บ้านยองโบราณ ต้นแบบสถาปัตยกรรมยุคใหม่


ปริศนาที่ค้างคาใจเกี่ยวกับเสาไม้ต้นไหญ่ก็ได้คำตอบที่นี่เอง เคยได้ยินมานานแสนนานเรื่องตำน้ำพริกบนบ้านแล้วเสียงดัง

      ในวันหยุดเข้าพรรษาที่ผ่านมา ครูดาหลามีโอกาสไปทำบุญขึ้นบ้านใหม่ของญาติที่บ้านมะกอก อ.ป่าซาง จ.ลำพูน ซึ่งเป็นญาติของพ่อ(ของลูก)  และถือโอกาสไปเยี่ยมชมบ้านโบราณซึ่งอยู่ไม่ไกลกันนัก ความจริงตั้งใจมานานแล้วพ่อก็พูดเสมอว่าบ้านหลังนี้ใครๆก็มาชม มาถ่ายรูปกัน  ครูดาหลาก็เคยเดินผ่านไปมาหลายครั้งมองเห็นตัวบ้านไม้สักเป็นเรือนแฝดหลังใหญ่ มีหน้าจั่วประดิษฐ์เป็นลวดลายสวยงาม อยู่ท่ามกลางดงต้นดีปลีที่ขึ้นพันเสาไม้เป็นแท่งๆสีเขียวอยู่ทั่วไป

                             

      วันนี้พ่อพาเดินไปถึงหน้าบ้านหลังจากร้องทักทายกันแล้วมีเสียงตอบมาจากใต้ถุนบ้านเชื้อเชิญให้เปิดประตูเข้าไป  ครูดาหลาเริ่มเก็บภาพทันทีเมื่อเข้าประตูบ้านตรงหน้าประตูบ้านที่เห็นเป็นเรือนแฝดมีระเบียงบ้านแกะสลักด้วยไม้สวยงามนั้น ความจริงเป็นยุ้งข้าวสองชั้น

                                

                        ตรงเหนือประตูยุ้งข้าวชั้นบนมีตัวหนังสือแกะด้วยไม้บอกปีที่สร้างว่า พ.ศ. ๒๔๘๒ สร้างหลังจากสร้างบ้านสองปี  ทำให้มองไปตรงหลังคาจั่วหน้าบ้าน เห็นตัวหนังสือแกะด้วยไม้ที่บางตัวหล่นหายไปแต่ยังพอมองเห็นได้ พ.ศ. ๒๔๘๐         

                               

          ทางขวามือมีป้าย " บ้านยองโบราณ บ้านมะกอก"  พร้อมกับเสียงเรียกจากป้าลา เจ้าของบ้าน   ครูดาหลาเดินตามคนนำทางไปก่อน  มองเห็นใต้ถุนบ้านที่ได้ปรับปรุงใหม่ตามคำบอกเล่าของญาติว่าเจ้าของปรับปรุงเพราะของเดิมทรุดโทรมลงไปมากแต่ยังคงสภาพเดิมไว้ให้มาก

                              

   สิ่งแรกที่ปรากฏต่อสายตาเมื่อเดินเข้าไปใต้ถุนบ้าน  คือเสาไม้ต้นใหญ่เป็นมันขลับต้นนี้ เด่นกว่าเสาต้นอื่นๆที่เป็นเสาปูน  หลังจากทักทายป้าลา เจ้าของบ้านแล้ว ขอตัวตามพี่พรรณคนนำทางไปชมบนบ้าน สายตาก็แอบมองเสาต้นนี้อย่างพิศวงสงสัยนักหนา แต่ยังไม่กล้าถาม  เดินขึ้นไปทางบันไดหลังบ้านที่ซ่อมแซมใหม่ แต่ยังคงเห็นเค้าโครงของเดิมไว้

                      

 

บันไดหลังบ้านก่อนปรับปรุงจะเปิดโล่งทะลุไปถึงชานหลังบ้าน ขวามือ

เป็น"เฮือนไฟ"  หรือห้องทำอาหาร

พี่พรรณพาไปดูในบ้านทางประตูที่เปิดได้ง่ายที่สุดมาเปิดบานเลื่อนข้างบันไดหน้าบ้าน มองออกไปเห็น

ลวดลายไม้ แกะสลักสวยงาม ส่วนรับแขกหน้าบันไดมีเก้าอี้ไว้รับรองแขก

  มีประตูโล่งเปิดสู่ส่วนที่เป็นชานหลังบ้าน และห้องครัว

                                                                                           

 

มองเห็นหลังคาที่ลาดต่ำ มีภาพสมาชิกในครอบครัวประดับไว้เหนือหน้าต่าง " ฝาไหล" หรือบานเลื่อน  ด้านหน้าบน"เติ๋น" มีโต๊ะวางสมุดเยี่ยมสำหรับผู้มาเยือน

                          

                               ประตูบานพับที่ขัดกลอนด้านใน เปิดโล่งออกได้เมื่อต้องการ

 

ประตูที่ขัดกลอนแน่นหนา  กำปั่นสามขนาดที่มีตัวล็อคเข้าด้วยกันป้าลาบอกว่า เมื่อเปิดจะมีเสียงเพลงดังขึ้น ลูกๆก็รู้ว่าตอนนี้พ่อเปิดกำปั่นเอาเงินเก็บ หรือเอาเงินออกมาใช้  


                             ภาพป้าลาและครอบครัว       ขวาืมือเป็นห้องที่เชื่อมกับยุ้งข้าว      

   

  ที่ประตูกั้นห้องพระมีภาพที่นำความภาคภูมิใจมาให้แก่ครอบครัว  เนื่องจากอนุรักษ์บ้านโบราณไว้เป็นแหล่งเรียนรู้

      ห้องนอนของป้่าลา    และห้องกลางมีตู้กระจกโชว์ที่นอนพับของบ้านที่มีฐานะดี เพื่อเวลามีญาติมาพักค้้างคืน  มองทะลุไปเห็นประตูทางเดินต่อไปยุ้งข้าว

                       

ระเบียงยุ้งข้าวที่เปิดออกได้เมื่อเวลาขนข้าวเข้ามาเก็บ หรือขาย  พี่พรรณทำท่าตี "กะหลก" หรือเกราะเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆเพื่อระดมกำลัง  มีถังสำหรับตวงข้าว  และเครื่องชั่งแบบลูกตุ้มสำหรับซื้อขายสินค้า        

ชานหลังบ้านถัดไปทางขวาเป็นระบียงส่วนที่ต่อกับห้องครัวมีผนังด้านอกติดภาพต่างๆของสมาชิกในบ้าน

    

                           

         พี่พรรณพามาดูห้องครัวเป็นห้องสุดท้าย ที่พื้นห้องตรงข้างฝาใกล้กับโต๊ะที่วางเตาไฟ (สมัยก่อนคงเป็นเตาไฟแบบใช้ก้อนเส้า) จะเห็นแท่นไม้กลมๆโผล่ขึ้นมาเหนือพื้นห้องก็คือเสาไม้ที่เห็นเมื่อเข้าประตูไปใต้ถุนบ้านนั่นเอง  เป็นเสาสำหรับวางครกเพื่อตำน้ำพริก   ร้องอ๋อทันทีที่พี่พรรณทำท่านั่งตำน้ำพริกโดยเอาครกวางเหนือเสาไม้ที่โผล่ขึ้นมา พร้อมบอกว่า ตอนคณะของคุณแหม่มสุริวิภามาก็มานั่งตำน้ำพริกที่ตรงนี้  ปริศนาที่ค้างคาใจเกี่ยวกับเสาไม้ต้นไหญ่ก็ได้คำตอบที่นี่เอง  เคยได้ยินมานานแสนนานเรื่องตำน้ำพริกบนบ้านแล้วเสียงดังแม่หรือแม่อุ้ยให้เอาผ้ารอง บอกว่าบางบ้านตำน้ำพริกบนเสาเพราะไม่ให้เสียงดัง...ที่แท้ก็อยู่บ้านนี้เอง...บ้านยองโบราณ  บ้านมะกอก  ...เหลือเชื่อ มีจริงๆ  (จนลืมถ่ายภาพท่านั่งตำน้ำพริกบนเสา)


      "แค่ว" เป็นที่เก็บอุปกรณ์ต่างๆในครัว  ส่วนที่ทำอาหารแยกห้องกับส่วนที่รับประทานอาหารมีตู้กับข้าวไว้ใส่อาหาร



                  

ส่วนหนึ่งของผู้มาเยี่ยมชมบ้านยองโบราณ จากสมุดเยี่ยมบ้านยองโบราณ บ้านอนุรักษ์ดีเด่น จังหวัดลำพูน


  ลงมาจากบ้านมาดูบ่อน้ำที่ตักน้ำด้วย" แฮ้ว" หรือ รอก สำหรับใช้ในบ้านและรดน้ำต้นไม้ให้ชุ่มเย็นรอบๆบ่อเช่น ดีปลี ฯลฯ

 ก่อนกลับก็อ้อมมาเก็บภาพบันไดหน้าบ้าน ซึ่งวันนี้ไม่มีคนมาเยี่ยมหลายคนจึงไม่เปิด มองขึ้นไปด้านบนเห็นหน้าต่างส่วนที่เชื่อมต่อกับยุ้งข้าว


แท่นสำหรับทำกระเบื้องมุงหลังคา ยังเก็บรักษาไว้ในลูกหลานได้ดู  เข้าไปขอบคุณป้าลาท่านบอกว่าความจริงก็เป็นญาติกันให้แวะมาหาอีก   รับปากป้าลาว่ามีถ้ามีเวลาจะมาหาป้าลาอีก

 

  กลับออกมาพร้อมกับความอิ่มใจ ความภาคใจที่ได้เห็นชีวิต ความเป็นอยู่ของคนยองโบราณที่ยังคงอนุรักษ์ให้ลูกหลานได้มาศึกษาจนปััจุบัน   

                 ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชมบ้านยองโบราณ บ้านอนุรักษ์ดีเด่นของจังหวัดลำพูนค่ะ

                                 

หมายเลขบันทึก: 543946เขียนเมื่อ 29 กรกฎาคม 2013 05:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 สิงหาคม 2013 01:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)

บ้านยองโบราณ ...สวยงามมากนะคะ...ขอบคุณค่ะ

บันทึกนี้ ... ทรงคุณค่าแล้วล่ะครับ พี่ครูดาหลา ;)...

-สวัสดีครับครู..

-ตวยมาผ่อบ้านยองโบราณ..

-ผมชอบบ้านแบบสมัยปบราณครับ..

-บ้านของผมสมัยก่อนจะมีชานรอบบ้าน มีเต๋าไฟ ที่ใช้ทำกับข้าว และมี"หม้อบน" หรือมีหม้อที่ใส่น้ำกินอยู่ตรงชานบ้าน.

-ณ วันนี้ บ้่านถูกปรับเปลี่ยนไปแล้ว..

-มีความหวังว่าสักวันหนึ่งอยากจะแป๋งบ้านแบบโบราณ น่ะครับ..

-สักวันหนึ่ง...

ขอบคุณมากนะคะ คุณครู ที่นำเรื่องน่ารู้ หาดูได้ยากมาฝาก พร้อมด้วยภาพประกอบอย่างละเอียดทุกซอกทุกมุม

นี่ขนาดคุณครูเคยบอกพี่ไอดินฯ ว่าอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ ไม่ได้นะคะ ยังลงภาพได้มากขนาดนี้ แสดงว่า มีความตั้งใจสูงมากที่จะแบ่งปัน ชื่มชมค่ะ

ขอบคุณมากครับสำหรับการแบ่งปันข้อมูล เป็นบ้านที่ดูแลได้ดีมากครับ ถ้ามีโอกาศผมจะไปเยี่มบ้าง

          

 

 

 

บ้านยองโบราณ ต้นแบบสถาปัตยกรรมยุคใหม่ .... สวยงามจริงๆค่ะ ....  ชอบมาก บ้านไม้แบบนี้หาดูได้อยาก นะคะ  

 

ขอบคุณจริงๆ ที่นำมาแบ่งปันให้เห็น นะคะ  

เป็นบ้านเก่ามากๆ

ชาวยองเท่าที่จำได้ เคยมีอาจารย์ ม ราชมงคลเชียงใหม่ ทำงานวิจัยไว้นะครับ

ขอบคุณความรู้ดีๆมาแบ่งปันครับพี่ครู

ขอบคุณครับคุณครู เป็นบันทึกที่ยอดเยี่ยมมากครับ  ทำให้คิดเปรียบเทียบถึงหมู่บ้านผมเมื่อก่อนนี้หลายอย่างที่ผมเองก็ลืมไปแล้ว

  • คำที่ใช้เรียกอาจแตกต่างกันตามภาษาท้องถิ่น  เช่น  "กะหลก" หรือเกราะ เมื่อก่อนนี้ ที่บ้านของผมเขาเรียกว่า  "กล่องเลาะ" ครับ
  • และที่ตักน้ำ  "แฮ้ว" หรือ รอก  ที่บ้านของผมก็จะเรียกว่า  "คันทง"  หรือ "กันทง" ครับ

 

เสริมด้วย  "ค่าว" สำหรับคุณครูที่เคยรับปากไว้  ก็แต่งได้ตามสติปัญญาและที่พอหาข้อมูลได้เท่านี้แหละครับ   ผิดถูกอย่างไรคุณครูวิพากษ์วิจารณ์ได้เต็มที่นะครับ

http://www.gotoknow.org/posts/543782 

สถาปัตยกรรมสวยงามมากเลยครับ

น่าไปเยี่ยมชมสักครั้ง

สวัสดีครับคุณครู...ชุมชนบ้านโบราณชาวยอง  บ้านมะกอก อ.ป่าซาง จ.ลำพูน...ขึ้นเหนือเมื่อไรต้องแวะชม ครับ

-สวัสดีครับครู..

-ตวยมาแหมรอบ..

-วันนี้มาจวนครูไปสอนละอ่อน"ดำนา"ครับ

สวัสดีค่ะ 

             ดร.พจนา แย้มนัยนา, อ.Wasawat Deemarn, คุณเพชรน้ำหนึ่ง, คุณไอดิน-กลิ่นไม้, คุณคนทำแบบ,    Dr. Ple, อ.ขจิต ฝอยทอง, คุณพ.แจ่มจำรัส, คุณ"พี่หนาน", คุณอักขณิช, คุณหนุ่มกร,อ.นุ, ดร.โอ๋-อโณ,คุณSr, คุณTuknarak,คุณVittaya low

          ขอบคุณมากนะคะที่ติดตามมาให้กำลังใจ และมาเยี่ยมชมบ้านยองโบราณ ถ้ามีโอกาสเชิญทุกท่านไปเยี่ยมชมได้นะคะ เจ้าของบ้านใจดีค่ะ  และยินดีต้อนรับเสมอค่ะ

ขอขอบคุณ ที่นำบ้านยองโบราณ มาแบ่งปัน ปัจจุบันหาดูได้ยากนะครับ

ขอบคุณค่ะคุณครูที่นำบ้านยองโบราณมาให้ชม ได้รู้จัก ได้เรียนรู้วัฒนธรรมจากภาพ

ไปลำพูนหลายครั้งค่ะ แต่ไม่ทราบว่ามีบ้านโบราณให้ชม คำว่ายอง เคยได้ยินสมัยเป็นเด็กว่านั่งยองๆ

แต่บ้านยองโบราณได้เห็นเป็นครั้งแรกค่ะ 

ดีจังเลยค่ะอนุรักษ์บ้านเรือนเก่าเล่าเรื่องราวในอดีตได้มากมาย..ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณเขียวมรกต

        ขออภัยที่มาตอบช้านะคะ    ด้วยภาระกิจมากมายทำให้ไม่ได้มาดูบันทึกเก่าๆค่ะ

บ้านโบราณปัจจุบันหาดูได้ยากจึงมีคุณค่ามากควรแก่การอนุรักษ์ และไปชมค่ะ

                                      ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะkrutoiting

  •   บ้านยองโบราณเป็นที่รู้จักทั่วไปในหมู่บ้านมะกอก อ.ป่าซางค่ะไม่ไกลจากวัดพระบาทตากผ้าค่ะ
  • คนยอง เป็นชนที่อพยพมาจากแคว้นสิบสองปันนาของจีนมาตั้งรกรากอยู่ที่ลำพูนเป็นส่วนมากบางแห่งก็เรียกว่าไทลื้อ
  • ในหมู่บ้านครูดาหลาก็พูดภาษายองเป็นส่วนมาก  ภาษาที่ใช้ในการพูดเสียงตามสายใน

     หมู่บ้านก็ใช้ภาษายองค่ะ แต่คนรุ่นใหม่มักจะพูดภาษายองไม่เป็นแล้วค่ะ

                                    ขอบคุณที่เข้ามาอ่านบันทึกนี้ค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณพี่ใหญ่ นงนาท สนธิสุวรรณ

             การอนุรักษ์บ้านเรือนเก่าทำให้ได้แหล่งเรียนรู้ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ที่ไม่

สิ้นเปลืองงบประมาณของรัฐค่ะ

เจ้าของบ้านยินดีต้อนรับทุกท่านที่ไปเยี่ยมชมบ้านยองโบราณค่ะ

                       ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท