(ก่อน) วิจัยไทบ้าน : พบกันครั้งแรก


 

ถือว่าเริ่มกิจกรรมได้ดีพอควร  ด้วยการประสานงานนัดหมายแกนนำชุมชนของพี่ต๋อมแต๋ม 

หัวหน้าศูนย์สุขภาพชุมชน  โรงพยาบาลสระใคร

และไปนั่งอธิบายให้ปลัดอำเภอผู้ประสานงานว่า 

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย  ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น (สกว.)  จะมาทำอะไรที่พื้นที่อำเภอสระใครของเรา

 

ผู้หลักผู้ใหญ่  ผู้ใหญ่จริง ๆ  ผู้ใหญ่บ้าน  กำนัน  ผู้ทรงคุณวุฒิของหมู่บ้าน  กรรมการหมู่บ้าน  อาสาสมัครสาธารณสุข 

จาก  ๔  หมู่บ้านรอบ ๆ โรงพยาบาล

บ้านสระใครเหนือ  บ้านสระใครใต้  บ้านไชยา  บ้านโพนหวาย  ตำบลสระใคร

ร่วมด้วย  พัฒนาการอำเภอ  สาธารณสุขอำเภอ  ผู้อำนวยการโรงพยาบาล  ปลัดอาวุโส

 

มาร่วมเปิดเวทีการเรียนรู้แบบใหม่  ทำความเข้าใจการเป็น ...... นักวิจัยไทบ้าน

^_,^ 

 

 

๓  ปีก่อน  ทีมบุคลากรสุขภาพของคณะกรรมการประสานสาธารณสุขอำเภอสระใคร (คปสอ.สระใคร)

ได้เคยทำงานร่วมกับชาวบ้าน  ๔  หมู่บ้าน  ใน  ๓  ตำบลของอำเภอสระใคร

ศึกษาชุมชนชนบทแบบมีส่วนร่วม  ค้นหาแนวโน้มศักยภาพของชุมชน 

แต่การพัฒนาสุขภาวะ  ยังไม่ได้มาจากรากฐาน  ยังไม่ได้ใช้ศักยภาพ 

ยังไม่บูรณาการทรัพยากรและวิธีการของชุมชนเอง .... เต็มที่เท่าใดนัก

 

ถึงวันนี้  ๑๑  กันยายน  ๒๕๕๖  ปรากฏการณ์ทั้ง “ดี”  และ  “ไม่ดี” 

 

อ.พิภพ  หัสสา  ผู้ประสานงาน สกว.หนองบัวลำภู  เปิดประเด็นให้พวกเราหาเรื่องวิจัย

ในมุมมองสุขภาพของชาวบ้านเอง  ๓  ด้าน  คือ  ด้านกาย  ใจ  และสังคม

 

ครั้งที่  ๑  ของการพัฒนาโจทย์วิจัยของ  ๔  ชุมชนเราเองครั้งนี้

ในโจทย์ร่มใหญ่ “การจัดการสุขภาพชุมชนชายแดน” จาก สกว.

ผู้ร่วมเสวนาระดมความคิดยังมึนงงบ้าง  ยังต้องค่อย ๆ เรียนรู้กระบวนการพูดคุย 

ร่วมและรวมความคิดที่เหมือน  โดยไม่ทิ้งความเห็นที่ต่าง

 

 

 

สิ่งชาวบ้านเห็น  รับรู้ได้  นำเสนอได้  ดังนี้

 

สุขภาพกาย  สิ่งที่ดี

          ไม่มีโรคติดต่อ  สุขภาพแข็งแรง

          มีการออกกำลังกาย  กินอาหารถูกสุขลักษณะ

          ชุมชนมีความรู้ เช่น การไม่ซื้อยาชุดกินเอง

          มีการบริโภคเกลือไอโอดีน  เพื่อไม่เป็นโรคเอ๋อ       

 

สุขภาพกาย  สิ่งที่ไม่ดี

          เจ็บป่วยเรื้อรัง  เบาหวาน  ความดัน  ปวดข้อ  ไข้เลือดออกก็ยังระบาด 

          ชุมชนยังมีการบริโภคสุก ๆ ดิบ ๆ (ก่อให้เกิดโรค)   ตายด้วยมะเร็ง

          ร่างกายทรุดโทรม (อายุมาก)

          ดื่มสุรา  สูบบุหรี่  ไม่ดีต่อสุขภาพ  เช่น เป็นสาเหตุอุบัติเหตุ

 

 

สุขภาพใจ  สิ่งที่ดี

          ชุมชนมีความสามัคคี  ช่วยเหลือกัน  งานบุญ  งานกฐิน  งานศพ

โอบอ้อมอารี  มีน้ำใจแบ่งปัน  แลกเปลี่ยนอาหาร

มีการดูแลผู้สูงอายุ  ผู้พิการ  ผู้ป่วยต่างๆ

 

สุขภาพใจ  สิ่งที่ไม่ดี

          มีการทะเลาะวิวาท  แบ่งพรรคแบ่งพวก 

วัยรุ่นรวมกลุ่มกินเหล้า  ทะเลาะวิวาทในงานบุญประเพณี

          ข้าวของแพง  รายได้ไม่เพียงพอในครอบครัว  เศรษฐกิจไม่ดี  ก่อให้เกิดความเครียด  เป็นหนี้ 

มีคนฆ่าตัวตาย

 

 

สุขภาพสังคม  สิ่งแวดล้อม  ด้านที่ดี

          บ้านเรือนสะอาดเรียบร้อย

          ขยะจัดเก็บเป็นระเบียบ

          ไร้มลพิษในหมู่บ้านชุมชน

          รวมกันทำความสะอาด  ๒  ครั้งต่อเดือน

          ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง

          ชุมชนมีความสามัคคีร่วมแรงร่วมใจ

          การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารทุกเรื่อง

 

สุขภาพสังคม  สิ่งแวดล้อม  ด้านที่ไม่ดี

          น้ำเค็ม

          น้ำขังตามถนนในหมู่บ้าน

          มีกลิ่นเหม็นของน้ำ

          ทิ้งขยะไม่เป็นที่เป็นทาง

          ไม่มีร่องระบายน้ำ

          ถนนเป็นหลุมเป็นบ่อ

          รถขนหิน  ดิน  ทำความรำคาญ

 

 

^_^

 

 

 

อ.ภาสกร  บัวศรี  จาก  สกว. Node เลย  ช่วยสรุปปรากฏการณ์ที่ตัวแทนกลุ่มนำเสนอ

ตีความด้านบวกและลบให้ชัดเจนขึ้น

เพราะบางประเด็นขัดแย้งกันเอง  เช่น  บอกว่าสามัคคี  แต่ก็ยังมีทะเลาะเบาะแว้ง

 

แล้วยังอธิบายให้ชัดขึ้นว่า   เมื่อนำข้อมูลมาใช้ประกอบงานพัฒนา  ทำให้ชุมชนดีขึ้น  ก็จะเป็นงานวิจัยได้

 

พี่ฝน  ทพญ.วรางคณา  อินทโลหิต  เล่าประสบการณ์การเป็นพี่เลี้ยงงานวิจัยไทบ้านที่หนองบัวลำภู

ประกอบกับดูวิดิทัศน์ เรื่อง ขยะเมืองบัว  อำเภอเกษตรวิสัย  จังหวัดร้อยเอ็ด  จบลง

เห็นว่าคนในชุมชนเองเป็นผู้ริเริ่มงานวิจัย 

ทีมวิจัยมีทั้งครู  นักเรียน  คนในชุมชน  พระ  อสม.  มีบุคลากรสุขภาพ  อปท.เป็นผู้สนับสนุน  เอื้ออำนวยการทำวิจัย

^_,^

   

 

พวกเราเองจึงต้องระดม “หาเรื่อง” 

 

เรื่องที่สาวไป  สาวไป  สาวไป   ค้นลึกลงไปถึงสาเหตุต้นตอที่เป็นปัญหา .... เหมาะที่จะเป็นโจทย์วิจัย

พอผ่านขั้นเตรียมวิจัย  เริ่มเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ

วิเคราะห์ข้อมูล  หาแนวทางดำเนินกิจกรรมพัฒนา  เรียกว่าขั้นปฏิบัติการหรือทดลอง

 

สิ่งที่เปลี่ยนแปลงหลังปฏิบัติการ เช่น ความสะอาดของชุมชน

ความรู้ที่เพิ่มขึ้น  หรือแม้แต่แค่จิตสำนึกเปลี่ยน   นำมาสรุปผลการวิจัย

อาจจะเป็นได้ถึงการพัฒนาชุมชน  หรือเพียงเปลี่ยนกระบวนการคิดบางอย่างของทีมวิจัยเอ

(ในทิศทางใด  แล้วแต่การตีค่า  ตีความ)   

 

ถือว่าคุ้มค่ามากแล้ว

^_,^ 

 

 

หมออ้อเป็นตัวแทนเครือข่ายบริการสุขภาพภาครัฐ 

นำเสนอบริบทและข้อมูลที่เกี่ยวข้องระบบสุขภาพของอำเภอสระใคร

พี่ต๋อมแต๋มเล่าข้อมูลสถานะสุขภาพของ  ๔  หมู่บ้าน

ยังมีพี่ตุ๊ก  น้องหนิง  น้องน้อง  และเภสัชต้า  มาช่วยกันเอื้ออำนวยกระบวนการกลุ่ม

น้องกิ่ง  น้องแพมอำนวยความสะดวกทั่วไป

 

คราวหน้านัดกัน  ๒๐  กันยายน  ๒๕๕๖  ช่วยกันลำดับแต่ละประเด็นย่อยของปรากฏการณ์

หาว่าอะไรเป็นสาเหตุของอะไร  ค่อย ๆ พูดคุยแลกเปลี่ยนทำความเข้าใจ

ใช้ข้อมูลทั้งด้านของชาวบ้านและที่ภาคบริการสุขภาพมี

 

หวังว่าจะสามารถจัดลำดับได้ว่าอะไรจะสำคัญพอที่จะเป็นโจทย์วิจัยที่น่าสนใจ ... ในมุมมองของชาวบ้านเอง

 

 

เอาใจช่วยด้วยนะคะ  น่าสนุกไม่น้อย  

งานนี้   ยาวมาก ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ

^_,^

 

(ภาพวันศุกร์ที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๕๖  ฝนตกหนัก  น้ำท่วมถนนในบ้านสระใครใต้   ขับต่อยิ่งลึกมากขึ้น)

หมายเลขบันทึก: 548310เขียนเมื่อ 15 กันยายน 2013 01:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 กันยายน 2013 01:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (23)

...ชื่นชมและเป็นกำลังใจและเอาใจช่วย...โจทย์วิจัยในมุมมองของชาวบ้านเองนะคะ...

อรุณสวัสดิ์ค่ะคุณหมอ

ชื่นชมค่ะ  

สร้างสรรค์  ครบถ้วน ครอบคลุมทั้งกาย จิต สังคม ชวนให้ต่อยอดค่ะ

เอาใจช่วยครับ

อ่านแล้วชอบมาก

คิดถึงตอนหนุ่ม ๆๆ 555

ไปทำที่ชุมชนบ้านน้ำทรัพย์

http://www.gotoknow.org/posts/381319

ตรียมถอดบทเรียนหมู่บ้านน้ำทรัพย์(2) - GotoKnow

ถอดบทเรียนหมู่บ้านน้ำทรัพย์(3) - GotoKnow

ครูต้อยไปช่วยเขียนไว้ที่นี่ครับ

ถอดเสื้อดูใจคนในหมู่บ้านน้ำทรัพย์ กศน.แก่งกระจาน - GotoKnow

ได้เล่มนี้ออกมาก

ถอดบทเรียนหมู่บ้านน้ำทรัพย์

แต่ยังไม่ละเอียดมากนักครับ

มาชื่นชมทีมงานของคุณหมอครับ

 เป็นการวิจัยชุมชน  ที่ดีมากๆ  ค่ะ  น่าสนใจ  สามารถนำไปแก้  ต้นเหตุได้นะคะ   ขอบคุณบันทึกดีดีนี้ค่ะ

คงได้ต่อยอดอีกหลาย ๆ ครั้งเลยล่ะค่ะพี่อุ้มถาวร  ขอบคุณมากค่ะ

แวะมาชื่นชมคนชุมชนค่ะ

ตามอ่านทุกบันทึกแล้วนะคะ  แต่ "ถอดบทเรียนหมู่บ้านน้ำทรัพย์" เข้าไม่ได้นะคะ  อาจารย์ขจิต ฝอยทอง   ขอบคุณมากค่ะ

หวังว่าจะแก้ที่ต้นเหตุ  หาสาเหตุได้ลึก ๆ  ขอบคุณมากค่ะพี่เปิ้นDr. Ple

เริ่มแล้วค่ะป้าแดง  ค่อย ๆ ทำ ๆ ไป  ไม่ยากไม่ง่าย  ใจสนุกในการทำ .... เพียงพอแล้วค่ะpa_daeng  ขอบคุณนะคะ

โหหหหห  งานนี้ งานยักษ์ แต่ดูแล้ว สำเร็จได้ไม่ยาก 

เกิดโดยคนในชุมชน เพื่อชุมชน ผลที่ได้ ชุมชนมีสุขภาพกาย สุขภาพใจที่ดี

ชื่นชม ค่ะ 

ชาวบ้านคิดได้ชัดเจน ครบถ้วนนะคะ

บางข้อความเป็นแนวทางปฏิบัติที่ดีมากอยู่แล้ว  บางข้อก็ระบุเป็นปัญหา

การที่ชาวบ้านมองเห็นปัญหาด้วยตัวเอง  ช่วยให้เกิดความกระตือรือร้นที่จะแก้ปัญหานะคะ

แต่ความยาก คือ การนำไปปฏิบัติค่ะ

พี่มองเห็นอยู่อย่างหนึ่ง คือ  องค์ความรู้ด้านสุขภาพของเราก้าวไปไกลมาก  แต่ความรู้ที่ถูกย่อยให้ชาวบ้านเข้าถึงได้ง่าย เป็นรูปธรรมในระดับการนำไปใช้ ยังขลุกขลักอยู่พอสมควร  แต่ไม่เกินกำลังของพวกเราค่ะ

อ่านบันทึกนี้ทำให้เกิดความคิดว่า  ถ้าเราให้ชาวบ้านเป็นนักวิจัยเองโดยค้นหาแนวทางปฏิบัติ เอาไปทำ แล้วสรุปผลออกมา น่าจะดี

สนุกกับการทำงานะคะ

ผมเองก็กำลังเคลื่อนเรื่องนักวิจัยไทบ้านครับ
ตั้งมาเป็นระบบและกลไกของการจัดกิจกรรมเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมระหว่างนิสิตกับชุมชน
หวังใจว่า ชาวบ้านชุดนี้  จะเป็นจุดเชื่อมต่อและลดทอนช่องว่างการทำงานระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชน

...

ชื่นชมครับ

ขอชื่นชมและให้กำลังใจครับ

ขอบคุณค่ะคน ER  ขอบคุณนะคะคุณOraphan

งานใหญ่ทีเดียวสำหรับอ้อและ PCU  ในด้านการประสานน่ะค่ะพี่กระติก~natachoei ที่ ~natadee

ด้านกระบวนการไม่คิดยากเท่าไหร่  พอไหว  สบาย ๆ  ตามสถานการณ์  ผลได้ - ไม่ได้  ดี - ไม่ดี  ไม่ได้คาดหวังมากค่ะ

ออกมาแบบไหนอ้อก็ได้เรียนรู้ทั้งนั้น  สิ่งสำคัญ คือ การทำให้ชาวบ้านได้เรียนรู้ไปด้วยกัน  ขอบคุณหลาย ๆ เด้อเอื้อย

ความสนุกอยู่ตรงนี้ละคะพี่nui  ต้องวางใจ  ไว้ใจให้  "ชาวบ้านเป็นนักวิจัยเอง  โดยค้นหาแนวทางปฏิบัติ เอาไปทำ แล้วสรุปผลออกมา" 

เราเองจึงต้องเปลี่ยนบทบาทจากที่คิดว่าเป็นผู้รู้  เป็นนักวิชาการ  เป็น "นักเรียนรู้"  ไปพร้อม ๆ กัน  

โลกของชาวบ้านมีอะไรให้เราเรียนรู้มากมายไม่จบสิ้นค่ะ  ขอบคุณมาก ๆ ค่ะพี่นุ้ย

เคยทำที่หมู่บ้า่นห่างออกไปจากโรงพยาบาล  ยังไม่ค่อย "อิน" เท่าไหร่ค่ะ  คิดว่าเพราะยังใช้เวลาและการทำความเข้าใจชาวบ้านไม่มากพอ

ครั้งนี้ตั้งใจใหม่  มีประสบการณ์ที่ได้บทเรียนมาบ้างแล้ว  หวังว่าจะค่อย ๆ เรียนรู้ในมุมมองของชาวบ้านได้ดีขึ้นค่ะ

ขอบคุณมาก ๆ ค่ะอาจารย์แผ่นดิน  ติดตามงานแนวนี้ของอาจารย์เสมอนะคะ

ขอบพระคุณค่ะท่านเขียวมรกต  มีหลายประเด็นที่การทำเกษตรและสุขภาวะแยกกันไม่ออกนะคะ  เชิญชวนติดตามและให้ข้อชี้แนะนะคะ

ชื่นชมเวทีการเรียนรู้ดีๆเช่นนี้..น่าสนใจมากค่ะ

มีนัดคราวหน้า  จะมาเล่าต่อนะคะ  ขอบพระคุณคุณป้าใหญ่มากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท