กิจกรรมบำบัดศึกษา - Seminar ที่ดีทำอย่างไร


วันนี้ได้เห็นรูปแบบการสัมมนาของนักศึกษากิจกรรมบำบัด ม.มหิดล ชั้นปีที่ 4 ที่มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านการค้นหาและการอ่านเชิงวิพากษ์ (Critical Reading) จากกลุ่มเพื่อนที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกันหลังจากการนำเสนอเชิงวิชาการ (Academic Presentation) ในหัวเรื่องจากวารสารวิจัยภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะและผู้ที่มีความบกพร่องทางร่างกาย และ/หรือจิตสังคม ของแต่ละคนที่นำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงลึกระหว่างเพื่อนนักศึกษาและอาจารย์สาขากิจกรรมบำบัดไปก่อนหน้านี้ พร้อมมีการระบุแหล่งอ้างอิง (Citation of Reference) และการให้คะแนนคุณภาพของหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence Based Practice)

จุดสังเกตและประเด็นสำคัญที่ผมอยากแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในบันทึกนี้ เพื่อมุ่งให้เกิดการพัฒนากระบวนการเีรียนรู้ด้านกิจกรรมบำบัดศึกษาในประเทศไทย ซึ่งมีความต้องการนักกิจกรรมบำบัดในสถานพยาบาล โรงเรียน ศูนย์ และหน่วยงานการฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกาย ความคิดความเข้าใจ จิตสังคม และการพัฒนาความสุขและความสามารถในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต อ่านบทบาทนักกิจกรรมบำบัดแนวใหม่ ได้ที่นี่

 ในการสัมมนา หรือ Seminar แปลตรงๆ ว่า "ร่วมใจ" ถือเป็นการระดมความตั้งใจของนักศึกษาและอาจารย์ทุกท่านให้มีการจัดการความรู้ในหัวเรื่องต่างๆ ที่ผ่านการวิเคราะห์กระบวนการวิจัยและการสังเคราะห์ความรู้ในตัวตน อย่างไรก็ตาม ทั้งนักศึกษาและอาจารย์ควรเตรียมทัศนคติที่พร้อมต่อการ "ร่วมใจ" สู่การพบปะในหนึ่งหัวเรื่อง หรือ การประชุม (Conference - Meeting a topic) ที่ประกอบด้วยกระบวนการต่างๆ (4 C) ดังต่อไปนี้:-

1. Connector คือ การระดมสมองเพื่อค้นหา "ตัวเชื่อมความรู้ในที่ประชุม" ซึ่งเป็นคำสำคัญ กลไก แก่นความรู้ ความรู้เฉพาะ และคำอธิบาย ที่เชื่อมโยงในมิติหนึ่งและมีความหมายในเชิงวิชาชีพและวิชาการ เช่น ในกลุ่มแรกที่นำเสนอในวันนี้น่าจะเชื่อมโยงด้วยกลไกของการใช้สมองควมคุมการเคลื่อนไหว (Motor Control Mechanism) ระยะการฟื้นตัวทางการเคลื่อนไหว (Stages of Motor Recovery)  หรือ เทคนิค/แนวทางการฟื้นฟูสมรรถภาพทางระบบประสาท (Neurological Rehabilitation Techniques/Guidelines)

2. Common คือ การระดมสมองเพื่อค้นหา "จุดร่วม" ซึ่งเป็นนำเสนอความเหมือนกันของคำสำคัญในการศึกษาที่หลากหลาย เช่น ในกลุ่มแรกที่นำเสนอในวันนี้น่าจะมีจุดร่วม การศึกษาบุคคลที่มีความบกพร่องทางระบบประสาท (Study of People with Neurological Impairment)

3. Conclusion คือ การระดมสมองเพื่อค้นหา "บทสรุป" ซึ่งเป็นประเด็นที่ได้รับแบบบูรณาการความรู้ในการศึกษาที่หลากหลาย เช่น ในกลุ่มแรกที่นำเสนอในวันนี้น่าจะมีบทสรุปว่า เทคนิคที่ใช้ในการวิจัยประสิทธิผลของการบำบัดฟื้นฟูบุคคลที่มีความบกพร่องทางระบบประสาท มี 4 เทคนิค ซึ่งยังไม่มีการนำมาผสมผสานหรือเปรียบเทียบประสิทธิผลได้อย่างชัดเจน แต่ละเทคนิคจะใช้ในบริบทและระยะการฟื้นตัวทางการเคลื่อนไหวในแต่ละบุคคล

4. Convey คือ การนำพาความรู้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ ซึ่งในทางคลินิกกิจกรรมบำบัด แบ่งความรู้ออกเป็น 2 ระดับ

ได้แก่ 1) ความรู้ที่ได้มาอย่างรวดเร็ว (Fast Knowledge) ถือเป็นการต่อยอดความรู้ที่มีอยู่แล้วในวิชาชีพกิจกรรมบำบัด (Clinical Implication) เช่น การบังคับการเคลื่อนไหว หรือ Constrain-Induced Movement ที่เพิ่มเติมจากการบำบัดฟื้นฟูทางระบบประสาท 

          2) ความรู้ที่ได้มาอย่างช้าๆ (Slow Knowledge) ถือเป็นการต่อเติมให้มีความรู้ใหม่ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในวิชาชีพกิจกรรมบำบัดในอนาคต เช่น การปรับรูปแบบการบังคับการเคลื่อนไหว หรือ Modified Constrain-Induced Movement ที่คำนึงถือบริบท (Contextualization) 

และสุดท้าย ดร.ป๊อป หวังอย่างยิ่งใหญ่ในชีวิตหนึ่งนี้ ว่า นักศึกษาและอาจารย์สาขากิจกรรมบำบัด ม.มหิดล จะมีความรู้ที่งอกงามขึ้นอย่างไม่เร็วไม่ช้า และมีการสะสมประสบการณ์ทางวิชาชีพกิจกรรมบำบัดร่วมกับทักษะชีวิตของแต่ละจิตวิญญาณ พร้อมที่จะอดทน เสียสละ มีความเมตตากรุณา และมีจิตอาสาในการพัฒนาระบบการให้บริการทางกิจกรรมบำบัดร่วมกับทีมสหวิชาชีพ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยทุกช่วงวัยที่มีหรือไม่มีความบกพร่องทางร่างกาย และ/หรือจิตสังคม ให้มีความสามารถในการดูแลตนเอง การศึกษา การทำงาน การพักผ่อน การใช้เวลาว่าง และการเป็นพลเมืองดีของสังคมไทย



หมายเลขบันทึก: 543687เขียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2013 16:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 กรกฎาคม 2013 16:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

เรียนรู้หลายอย่างจากบันทึกนี้ครับ...ชอบกับคำว่า..." ความรู้ที่ได้มาอย่างช้าๆ (Slow Knowledge)" มากครับอาจารย์

ยินดีและขอบคุณมากครับคุณทิมดาบ

ได้อ่าน ได้เข้าใจ คิดว่านำมาใช้ได้กับทุกสถานการณ์นะคะ

ขอบคุณมากมายค่ะ 

มีความสุขกับมื้อค่ำวันนี้ค่ะ

พี่ กร.ป๊อบงอกงามแน่เลย กิจกรรมบำบัดเห็นจากร้อยยิ้ม นศ. แต่ะคน ...

ขอบคุณมากครับคุณลูกหมูเต้นระบำ

ขอบคุณมากครับสำหรับกำลังใจจากอ.นุ 

ต่อยอดช้า ๆ  เพิ่มเติมจากประสบการณ์  ขอบคุณมากค่ะ

 

 

 

 .... ขอบคุณมากค่ะ กับ ความรู้ดีดี 4 C ในกระบวนการประชุม ....ที่มีคุณภาพ ..... ขอนำไปใช้บ้างนะคะ

ยินดีและขอบคุณมากครับพี่ดร.เปิ้น 

โชคดีจังเลยที่ได้อาศัยเรียนรู้ไปด้วย

และอยากเรียนให้ทราบว่าความรู้เรื่อง

การใช้ผ้าขนหนูหนุนศีรษะนอนนั้น

ได้นำไปใช้แล้วกับผู้มีปัญหา 3 ราย

ขออนุโมทนากุศลบุญที่รับมาส่งมอบให้แล้วนะคะ

โอ้ ยินดีมากเลยครับคุณครูต้อย ขอบพระคุณมากครับ และขออนุโมทนาบุญเช่นกันครับผม

พี่สนใจเรื่อง กระบวนการเรียนรู้ค่ะ

คิดว่าไม่ว่าจะศัพท์เทคนิคอย่างไร  ความหมายแท้จริงคือ  การเรียนรู้ที่ดีเป็นการเรียนรู้ร่วมกันโดยกลุ่มนะคะ เพราะเกิดความหลากหลายและสนุกด้วย

เห็นด้วยว่า เรียนรู้หลากหลาย สนุกสนาน และเกิดปัญญาปฏิบัติแบบกลุ่ม ขอบคุณคุณ Nui มากครับผม

การได้อ่านบทความของอาจารย์ป๊อบในหัวข้อ "กิจกรรมบำบัดศึกษา - Seminar ที่ดีทำอย่างไร"

ทำให้ ผมได้รับความรู้ในเรื่องของการเรียนแบบ"ร่วมใจ" หรือ Siminar ว่า

การจะทำสัมนาที่ดีนั้นต้องมีองค์ประกอบ4 อย่าง และที่สำคัญในหัวข้อที่4 ที่บอกว่า มีการนำไปประยุกต์ใช้ในวิชาชีพ

ซึ่ง ผมคิดว่าการนำความรู้ไปใช้แบบ Slow Knowledge นั้นมีความสำคัญมากต่อไปในอนาคต

เพื่อนำไปปรับใช้ให้เหมาะกับผู้รับบริการทุกๆคนและทุกๆบริบทได้อย่างมีคุณภาพและมีเป้าหมาย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท