farm@kasetpibul
งานฟาร์ม คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร ม ราชภัฏพิบูลสงคราม

ผลการใช้ซีโอไลต์ในการดูดซับธาตุอาหารพืชจากน้ำหมักชนิดต่างๆ เพื่อการเจริญเติบโตของผักคะน้า


ผลการใช้ซีโอไลต์ในการดูดซับธาตุอาหารพืชจากน้ำหมักชนิดต่างๆเพื่อการเจริญเติบโตของผักคะน้า

Zeolite Effecting for PlanNutrients Absorbtion from Bio-extracts on Growth of Chinese kale (Brassicaalboglabra)

โดย ดร.สาคร  สร้อยสังวาลย์ นายณัฐพงษ์  พรดอนก่อ นายเขมชาติ  เอี่ยมอ่อน

คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร  มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม พ.ศ. 2556

บทคัดย่อ

           ซีโอไลต์เป็นแร่ที่มีคุณสมบัติในการดูดซับสูงจึงมีประโยชน์อย่างยิ่งในการที่จะใช้ดูดซับธาตุอาหารจากแหล่งธาตุอาหารต่างๆ โดยเฉพาะในแหล่งที่มีธาตุอาหารสูงซึ่งจะทำให้ซีโอไลต์มีประสิทธิภาพสูงขึ้นการทดลองครั้งนี้จึงเป็นการศึกษาถึงผลการใช้ซีโอไลต์ในการดูดซับธาตุอาหารพืช จากน้ำหมักชนิดต่างๆเพื่อการเจริญเติบโตของผักคะน้าโดยศึกษาผลการเจริญเติบโตและผลผลิตของคะน้าจากการได้รับธาตุอาหารจากซีโอไลต์ 4ชนิด ได้แก่ ซีโอไลต์ที่ไม่ผ่านการดูดซับ ซีโอไลต์ที่ผ่านการดูดซับน้ำหมักชีวภาพผลไม้ซีโอไลต์ที่ผ่านการดูดซับน้ำหมักปัสสาวะ และซีโอไลต์ที่ผ่านการดูดซับน้ำหมักอุจจาระวางแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์ (RCBD) จำนวน 4 ทรีตเมนต์ๆ ละ 4บล็อก ดังนี้ ซีโอไลต์ที่ไม่ผ่านการดูดซับซีโอไลต์ที่ผ่านการดูดซับน้ำหมักชีวภาพผลไม้ซีโอไลต์ที่ผ่านการดูดซับน้ำหมักปัสสาวะ และซีโอไลต์ที่ผ่านการดูดซับน้ำหมักอุจจาระโดยใช้ในปริมาณ 20 กรัมต่อ 1 วงปลูก ทำการทดลองที่แปลงผลิตและทดลองฟาร์มผลิตพืช คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม(ส่วนทะเลแก้ว) จังหวัดพิษณุโลก ระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ. 2555 ถึงเดือนมิถุนายนพ.ศ. 2556 ผลการทดลองพบว่า การใช้ซีโอไลต์ที่ผ่านการดูดซับจากน้ำหมักชนิดต่างๆมีผลทำให้การเจริญเติบโตทั้ง 4 ด้าน มีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ (P<.05) โดยซีโอไลต์ที่ผ่านการดูดซับจากน้ำหมักอุจจาระมีผลทำให้การเจริญเติบโตทั้ง4 ด้าน ได้แก่ ด้านขนาดลำต้น ด้านความสูง ด้านความกว้างของใบ และด้านความยาวของใบของคะน้าสูงที่สุดเท่ากับ 1.86, 41.19, 16.45 และ 21.00เซนติเมตรตามลำดับ และการใช้ซีโอไลต์ที่ผ่านการดูดซับจากน้ำหมักชนิดต่างๆมีผลทำให้ผลผลิตของคะน้า มีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ (P<.05) โดย ซีโอไลต์ที่ผ่านการดูดซับจากน้ำหมักอุจจาระมีผลทำให้ผลผลิตสูงที่สุดเท่ากับ 99.95 กรัมต่อต้น






หมายเลขบันทึก: 543686เขียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2013 16:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 กรกฎาคม 2013 16:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท