) ไปซะหมด รวมทั้งการควบคุมธรรมชาติ 

ทีนี้ก็มาดูว่าการกระทำนั้นๆ การใช้เทคโนโลยีนั้นๆมัน "ไม่เป็นไปตามธรรมชาติ" รึเปล่า แล้วถ้ามันไม่เป็นธรรมชาติ มีเหตุผลอธิบายได้ไม๊ (justification)

(วิทยากรบรรยาอีกเยอะค่ะ แต่ขอบันทึกแต่ที่เน้นๆนะ)

ทีนี้ก็มาถึงมุมมองของ Prof. Somerville ต่อกรณีเฉพาะ

ท่าบอกว่า มี 3 เรื่องใหญ่ๆ คือ

  • เรื่อง human embryo
  • เรื่อง transmission of human life 
  • เรื่อง human Germ-cell line

นักวิทยศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องพันธุกรรมแบ่งเป็น 3 พวกใหญ่ๆ คือ

  1. มอง embryo ว่าเป็นเซลล์ๆหนึ่งเหมือนเซลล์ผิวหนัง จะสร้างมันขึ้นมาแล้วทำลายมันอย่างไรก็ได้
  2. มอง embryo ว่าเป็น "มนุษย์"ขั้นแรก เมื่อปฏิสนธิแล้ว ก็ต้องเคารพ embryo เหมือนเป็นคนๆหนึ่ง
  3. ซึ่งท่านวิทยากรเห็นด้วย คือ embryo เป็น potential human life ควรได้ัรับความเคารพ แต่ ไม่ใช่ระดับเดียวกับ คนที่เกิดมาแล้ว 

Prof. Somervilleเห็นว่า การทำลาย embryo (ทั้งในหลอดแก้วและในมดลูก)เมื่อจำเป็นก็ไม่ผิดถ้าอธิบายถึงผลกระทบต่อตัวเด็กเองได้ ี่

ส่วนเรื่องการสร้าง embryo ในห้องทดลองนั้น (IVF=In vitro fertilization) ท่านไม่เห็นด้วยที่จะสร้างขึ้นมาเป็นจำนวนมากเป็นโรงงานเพื่อทดลองเล่นๆ หรือ การสร้างคนขึ้นมาแล้วเอาแค่อวัยวะบางส่วนมาใช้นั้นท่านไม่เห็นด้วย

แต่ถ้าสร้างจากหลอดแก้วแล้วปล่อยให้embryoโตเป็นคนมีชีวิต มีผู้ปกครองก็โอเค

ที่นี่เรื่อง ผู้ปกครอง  มั่ง ... ท่านสงเสริมให้เด็กหลอดแก้วที่เกิดมาทุกคนมีสิทธิที่จะรู้ว่าตนเกิดมาจากไข่ใคร อสุจิใคร ท่านรับได้หมดถ้ารู้ว่าใครคือเจ้าของ (come from identified man and woman) จะใช้มดลูกใครก้ได้ ไม่เป็นไร (ยกเว้นมดลูกสัตว์) ดังนั้นท่านเลยต่อต้านการบริจาคอสุจิที่ไม่ยอมเอ่ยนาม

อีกข้อคือ ทางทฤษฎีนั้น เด็กหลอดแก้วสามารถเกิดมาจากผู้หญิงสองคนบวกกับผู้ชายสองคน โดยการใช้ stem cell มาทำ sperm หรือ ovum แล้วใช้ natural gamete จากเพศตรงข้าม หรือ โดยการสร้าง ovum จาก ไข่ที่ enucleate มาผสมกับ sperm หรือการใช้ไข่สองฟอง วิธีหล่านี้ทำให้คู่เกย์หรือคู่สามีภรรยาที่เป็นหมันทั้งคู่สามารถมีลูกที่มาจากชีวภาพของทั้งคู่ได้ (shared baby) ซึ้งวิธีเหล่านี้ prof. ไม่เห็นด้วย

ท่านใช้หลักการที่เน้นว่าท่านเป็น advocate ของ เด็ก นั้นเอง อะไรก็ตามที่ไม่นำไปสู่สิ่งแวดล้อมที่ดีในการเลี้ยงลูก ท่านไม่เห็นด้วย

จุดยืนนี้ของท่านที่ทำให้เป็นปัญหา วันนี้ที่หน้าหอประชุมก็มีกลุ่มประท้วงเล็กๆมาจากชุมชนสีรุ้ง

Prof. Somerville ไม่ได้ต่อต้านเกย์ แต่ท่านต่อต้านการแต่งงานอย่างถูกกฎหมายของคนเพศเดียวกัน  ท่านบอกว่าถ้าเป็น civil union ท่านสนับสนุน ให้เกย์อยู่ด้วยกันอย่างถูกกฎหมาย ได้รับ benefit จากรัฐ หรือ หักภาษีได้แบบคู่สมรสท่านโอเค แต่ท่านอ้างว่า same sex marriage (ซึ่งถูกกฎหมายในแคนาดา) นั้น มีการให้สิทธิสองส่วนคือให้อยู่ด้วยกัน และ ให้สร้างครอบครัวได้....ส่วนที่สองนี่แหละที่ท่านไม่เห็นด้วย ท่านเชื่อว่า (จากผลงานวิจัย) เด็กต้องการทั้งพ่อทั้งแม่ในการเลี้ยงดู 

แต่ต่อมาท่านก็พูดว่าท่านไม่เห็นด้วยในเรื่องที่สังคมเราจะต้องสมบูรณ์แบบ (ต้องไม่มี unwanted child, unwanted sex เลย ไม่มีคนแคระ ไม่มีเด็กพิการทางสมอง) เพราะท่านเชือว่า คนเหล่านี้ก็ bring special gift to the rest of us เราไม่ควรพยายามควบคุมทุกสิ่งจนมากเกินไป ความไม่แน่นอน (uncertainty) ไม่ใช่สิ่งที่เสียหายเสมอไป ท่านเลยไม่สนับสนุนการตัดต่อทางพันธุกรรม ยกเว้นเป็นการแก้ เป็นการรักษาโรค

ท่านบอกว่าเราควรรักษา germ-cell line ไว้ ด้วยเหตุผลคล้ายๆกับข้อข้่างบน เพราะมันเป็นผลของวิวัฒนาการ 850 ล้านปี (ตอนนี้เรามีเทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนวิวัฒนาการได้ภายในพริบตา) ท่านบอกว่า เราควรให้เด็กเกิดมา by chance not by design เพราะ "the designed person will not have a chance to be free to fully become oneself"   

ทีนี้ก็มาเข้าเรื่องโคลนนิ่งบ้าง ท่านไม่เห็นด้วย โดยใช้หลักการที่ว่า มนุษย์ทุกคนควรมีสิทธิที่จะเกิดมาจาก natural biological origins จริงๆแล้วเรื่องโคลนนิ่งนี้ท่านไม่ห่วงมากเพราะ ยิ่งนับวันการทดลองยิ่งทำให้เห็นว่ามันมีปัญหามาก มันไม่อาจเกิดขึ้นได้สมบูรณ์

แต่เรื่องที่ท่านเห็นว่าต้องพูดถึงคือการใช้ gamete จาก aborted fetus ท่านเน้นว่า gametes ต้องมาจาก adult เท่านั้น เพราะทางทฤษฏีแล้ว เด็กที่เกิดมาอาจมีแม่ที่ไม่มีโอกาสเกิดด้วยซ้ำ! (เพราะแม่คือ aborted fetus) แบบนี้ท่านรับไม่ได้ เพราะ คนเราทุกคนมีสิทธิที่จะมีพ่อและแม่และมีสิทธืที่จะรู้ว่าบรรพบุรุษเราคือใคร เราสืบทอดมาจากใครและสังคมแบบใด (Heritage) เพราะท่านเห็นว่าสิ่งเหล่านี้แหละที่ทำให้เราสร้าง identity ทำให้เราเป็นมนุษย์ ... สิ่งเหล่านี้แหละคือ human spirit

จบ(คร่าวๆ) 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 55060เขียนเมื่อ 18 ตุลาคม 2006 17:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 10:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เรื่องนี้น่าสนใจมาก ๆ

แต่ก็จะมี คน/ข้อโต้แย้งมาก ๆ(Hot issue with agree or disagree opinions)

เชียร์ให้น้องมัท..เรียบเรียง ส่ง นิตยสารบางเล่ม..สารคดี, go genius(เผื่อน้องภูได้อ่าน) ฯลฯ

นะคะ

สวัสดีครับพี่หมอมัท นำเพลง มนุษย์ต่างดาว ของ ดาจิม มาฝากครับ

ชีวจริยธรรมกับการวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์สมัยใหม่ (2544-2549)

เทคโนโลยีการแพทย์กับจริยธรรมพุทธ นี้ท่านเจ้าคุณ พระพรหมคุณาภรณ์ ได้เคยแสดงทรรศนะไว้ กวินเคยอ่านเจอในหนังสือก็หลายเล่ม ถ้าพี่หมอมัทสนใจลอง ตามอ่านงานของ พระคุณเจ้าดูนะครับยกตัวอย่างเช่น

 ปุจฉา-วิสัชนา” เทคโนโลยีการแพทย์กับจริยธรรมพุทธ เป็นสนทนาธรรมของ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต) กับกลุ่มแพทย์ จากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ณ สถานพำนักสงฆ์ศาลากลางสระ ต.คูคต อ.ลำลูกกา จ. ปทุมธานี เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2532 ซึ่งนำมาประยุกต์ใช้ในงานของสัตวแพทย์ได้ เช่น เรื่อง การผสมเทียม การุณยฆาต เป็นต้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท