BONSAI WORK SHOP เรียนรู้บอนไซคุโรมัทซึกับอาจารย์โยอิฉิ นาคานิชิ


บอนไซจากญี่ปุ่น

       ได้มีโอกาสเข้ารับการเรียนการสอนปลูกต้นไม้ที่มีชื่อว่า คุโรมัทซึ หรือไทยเราเรียกสั้นๆว่าสนดำ โดยอาจารย์โยอิฉิ นาคานิชิ เป็นศิลปินบอนไซผู้สิบทอดรุ่นที่ 5 แห่งคานิชิฉินโชเอน ที่พำนักอยู่ในโอนินาชิบอนไซ เคียว ตั้งอยู่ในเมือง ทาคามัทสึ จังหวัดคางาวะ อาจารย์โยอิฉิเป็นผู้สืบทอดวัฒนธรรมอันยาวนานนับร้อยปีของสวนบอนไซ โอนินาชิ มาสอนที่เชียงใหม่ วันที่ 11- 12 กย.56 วันละ 2 รอบ ได้เข้าเรียนในรอบสุดท้ายเวลา 16 .00- 17.00 น. บอนไซที่นำมาจัดแสดงนำเข้าจากญี่ปุ่นทั้งหมดปี 2555-2556  เจ้าของคือ คุณมานพ ยงวิมลและคุณไพฑูรย์ เตชะรุ่งโรจน์

 

เรียนรู้การปลูกบอนไซ คุโรมัทซึ 12 กย.56

 

 

 

พอดีไปถึงเกือบบ่าย 2 พบกับอาจารย์เปลี่ยน (ผู้เชี่ยวชาญบอนไซที่เชียงใหม่ที่ใส่หมวกนะคะ สอบถามคุยกับท่านได้เรื่องบอนไซ โทร.081-4377663 ) อาจารย์โยอิฉิ กำลังตัดแต่งใกล้จะเสร็จ ไม่ได้สอบถามอะไรเกี่ยวกับต้นนี้ และได้ทราบว่า วันที่ 11 กย.56 มีอีกต้นหนึ่งไม่ใช่ต้นนี้ ยังเสียดายไม่ได้มาชมในวันแรก

 

 

 

อาจารย์โยอิชิ และัผู้แปลไทย

 

 

ต้นคุโรมัทซึ อายุ 12 ปี เพาะจากเมล็ด ทีนำมาจากญึ่ปุ่น เตรียมการสอนในวันที่ 12 กย.56

 

 

กระถาง

 

 

กระถางอีกรูปแบบเลือกตามชอบและเหมาะสมกับต้นไม้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ภรรยาคุณไพฑูรย์

 

 

 รอบสุดท้าย 16.00- 17.00น 12 กย.56

 

 

ต้นคุโรมัทซึออกจากกระถาง จะมีรากแน่นเต็มทุกกระถาง ใช้ไม้ค่อยๆเขี่ย

แล้วตัดรากตามขวางออกให้เหลือพอประมาณ

 

 

ผู้ช่วยอาจารย์โยอิชิ ( น่าจะเป็นภรรยาค่ะ)

 

 

ผู้ช่วยอาจารย์คุโรมัทซึ คุณประสิทธิ์ ช่วยสอนด้วย

 

 

 

 

คุณไพฑูรย์ (ยืน)

 

 

 

ต้นที่เรียน เมื่อตัดรากออกประมาณครึ่ง หรือมากกว่าเพื่อให้เหมาะสมกับกระถางในภาพ ตักเ็ม็ดทรายก้อนเล็กๆไม่ละเอียด ใส่ 5 ช้อนแล้ววางต้นไม้ที่ตัดรากตามที่เราชอบโดยเลือกด้านที่เราจะไว้ด้านหน้าก่อน เมื่อวางต้นไม้แล้วตักทรายใส่ให้เกือบเต็มใช้ไม้ค่อยๆเขี่ยให้ทั่วรอบโคน แล้วจัดวางมอสตามชอบ คือจะใส่ให้เต็มหน้ากระถาง หรือวางเว้นช่องแล้วแต่งด้วยทรายก้อนเล็กๆสีดำ การปลูกตัดรากเปลี่ยนทรายในกระถางเล็กนี้อยู่ได้ 3 ปี แล้วถึงตัดรากเปลี่ยนทรายใหม่ หรือสังเกตว่าการรดน้ำแล้วซึมช้าก็คือรากแน่นแล้วก็เปลี่ยนได้ เมื่อแตกยอดอ่อนสีน้ำตาลยาวสักนิดก็ตัดใกล้ๆโคนยอดออกทิ้งเพื่อให้แตกกิ่งใบใหม่ หากไม่ต้ดก้านก็จะยาวขึ้นเรื่อยๆไม่แตกกิ่ง รดน้ำเช้าเย็น ในกระถางน้ำต้องไม่แแฉะขัง  หากมีแมลงฉีดยาฆ่าแมลงได้  ช่วงที่เปลี่ยน ตักรากเปลี่ยนทราย ต้องไว้ในร่มก่อนเมื่อแข็งแรงดีแล้วถึงนำออกแดด เป็นต้นไม้ที่ชอบแดดจัด

 

 

อาจารย์จะตวรจดูว่าเรียบร้อยไหม จัดแต่ง แล้วฉีดน้ำให้

 

 

 

พอใช้ได้ไหมค่ะ

 

 

 

 

 

 

คุโรมัทซึ อายุ 30 ปี

 

 

คุโรมัทซึ อายุ 50 ปี

 

คุโรมัทซึ อายุ 50 ปี

 

 

 

 

 

โคโตบุกิ อายุ 20 ปี

 

 

 

 

 

คุโรมัทซึ อายุ 70 ปี

 

คุโรมัืทซึ อายุ 60 ปี

 

 

โกโยมัทซึ (สนขาว) อายุ 60 ปี

 

 

 

 

 

 

 

 

 ด้านหลัง โยโกมัืทซึ (สนขาว)

 

 

ซากุระ

 

ซากุระ

 

 

ก่อนกลับบ้านเก็บภาพเป็นที่ระลึก

อาจารย์ โยอิชิ นาคานิชิ ,กานดา  , น้องเอ็ม ,และคุณนา ผู้แปลญี่ปุ่นเป็นไทย

 

 

ต้นคุโรมัทซึ มาอยู่ที่บ้าน ก็ย้ายไปย้ายมาว่าจะไว้ตรงไหนดี

เพราะตัดรากเปลี่ยนดินใหม่ ต้องไม่ให้โดนแดด ฝน ลม ฯ

 

 

ก็น่ารักดี ตั้งใจเลี้ยงให้รอดก็พอใจแล้วค่ะ อากาศบ้านเราร้อนไม่เหมือนที่ญี่ปุ่น

 

 

การได้เรียนรู้ครั้งนี้เพราะใจรักต้นไม้ รักบอนไซ ตั้งใจเรียนใน 1 ชั่วโมงได้ความรู้เกี่ยวกับต้นคุโรมัทซึ และได้ชมบอนไซ อายุนานหลายสิบปี ที่สวยงาม ได้เก็บภาพ มีความสุขเต็มอิ่มประมาณ 2 ชั่วโมง บอนไซที่นำภาพมาฝากนี้ ปลูกเลี้ยงที่เชียงใหม่ได้ไม่ตาย สนใจสอบถามเพิ่มเติมได้ที่คุณไพฑูรย์ เตชะรุ่งโรจน์ โทร. 081-8134762 , 086-1969595  อีเมล์ paitoon @yahoo.com

 

ด้วยความปรารถนาดี  กานดา แสนมณี

วันสุกร์ที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ ๒๕๕๖

หมายเลขบันทึก: 548188เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2013 20:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 กันยายน 2013 09:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

สวยมากเลยค่ะพี่ดา และไม่น่าเชื่อว่าแต่ละต้นอายุเยอะทีเดียวนะคะ

สวัสดีค่ะ น้องอาจารย์จัน

ค่ะสวยงามมากสนเก็บภาพมาแต่ละต้นไม่ค่อยสวย ต้นจริงๆงามมากค่ะ โดยเฉพาะลำต้นแต่ละต้นเปลือกต้นดูเก่าแก่อายุยืน บางต้นเป็นเกล็ดเลยค่ะ นำเข้ามาอยู่ที่เชียงใหม่ประมาณ 2 ปี ก่อนนำมาเลี้ยงคุณไพฑูรย์ บอกว่า นำต้นเล็กๆหลายต้นมาเลี้ยงก่อนเพื่อดูนิสัยแต่ละต้นเลี้ยงแบบหลายๆวิธี ว่าเลี้ยงที่เชียงใหม่ได้หรือไม่ พอเลี้ยงได้จึงไปเลือกต้นไม้ที่ญี่ปุ่นหลายๆต้นไว้ก่อน แล้วถึงส่งมาพร้อมๆกันกับของคุณมานพ อย่างต้นที่พี่ดาชอบมากในงานนี้คือ สนขาว ทึ่งมากอยู่ในกระถางบางเล็ก โคนต้นใหญ่ ใบมาก ก็อยู่รอดในเมืองไทยได้ บอนไซอายุหลายร้อยปีก็มีมากค่ะ 

 

 

เป็นทั้งศิลปะ และธรรมชาติที่สวยงามนะคะ...ขอบคุณค่ะ

มีหลายแบบมากๆเลยครับ

มาแจ้งพี่ว่า

มาขอเชิญเข้าร่วมชุมชนปลูกผักกินได้

อันนี้นะครับ

http://www.gotoknow.org/community/vegetables#/discussions

จะใช้คำหลักว่า ปลูกผักกินได้ ครับ

สวัสดีค่ะ 

น้องอาจารย์จันทวรรณ   ค่ะงามมากๆชมแล้วใจขึ้น

คุณดร.พจนาฯ    ใช่แล้วค่ะ และ ให้สิ่งดีๆหลายอย่างกับผู้ปลูกเลี้ยงมากค่ะ

น้องอาจารย์ขจิต    มีหลายแบบ บอนไซญี่ปุ่น โดยมากการจัดวางกิ่งจะธรรมชาติ ระดับกิ่ง 1 2 3 ฯ ไม่เน้นมาก

ดีใจนะคะ ที่คิดถึงพี่ดา ยินดีมากค่ะ ปลูกผักกินได้ มีบ้างแล้วๆค่ะ  

 

และขอบคุณมากนะคะ ผู้เข้าเยี่ยมชม และทุกๆดอกไม้ กำลังใจที่มอบให้บันทึก 

BONSAI WORK SHOP เรียนรู้บอนไซคุโรมัทซึกับอาจารย์โยอิฉิ นาคานิชิ

 

 

ทรายที่ใส่ เป็นทรายก่อสร้าง ใช่มั้ยครับ หรือว่าทรายพิเศษ หาซื้อที่ไหนครั

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท