ความรู้ และทักษะที่จำเป็นเฉพาะงาน : งานบริการพยาบาล อุบัติเหตุ -ฉุกเฉิน


ความรู้ และทักษะที่จำเป็นเฉพาะงาน : งานบริการพยาบาล อุบัติเหตุ -ฉุกเฉิน

1. การบริการ ณ จุดเกิดเหตุ

ความรู้

1. ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน

2. พยาธิ-สรีรภาพเฉพาะ ของกลุ่มโรค กลุ่มอาการที่พบบ่อย 10 อันดับแรก และผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง

3. การคัดกรอง และการจัดกลุ่มผู้ป่วย

4. การปฐมพยาบาล  การช่วยฟื้นคืนชีพ และการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย

5. หลักจริยธรรม และการตัดสินใจเชิงจริยธรรมเกณฑ์

6. การเก็บรักษาอวัยวะ

7. การบันทึก และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 

8. การสื่อสาร และการประสานงาน

ทักษะ

1. การเตรียมความพร้อมเพื่อบริการ ณ จุดเกิดเหตุ

2. การประเมินสถาน-การณ์ ณ จุดเกิดเหตุ

3. การค้นหาผู้ป่วย

4. การประเมิน คัดกรองและจัดกลุ่มผู้ป่วยตามความรุนแรง

5. การปฐมพยาบาล การช่วยฟื้นคืนชีพ การจัดการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย

6. การดูแลระหว่างการเคลื่อนย้าย

7. การจัดการการเก็บรักษาอวัยวะ

8. การสื่อสาร ประสานงาน รวมถึงการใช้เครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม

9. การให้ข้อมูลผู้ป่วยและญาติ รวมทั้งการให้ผู้ป่วยและญาติมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ

10. การบันทึกข้อมูล


2. การบริการที่ ER

ความรู้

1. พยาธิ-สรีรวิทยาของการเจ็บป่วยฉุกเฉิน ในผู้ป่วยทุกวัย

2. พยาธิ - สรีรวิทยาของการบาดเจ็บ

3. นโยบาย ขอบเขตของบริการ และมาตรฐาน/ แนวทางปฏิบัติทางการพยาบาลที่เกี่ยวข้อง

4. หลักกฎหมาย หลักจริยธรรม และการตัดสินใจเชิงจริยธรรม

5. การจัดการในเรื่อง

  5.1 การคัดกรอง และจัดลำดับบริการ

  5.2 การเคลื่อนย้าย 

  5.3 การปฐมพยาบาล และการบรรเทาอาการรบกวน

  5.4 การช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้น และขั้นสูง

  5.5 การป้องกันภาวะแทรกซ้อน

  5.6 การเฝ้าระวังอย่างระมัดระวัง ตั้งใจ

6. การจัดการความเสี่ยงในงานอุบัติเหตุ ฉุกเฉิน

7. การช่วยเหลือการปรับตัว และการให้ข้อมูลผู้ป่วยและญาติในภาวะวิกฤต ฉุกเฉิน


ทักษะ

1. การประเมิน คัดกรอง และการจัดกลุ่มผู้ป่วย

2. การเฝ้าระวัง  อย่างระมัดระวัง ตั้งใจ และการป้องกันภาวะแทรกซ้อน

3. การสื่อสาร ประสานงานสหสาขาวิชาชีพ

4. การสื่อสาร ให้ข้อมูลผู้ป่วยและญาติ อย่างต่อเนื่องทั้งในภาวะปกติ และฉุกเฉิน  การให้ข้อมูลเพื่อปรับการรับรู้ รวมถึงการช่วยเหลือการตัดสินใจ และการสนับสนุนทางอารมณ์

5. การช่วยฟื้นคืนชีพ ขั้นพื้นฐาน และขั้นสูง

6. การทำหัตถการ และการช่วยหัตถการฉุกเฉิน

7. การจัดการอาการรบกวน

8. การบริหารยาที่มีความเสี่ยงสูง

9. การจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อพิทักษ์สิทธิผู้ป่วยและญาติ

10.การจัดการผู้ป่วยคดี และการจัดการทรัพย์สินผู้ป่วย

11. การช่วยเหลือผู้ที่ถูกละเมิดทางเพศ และ กรณีการทารุณเด็ก

12. การจัดการความเสี่ยง

13. การบันทึกข้อมูล



3. การส่งต่อ / จำหน่ายผู้ป่วย

ความรู้

1. ระบบการส่งต่อ และเครือข่ายบริการสุขภาพ

2. แหล่งประโยชน์ทางด้านสุขภาพ


ทักษะ

1. การประสานงานสหสาขาวิชาชีพ และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

2. การให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วย และญาติ ด้านสุขภาพ แหล่งประโยชน์ เหตุผลของการจำหน่ายกลับบ้าน / ส่งต่อการดูแลต่อเนื่อง การเฝ้าระวังอาการต่อเนื่อง และการดูแลตนเอง

3. การเตรียมอุปกรณ์ เครื่องใช้ที่จำเป็นก่อนการส่งต่อ

4. การประเมินความพร้อมก่อนการส่งต่อ / จำหน่าย

5. การจัดการการส่งต่อผู้ป่วยให้ผู้ป่วยได้รับความปลอดภัยระหว่างการส่งต่อ



ขอขอบคุณอาจารย์จินนะรัตน์ ศรีภัทรภิญโญ อาจารย์รัมภา ศรารัชต์ สำนักการพยาบาล

หมายเลขบันทึก: 548305เขียนเมื่อ 15 กันยายน 2013 00:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 มิถุนายน 2017 21:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท