เครือข่ายโรงพยาบาลสร้างสุข พัฒนาประเด็นร่วมและรูปแบบขยายผลสู่ปฏิบัติการ


 
 
 

เมื่อ ๒๔-๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๖ ผมไปร่วมเวทีของทีมประสานงานหลัก โครงการนำร่องการวิจัยและพัฒนารูปแบบ เครือข่ายโรงพยาบาลสร้างสุข ที่อิมพิเรียลเชียงใหม่รีสอร์ตแอนสปอร์ตคลับ กลุ่มผู้เข้าร่วมเวิร์คช็อป นำเอาผลของการทำงานไปแล้วระยะหนึ่งมาคุยและทบทวนบทเรียนไปด้วยกัน เพื่อค้นหาประเด็นปัญหาและความน่าสนใจ หรือวิเคราะห์ Needs-Assessment ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมและใช้ Empowerment Community-Based Research Approach พัฒนาเครื่องมือและกระบวนการประเมิน พัฒนาเครื่องมือสำหรับกำกับและติดตามผล เรียนรู้การปฏิบัติการต่างๆของตนเอง 
การพบปะและนั่งคุยกัน นอกจากได้แลกเปลี่ยนแบ่งปันประสบการณ์กันแล้ว ก็ได้นำเอาสิ่งต่างๆมาสื่อสารและปรึกษาหารือกัน ได้ประเด็นในการพิจารณา ซึ่งไม่ถึงกับเป็นข้อสรุปแบบเจาะจลงไปเลยทีเดียว หลายประการด้วยกัน ซึ่งผม ในฐานะที่ปรึกษา ขอนำมาบันทึกและแบ่งปันไว้ก่อนเป็นเบื้องต้น ดังนี้ .... 

  • แนวคิด และ Mental Model เกี่ยวกับความสุข มีความหลากหลาย และยังคงมีลักษณะมีชีวิต มีพลวัตร เคลื่อนไหว และมีความยืดหยุ่น เลื่อนไหล เปลี่ยนแปลง ขณะเดียวกัน แนวคิดเชิงทฤษฎีจากแหล่งประสบการณ์ภายนอก ตลอดจนการสังเคราะห์บทเรียนเบื้องต้น จากเครือข่ายเอง เมื่อใช้หน่วยดำเนินการระดับองค์กรและความเป็นชุมชนเชิงพื้นที่ระดับอำเภอเป็นฐาน ก็มีการรับรู้ที่ยังไม่เท่ากัน
  • กระนั้นก็ตาม ก็พอจะมีความชัดเจน และมีกลุ่มเครือข่ายแกนนำ ตลอดจนทฤษฎีและองค์ความรู้พื้นฐาน ที่หนักแน่นพอสมควร ที่พอจะสามารถชี้นำการริเริ่มและนำการเปลี่ยนแปลงในทางปฏิบัติด้วยกันในระยะต่อไปได้ ทำให้มีข้อที่ต้องพิจารณากับในสองแนวคิด คือ จะใช้เป้าหมายแบบเจาะจงเป็นตัวตั้ง แล้วดำเนินการ ติดตามกำกับและประเมินผล ไปสู่ความสำเร็จ สู่เป้าหมายที่ทำให้นิ่งและเจาะจงไปเลย หรือจะค่อยๆทำไปโดยเน้นกระบวนการ ให้ทุกมิติ รวมทั้งความค่อยๆชัดเจนไปบนความเป็นตัวของตัวเองขึ้นของเป้าหมายความเป็นองค์กรแห่งความสุขพร้อมกับการดำเนินไปของมิติอื่นๆเป็นวงจรหมุนเกลียวต่อเนื่องกันหลายรอบ
  • แนวคิดและรูปแบบดำเนินการ จะเปิดให้มีความหลากหลายและยืดหยุ่นไปตามองค์กรโรงพยาบาล ๓ แห่ง หล่มเก่า ท่าสองยาง และปางมะผ้า ซึ่งมีบริบทและสภาพแวดล้อมเชิงพื้นที่แตกต่างกันมากหลายมิติ โดยโรงพยาบาลหล่มเก่า ซึ่งมีการดำเนินการหลายอย่างนำร่องไปก่อน ช่วยเป็นที่ปรึกษา เป็นพี่เลี้ยง และเป็นแหล่งประสบการณ์ตั้งต้น เพื่อเปิดประเด็นการคิดและริเริ่มสิ่งต่างๆไปด้วยกันด้วยการจัดการเครือข่ายอย่างเป็นระบบ
  • การกำกับ ติดตามประเมินผล และบริหารจัดการให้มีมิติการเรียนรู้ไปบนปฏิบัติการต่างๆ รวมทั้งสร้างวงจรเพื่อวิเคราะห์ สื่อสารและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้งภายในองค์กรและระหว่างเครือข่าย ๓ โรงพยาบาล ควรจะดำเนินการบนหลักผสมกันหลายรูปแบบ หลายวิธีการ หลายระดับและหลายช่องทาง ทั้งการถอดบทเรียนบนการปฏิบัติ การบันทึกและสื่อสารบทเรียนอย่างมีส่วนร่วมทั้งออนไลน์และแบบออฟไลน์ การประเมินและกำกับด้วย External-National Standard ดังเช่น Happinometers การกำกับติดตามด้วย Hospital/Community-Based Indicaters รวมทั้งการทำ Meta-Analysis และ Impact Assessment Research ตามความเหมาะสมและตามแต่ละมิติที่มีข้อมูลเพียงพอ เหล่านี้เป็นต้น
  • ในการดำเนินการและวิธีขับเคลื่อนเชิงยุทธศาสตร์ ในระดับหน่วยย่อยระดับโรงพยาบาล ให้ดำเนินการไปอย่างคู่ขนาน พร้อมกับมีความเชื่อมโยง เกิดการปฏิสัมพันธ์และการได้สื่อสารทางการปฏิบัติไปด้วย มีแนวคิดในการสร้าง Research Team ที่มีความสามารถเป็น Moderator และ Facilitator บริหารจัดการการเรียนรู้และทำสิ่งต่างๆในโรงพยาบาล ด้วยทักษะ แนวคิด และวิธีคิด ที่สะท้อนการพัฒนาตนเองและนวัตกรรมการทำงานทางความคิดต่างๆที่ใส่เข้าไปในกระบวนการ ไม่ว่าจะเป้น Capacity Building Package จาก ๓ หลักสูตร ของอาจารย์ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์ สถาบัน Thaicivicnet Civicnet ผู้นำการเปลี่ยนแปลงในแนวใหม่ของหลักสูตร คศน. การถอดบทเรียนและวิจัยประเมินผลแบบเสริมพลังอย่างมีส่วนร่วม ของสถาบันสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล สื่อและเอกสารความรู้การเจริญสติภาวนาและการทำงานความคิดแบบโยนิโสมนสิการของพระพรหมคุณาภรณ์ เหล่านี้เป็นต้น
  • การสร้าง Collective Leadership และ Team Management เพื่อดำเนินการระดับโรงพยาบาลและระดับเครือข่ายนำร่อง มีแนวคิดที่จะดำเนินการขึ้นโดยนำเอาข้อมูลจากการถอดบทเรียนตลอดกระบวนการที่ผ่านมา มาวิเคราะห์ ค้นหาประเด็นศักยภาพ องค์ความรู้ปฏิบัติในตัวคนของทุกโรงพยาบาล พร้อมกับวิเคราะห์ความจำเป็นและประเด็นเชิงยุทธศาสตร์ แล้วพัฒนาเป็นหลักสูตร สื่อ เอกสารบทเรียน และคู่มือ เพื่อเวร์คช็อประชุมปฏิบัติการ สร้างทีม และสร้างประเด็นยุทธศาสตร์ ขับเคลื่อนการดำเนินงานและยกระดับการทำงานขึ้นจากบทเรียนที่มี ต่อไป
ในภาพรวมนั้น การวิเคราะห์ข้อมูลความต้องการและจำเป็น นับแต่รูปแบบวิธีคิด ประเด็นการทำงานเชิงยุทธศาสตร์และลำดับความสำคัญ เครื่องมือและโมเดลการกำกับติดตามและประเมินผล ทั้งโดยใช้ Happinometer ซึ่งอิง National และ Policy Standard กับ Hospital/Community-Based Conceptual Model and Indicators ซึ่งอิงบริบทเฉพาะขององค์กร กล่าวโดยสรุปได้ว่า การรู้จักและวิธีคิดในระยะริเริ่มนี้ ให้ความหมายต่อความสุขที่อิงไปกับปัจจัยภายนอกบุคคลมากกว่าปัจจัยด้านในซึ่งเป็นองค์ประกอบของสุขภาวะชีวิตด้านในและเป็นความสุขทางใจ โดยมีสัดส่วนประมาณร้อยละ ๖๕ : ๓๕ 
กลุ่มแนวคิดเชิงเป้าหมายที่เชื่อมโยงกับการระบุความสุข ประกอบด้วย ความสุขเกี่ยวกับตนเอง ความสุขเกี่ยวกับองค์กร ความสุขเกี่ยวกับครอบครัวและชุมชน ขณะเดียวกัน การมีแนวคิดที่พิจารณาไปตามบริบทเฉพาะของกลุ่มคนที่ต้องทำหน้าที่ดูแลความทุกข์และสร้างสุขให้กับผู้ป่วย ซึ่งไม่สามารถทำไปบนวิธคิดที่มุ่งได้ความสุขแก่ตนเองอย่างเดียว แต่สามารถแบกทุกข์และอดทนต่อการแก้ปัญหาให้กับประชาชนด้วย ดังนั้น แนวคิดที่มุ่งมีความสุขไปบนการทำงานด้วยความสามารถอดทนต่อความทุกข์ได้ จึงเป็นแนวคิดและวิธีคิดที่สอดคล้องกับการทำงานในหน่วยบริการสุขภาพ ซึ่งทั้งหมด ก็จะมีการนำมาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานส่วนหนึ่ง สำหรับทำการศึกษา วิเคราะห์และเปรียบเทียบ ก่อนและหลังดำเนินการสิ่งต่างๆต่อไปในระยะต่างๆ .

หมายเลขบันทึก: 543688เขียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2013 16:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กันยายน 2013 22:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

เป็นกระบวนการที่พัฒนาผู้ให้บริการบ่มเพาะสุขภาวะที่น่าสนใจ ผมเองก็เพิ่งเข้าไปเรียนรู้สุขภาวะในหลักสูตร คศน. คิดว่า น่าจะต้องเติมเต็ม Slow Knowledge มาบูรณาการกับ Mental Model ผมว่าประเด็นผู็นำสุขภาวะของท่านอ.วิจารณ์ก็น่าสนใจทั้งการพัฒนาในมิติปัญญา สังคม อารมณ์ จิตวิญญาณ และร่างกาย ผมถอดบทเรียนไว้ที่ http://www.gotoknow.org/posts/542966

ขอบคุณมากครับอาจารย์ 

รักและคิดถึงเสมอครับผม

สวัสดีครับอาจารย์ Dr.Pop ครับ
ในเวทีและเครือข่ายนี้ ก็คุยกันในประเด็นภาวะผู้นำ ทีมและลักษณะของผู้นำ ที่จำเป็นในการทำงานเชิงกระบวนการของเครือข่ายนี้กันมากทีเดียวอาจารย์ แต่ก็มีหลากหลายดี

  • บ้างก็มีความโดดเด่นในการใช้ภาวะผู้นำสำหรับการทำงานในแนวประชาคมและในแนวประชาคม นำอยู่ข้างหลังและหนุนการมีส่วนร่วมให้เกิด Active Participant และทุกคนต้องเห็นตัวเอง มีภาวะผู้นำมาจากตนเอง พร้อมกับร่วมกันสร้างสุขภาวะจากภาวะผู้นำเป็นกลุ่ม เป็นชุมชนปฏิบัติ ซึ่งก็ตอบโจทย์และสนองความต้องการได้ในบางกรณี
  • บ้างก็มีภาวะผู้นำทางวิชาชีพและถนัดในการทำงานแบบ Formal Structure มี Mental Model ต่อความสุขในลักษณะที่เป็น Cocrete Concept และถือเป็น Goal Oriented จึงมุ่งชี้แจงและขยายผลตัวแบบให้ได้ความร่วมมือที่มีความเบ็ดเสร็จ เจาะจง ซึ่งก็ครอบคลุมและใช้ได้ในบางกรณี
  • บ้างก็มี Mental Model ต่อความสุขแบบบุคลาธิษฐานและมุ่งปฏิบัติเรียนรู้แบบการสวมบทบาท Role Model ซึ่งก็มักจะให้ความสำคัญกับตัวแบบเชิงอุดมคติและ Best Practice ซึ่งก็จะนำการริเริ่มได้ในบางกรณีเช่นกัน
  • บ้างก็มี Mental Model ต่อการพึ่งตนเองและการพัฒนาการเติบโตให้งอกงามขึ้นของชีวิตด้านใน ก็สนใจการกระบวนการทางปัญญาและกระบวนการเรียนรู้ที่ตนเองจะสามารถเข้าถึงได้ด้วยการปฏิบัติ และอีกหลายอย่างครับ

ตอนนี้ เลยเป็นกระบวนการที่จะต้องผสมผสานการเรียนรู้ ที่ดำเนินไปกับการปฏิบัติ การสร้างความรู้ความเข้าใจ และการพัฒนาระบบกลไกที่จะบริหารจัดการให้พอดีกับบริบทของโรงพยาบาล ไม่ให้มากและน้อยไป ซึ่งตรงนี้ก็เป็นความยากอีกแหละ เพราะความพอดีก็ต้องเกิดจากการเรียนรู้และหารือไปด้วยกันเช่นกัน ก็น่าสนใจและเชื่อว่าจะดีขึ้นเรื่อยๆน่ะอาจารย์

เป็นโมเดลที่ดีมากครับ...เราต้องมีความสุขก่อนนะครับ...จะได้แบ่งเบาความทุกข์และสร้างสุขแด่ผู้อื่นได้ครับอาจารย์

เป็นสิ่งที่วาดหวัง สุขภาวะชุมชน คนหลากหลายอาชีพมาออกแบบความสุขร่วมกัน เชื่อมั่นสุขสร้างได้

หรือไม่ ก็มีความอดทนต่อทุกข์ที่จะสร้างสุขให้กับผู้อื่น แล้วก็(ได้ความสุข)ความเป็นจริงในชีวิตไปบนการได้แก้ทุกข์ให้กับผู้อื่นั้นไปด้วย อย่างนี้ก็เป็นแบบแผนที่พบได้มากเลยทีเดียวละครับ แพทย์ระดับผู้บริหารของเครือข่ายท่านหนึ่ง ดูแลผู้ป่วยดีมาก และในการทำงานในองค์กรก็เป็นที่รักใคร่ของเพื่อนร่วมงานมาก อีกทั้งยังเป็นคนรุ่นใหม่ มีโอกาสทำงานในเมืองและมีโอกาสก้าวหน้าในชีวิตอีกมากหากจะเลือก แต่ก็กลับเลือกกลับบ้านและไปอยู่ในโรงพยาบาลอำเภอที่ใกล้บ้านเกิดตนเอง เมื่อแบ่งปันเรื่องที่มีความสุขกัน ก็บอกว่าไม่รู้ว่าสิ่งที่เรียกว่าความสุขแบบที่คนทั่วๆไปกล่าวถึงนั้นคืออะไรด้วยซ้ำ เพราะเบื้องหลังในการทำหน้าที่แพทย์ของตนเองนั้น จำเป็นต้องทำเพื่อความสุขคนอื่น และสิ่งที่เป็นความต้องการของตนเองนั้นมาทีหลัง กระทั่งแทบจะไม่ได้คิดถึงเรื่องที่เป็นความสุขของตนเองเลย

บางครั้งก็ต้องวางมือและออกจากความเป็นส่วนตัวของตนเองทันทีเหมือนกำกับชีวิตนเองไม่ได้ เพราะถูกตามตัวเพื่อไปดูแลผู้ป่วย อีกทั้งไม่มีใครรู้เลยว่า เบื้องหลังอย่างหนึ่งที่หมอตัดสินใจกลับบ้านก็คือ ต้องการกลับไปดูแลสุขภาพของแม่ที่กำลังชราและกำลังป่วยอย่างหนักจากอัลไซเมอร์ ซึ่งทุกข์จากความเป็นลูกแล้วยังไม่พอ ก็ยังทุกข์ในฐานะที่ตนเองเป็นแพทย์ ช่วยคนอื่นได้แต่ช่วยแม่ตนเองไม่ได้ ช่วยได้ก็ไม่ต่างไปจากชาวบ้านทั่วไปที่แก้ทุกข์ให้แก่ตนเอง เช่น ครั้งหนึ่ง ก็ต้องพึ่งหมอดูให้กับแม่ ซึ่งความทุกข์อย่างนี้ ชาวบ้านก็คาดหวังจากตน คนเป็นหมอ ซึ่งก็มีความทุกข์ไม่น้อยไปกว่ากัน แต่ไม่สามารถกล่าวอย่างนี้ได้ ต้องเป็นที่พึ่งให้กับคนอื่นได้ดีกว่าทำให้ตนเอง

ครั้งหนึ่ง วางแผนล่วงหน้าตั้งนานที่จะขอลาหยุด เบื้องหลังนั้นก็คือจะพาแม่ไปพักผ่อนสัก ๒-๓ วัน แต่พอถึงเวลาจริงๆก็กลับเจอการตามตัวเร่งด่วนเพราะเกิดกรณีความจำเป็นของผู้ป่วยกระทัยหัน ในชนบทอย่างที่ทำงานก็ยากที่จะหาคนแทนกัน เลยก็ต้องยกเลิกวันลาและไม่สามารถพาแม่ไปเที่ยว ชีวิตการทำงานและเบื้องหลังการดูแลผู้อื่นก็ดำเนินมาอย่างนี้ ....

กรณีคล้ายๆอย่างนี้ เป็นแบบแผนที่พบมากเหมือนกัน แพทย์ พยาบาล คนงานเปล คนขับรถโรงพยาบาลหลายแห่งในเครือข่าย บอกว่าความสุขและทุกข์อย่างหนึ่งเกิดจากการจดจ่อกับความเป็นไปของผู้ป่วยและญาติที่ได้ส่งต่อไปอีกทีหนึ่งว่าจะเป็นอย่างไร พอได้ข่าวดีก็มีความสุข พอยังไม่รู้ข่าวคราวหรือได้ข่าวว่าแย่ก็ทุกข์ ....

สภาพการณ์ที่เป็นจริงและลักษณะประสบการณ์อย่างนี้ที่พบทุกเมื่อเชื่อวัน รวมทั้งเมื่อได้ dialogue คิดใคร่ครวญนิ่งๆ ได้เจริญสติและสร้างความลึกซึ้งต่อเรื่องต่างๆด้วยกันดีขึ้น แนวคิดและการตั้งคำถามว่า จริงๆแล้วเราต้องการความสุขเป็นเป้าหมาย หรือเราต้องการเรียนรู้เพื่อได้ความอดทนต่อทุกข์ มีชีวิตแข็งแกร่ง แล้วก็มีความสุขไปบนกระบวนการเหล่านั้น  มากยิ่งๆขึ้นไปตามกัน ซึ่งก็น่าสนใจและมีบริบทเฉพาะของผู้ปฏิบัติ ให้เห็นควาหมายอันแท้จริงเหนือสิ่งที่พยายามอธิบายกัน ได้ดีมากเลยละครับ

สวัสดีครับเฒ่าวอญ่าครับ
คิดถึง คิดถึงนะครับ

ดิฉันกำลังวางกรอบที่จะเขียนให้ผู้อ่านเข้าใจแนวคิด 'สุขภาพจิต' กับ 'สุขภาพแบบบูรณาการ' พยายามหาวิธีอธิบายเชื่อมโยงว่า สุขภาพแบบบูรณาการนั้นเป็นการบูรณาการสุขภาพทุกด้านเข้าด้วยกัน ไม่คิดแยกส่วน แต่มองภาพรวม เพราะกิจกรรมหนึ่ง ๆ สามารถพัฒนาคนและชุมชนได้หลายด้าน ทั้งสุขภาพดี ครอบครัวอบอุ่น เพิ่มเครือข่ายสังคม ส่งเสริมวัฒนธรรม ได้เงินใช้ และสุขภาพจิตก็ดีไปด้วย ฯลฯ เมื่อได้อ่านบทความนี้แล้วดิฉันประเมินตนเองว่า 'คิดยาก' เกินไป

หน่วยสังคมชุมชนด้านสุขภาพกายเขาวางแผนพัฒนาสุขภาพจิตเพื่อชุมชนของเขาเอง ก่อน ที่เราจะคิดรุกคืบออกไปนอกวงล้อมของตัวเองเสียอีก ดิฉันคงไม่ต้องเขียนเชื่อมโยงอะไรอีกแล้ว คืนนี้นอนหลับฝันดีแน่นอน 

ขอบคุณ อ.วิรัตน์ ค่ะ

 

อาจารย์ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ..

สวัสดีครับ ดร.ดารนีครับ

ขอบพระคุณและดีใจนะครับ ที่อย่างน้อยก็เหมือนได้ร่วมเป็นอีกแหล่งหนึ่งที่ได้มีปฏิสังสันทน์ทางความคิดให้กัน แล้วก็ได้มุมมอง ได้ความคิด และเห็นวิธีทำสิ่งที่ทำอยู่ ได้ดีขึ้น มุมมองและแนวคิด ทั้งที่วางไว้แต่เดิมกับที่เห็นมุมมองที่ต่างออกไปจากเดิม ก็คล้ายกับที่ในเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการที่ผมนำมาเล่าถ่ายทอดนี้เหมือนกันครับ  

สวัสดีครับลูกหมูเต้นระบำครับ
ขอบคุณเช่นกันครับที่แวะมาอ่านและทักทายกัน

ขอบคุณความรู้ที่แบ่งปัน ท่านอ.มองลึกและชัด

"

คนที่ต้องทำหน้าที่ดูแลความทุกข์และสร้างสุขให้กับผู้ป่วย ซึ่งไม่สามารถทำไปบนวิธคิดที่มุ่งได้ความสุขแก่ตนเองอย่างเดียว แต่สามารถแบกทุกข์และอดทนต่อการแก้ปัญหาให้กับประชาชนด้วย ดังนั้น แนวคิดที่มุ่งมีความสุขไปบนการทำงานด้วยความสามารถอดทนต่อความทุกข์ได้ จึงเป็นแนวคิดและวิธีคิดที่สอดคล้องกับการทำงานในหน่วยบริการสุขภาพ ซึ่งทั้งหมด"

อาชีพผู้ดูแลความทุกข์และสร้างสุขให้ผู้ป่วย เขาเหล่านั้นน่านับถือจริงๆ

จากบันทึกนี้ และข้อคิดเห็นของ Dr.Pop ดิฉันมาสะดุดใจที่คำว่า หลักสูตร คศน. ไปค้นหาอ่านใน web มีรายละเอียดมากเท่าที่ต้องการ สิ่งที่สำคัญคือพบว่า คศน.มีสิ่งที่คนทำงานต้องการมากที่สุด นั่นคือ เครือข่ายผู้นำและขุมพลังสนับสนุนมหาศาล เพื่อให้ผู้นำในเครือข่ายทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ได้ง่ายขึ้น

ดิฉันรู้สึกภาคภูมิใจแทนผู้นำที่ถูกคัดเลือกและผ่านหลักสูตรนี้มาแล้ว ไม่อิจฉาเลย แต่รู้สึกว่าตนเองตัวเล็กลง 'ตัวเล็กนิดเดียว' รู้สึกท้อแท้ขึ้นมากระทันหัน รีบลุกไปส่องกระจกเพื่อยืนยันความคิดเดิมว่า "75 กิโลไม่เล็กหรอก เตี้ยไปหน่อย แต่ก็ทำให้ใหญ่ขึ้น" เราเข้าไปใช้เครือข่ายและขุมพลังของเขาไม่ได้ (ก็ไม่ใช่ห้องสมุดสาธารณะนี่นา) แต่เราก็มองหาเครือข่ายของเราเองได้

อย่างน้อยตอนนี้ก็มี Dr.Pop กับ อ.วิรัตน์ รวมสองคนแล้วนะ อาจารย์ยินดีรับไว้ใช่ไหมคะ

สวัสดีครับคุณครู krutoiting ครับ
เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ ขอร่วมชื่นชมและแสดงความนับถือด้วยครับ

สวัสดีครับ ดร.ดารนีครับ
ด้วยความยินดีครับ อยู่ในกลุ่มน้ำหนักพอๆกันอีกด้วยครับ ฮ่า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท