"พระเอก" ของ ดุษฎีบัณฑิต


สานต่อเจตนารมณ์แห่งตน ให้สำเร็จจงได้เพื่อเป็นวิทยาทาน ต่อรุ่นน้องๆ หรือท่านผู้กำลังตามหา “แรงบันดาลใจ” ในการพัฒนาตนเอง ให้มีพละกำลังใจมากขึ้นด้านการศึกษา.....

....ได้เวลา กลับมาปัดฝุ่น บันทึกเล่มนี้ จากที่ห่างหายไปนานเกือบ 1 ปี เป็นเพราะผู้เขียน วังวนหลงทางไปไกล จนไม่น่าจะให้อภัยตนเอง .... คราวนี้ หูตาสว่างได้พบหนทางสัจธรรม....กู่กลับมาอีกครา เพื่อ สานต่อเจตนารมณ์แห่งตน ให้สำเร็จจงได้เพื่อเป็นวิทยาทาน ต่อรุ่นน้องๆ หรือท่านผู้กำลังตามหา แรงบันดาลใจ ในการพัฒนาตนเอง ให้มีพละกำลังใจมากขึ้นด้านการศึกษา.....


...รายวิชาที่จะพูดต่อจาก บันทึกครั้งที่แล้ว คือวิชา Educational Research Methodology II (วิธีวิทยาการวิจัยทางการศึกษา 2) สอนโดย รศ.ดร.ศิริเดช สุชีวะ //// จัดว่าเป็นวิชาที่เข้มข้น ถึงแก่น ลึกซึ้งทุกแง่มุม อย่างถ่องแท้ เกี่ยวกับ การวิจัย

ประกอบกับท่าน ปรมาจารย์ ผู้สอน ที่ท่านเป็นผู้มีทักษะการถ่ายทอด จากความยาก สลับซับซ้อน มาเป็น ความเข้าใจง่าย ผู้เขียน ให้ความสำคัญกับวิชานี้ และ ยกวิชานี้ ให้เป็นพระเอก แห่ง ดุษฎีบัณฑิต เลยก็ว่าได้....เพราะผู้เขียนได้ตระหนักแห่งตน ว่า เพราะวิชานี้โดยแท้ ที่ทำให้ ผู้เขียนซึ่ง โง่ เง่า เต่า ตุ่น ... ในศาสตร์ แห่งการวิจัย ... ได้ปรับเปลี่ยนตระหนักแห่งตน ว่า เมื่อเป็นดุษฎีบัณฑิต ที่มั่นใจเกี่ยวกับ ระเบียบวิธีวิจัย มากพอสมควร ด้วย การรู้ถูก รู้จริง ...แต่ยังคงต้องสะสมบ่มเพราะ ประสบการณ์ อีกมาก จึงจะมั่นใจมากขึ้น....


การเรียนการสอนวิชานี้ ท่านอาจารย์ ศิริเดช ได้จัดทำ Course Syllabus ที่ยาวที่สุดเท่า (ที่ผู้เขียนเคยได้เห็น จากรายวิชาอื่นๆ ในการเรียน ป.เอก : จำนวน 8 หน้า ) แจกให้กับนิสิต ทุกคน /// อาจารย์ผู้สอน ท่านตั้งใจ จัดทำ และจัดเตรียมข้อมูลอ้างอิง เพื่อให้นิสิต ได้ไปศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม ไว้มาก ( ในขณะที่ นิสิต ไม่ค่อยสนใจเท่าใดนัก เพราะดูว่า เยอะมาก) แต่มีประโยชน์ ล้วน ๆ....


เนื้อหาการเรียนการสอน ใน 15 ครั้ง เริ่มตั้งแต่ The Best Research Design: MAX MIN CON ที่บัณฑิตศึกษาทุกคน ต้องรู้จักเป็นอย่างดี ต่อด้วย หลักการและการออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ

... ผู้เขียนจำได้ว่า อาจารย์ ใช้เวลาในการสอน แค่ สองหัวข้อนี้ ถึง ประมาณ 4 ครั้ง เนื่องจากเป็นการสอนที่ละเอียด ลึกซึ้ง ให้ผู้เรียนได้เข้าใจอย่างถ่องแท้ ถูกต้อง ว่า หลักการและการออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ มีกระบวนการ ขั้นตอน และความเหมาะสมในการเลือกใช้ ตลอดจน ความแตกต่าง กันอย่างไร


การเรียนการสอน ท่านอาจารย์ ยังคง ให้นิสิต ไปค้นคว้าอ่านงานวิจัย อื่นๆ ของรุ่นพี่ ๆ แล้วให้สรุปมาส่ง ทุกครั้งในการเรียนครั้งต่อๆ ไป นอกจากนี้ ท่านอาจารย์ ยังคงใช้วิธี Quiz ก่อนเริ่ม Lecture ในทุก ๆ ครั้ง แล้วให้นิสิต สลับกันตรวจ โดยรอฟังการอธิบายเฉลย คำตอบจากอาจารย์ ..... วิธีนี้ ถือว่า ยังคงใช้ได้ดีกับผู้เรียนระดับบัณฑิตศึกษา ..เพราะ นิสิต ทุกคนต้องเตรียมหาข้อมูล อ่านมาล่วงหน้า ก่อนมาเรียนในแต่ละครั้ง.......


มีเรื่องน่าสนใจ ในรายวิชานี้ อีกมาก แต่เกรงจะยืดยาว เกินไป ขอไปต่อในบันทึกฉบับหน้า นะคะ...
ในค่ำคืนอันสงบเงียบ นี้...ผู้เขียน...ใช้เวลาให้คุ้มค่า ก่อนข่มตาลง.....เพื่อวันรุ่งขึ้น ตื่นมานำพา หัวใจ ให้สู้ต่อไป...

ราตรีสวัสดิ์ กัลยาณมิตรทุกท่าน
จอย ทองกล่อมสี
๓๐ กันยายน ๒๕๕๖ เวลา ๒๓.๔๐ น.

หมายเลขบันทึก: 549923เขียนเมื่อ 1 ตุลาคม 2013 09:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 ตุลาคม 2013 09:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

เป็นประโยชน์แก่ผู้เรียนวิชานี้นะครับ

ขอบคุณอาจารย์มากๆที่เขียนให้อ่าน

ผมจำได้ว่าเคยอ่านงานวิจัยของอาจารย์เรื่อง

การประเมินผลการดำเนินงานโครงการ อย. น้อย. เอกสารเสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา.

 อีกท่านน่าสนใจชื่อ ศ.ดร.ศิริชัยครับ

ขอบคุณเรื่องน่ารู้ที่นำมาแบ่งปันกันค่ะ...

-สวัสดีครับอาจารย์.

-ตามมาอ่านบันทึกกับเรื่องของ"พระเอก"ครับ..

-หากมีโอกาสคงได้ศึกษาเกี่ยวกับเรื่อง Educational Research Methodology"บ้างครับ...

-ขอบคุณครับ....

เรียนท่านอาจารย์ จีโอวาย 

ขอบคุณที่บันทึกเรื่องนี้มาแบ่งปัน ให้เรียนรู้

ขอบคุณครับ

สักวันอาจจะมีแรงบันดาลใจ...

ขอบพระคุณ อาจารย์ขจิต

ที่เห็นคุณประโยชน์ ของบันทึกนี้ค่ะ

ขอให้อาจารย์ ทำงาน อย่างมีความสุข นะคะ

ขอบพระคุณ คุณนงนาท /เช่นเดียวกัน นะคะ 

รู้สึก ยินดีอย่างยิ่ง  ที่ได้แลกเปลี่ยน เรียนรู้ ร่วมกัน ในพื้นที่แห่งกัลยาณมิตร แห่งนี้ค่ะ

สวัสดี คุณเพชร น้ำหนึ่ง

"พระเอก" เรื่องนี้   อยากให้เป็นพระเอก ของ นักวิจัย ทุกท่าน จริง ๆ ค่ะ

ขอบคุณที่ติดตาม และเห็นประโยชน์ นะครับ

สวัสดี คุณวอญ่า / เช่นเดียวกัน

- อยากจะบอก นานแล้วว่า แอบ ปลื้ม ผ้าขาวม้า ที่โพกศรีษะของท่าน เทห์ มากค่ะ...

สวัสดีด้วยความเคารพค่ะ

สวัสดี คุณพิช้ย

- ขอให้ แรงบันดาลใจ เกิด...ขึ้นได้ในทุก ๆ เรื่อง ที่เข้ามาในชีิวิต..นะคะ

- ดูแล สุขภาพ ด้วยค่ะ

ขอบคุณพี่จอย ที่เอาเรื่องดีๆมาปัดฝุ่นให้เกิดประโยชน์กับคนอ่านค่ะ

ขอบคุณค่ะที่นำความรู้มาแบ่งปัน ขอติดตามด้วยคนนะคะ

ด้วยความยินดี นะคะ  น้องกล้วยไข่ ผู้น่ารัก...

ขอขอบคุณ  คุณอร  

ที่กรุณา ให้เกียรติ เข้ามาอ่าน และติดตาม ค่ะ

การเรียนการสอน ท่านอาจารย์ ยังคง ให้นิสิต ไปค้นคว้าอ่านงานวิจัย อื่นๆ ของรุ่นพี่ ๆ แล้วให้สรุปมาส่ง ทุกครั้งในการเรียนครั้งต่อๆ ไป นอกจากนี้ ท่านอาจารย์ ยังคงใช้วิธี Quiz ก่อนเริ่ม Lecture ในทุก ๆ ครั้ง แล้วให้นิสิต สลับกันตรวจ โดยรอฟังการอธิบายเฉลย คำตอบจากอาจารย์ ..... วิธีนี้ ถือว่า ยังคงใช้ได้ดีกับผู้เรียนระดับบัณฑิตศึกษา ..เพราะ นิสิต ทุกคนต้องเตรียมหาข้อมูล อ่านมาล่วงหน้า ก่อนมาเรียนในแต่ละครั้ง.......

วิธ๊การนี้ใช้กับนักเรียนระดับมัธยมก็ได้ผลสูงค่ะหมอเปิ้ล

ขอบคุณความรู้ดี ๆ ค่ะ

อิอิ วิชานี้เห็นทีจะเหมาะกับจิตอาสามากๆค่ะในการลงพื้นที่ต้องหาข้อมูลให้พร้อมสรรพ

อีกทั้งทีหนีทีไล่หากเตรียมตัวไปไม่ตรงตามวัตุประสงค์ที่เจ้าภาพแจ้งมา  อิอิ

ขอบคุณนะคะ 

ขอบคุณมากค่ะ เป็นหลักสูตรที่น่าเรียน น่ารู้มาก 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท