จาก gotoknow สู่ gotogrow...จาก...รู้อะไรต่อมิอะไร...สู่...ปลูกอะไรต่อมิอะไร...


ผู้เขียนได้มีโอกาสไปร่วมงานครบรอบ ๓๐ ปีของคณะสังคมศาสตร์ มหาจุฬาฯ ที่วังน้อย อยุธยา เมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๖ ที่ผ่านมา จึงเก็บภาพและถ้อยคำจากบางห้วงตอนขององค์ปาฐกมาฝากชาวโกทูโนว์ทั้งหลาย โปรดพึงสะดับและทัศนา ณ เพลานี้พร้อมกันพลัน  

 

                                      อลังการสมชื่อ "มหาจุฬา"

พระพรหมบัณฑิต (ศ.ดร.ประยูร ธมฺมจิตฺโต) เจ้าอาวาสวัดประยูรวงศาวาสวรวิหาร, อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, กรรมการมหาเถระสมาคม,เจ้าคณะภาค ๒, องค์ปาฐกเรื่อง "กระบวนทัศน์ทางสังคมศาสตร์กับประชาคมอาเซียน" ( 'Paradigm of Social Sciences and Asean Community' ) 

พระพรมบัณฑิตได้บอกกล่าวกับที่ชุมนุมชาวสังคมศาสตร์ในวันนั้นว่า "สิ่งสำคัญที่เราต้องเตรียมให้พร้อมสำหรับการเชื่อมโยงสัมพันธ์กับชาวอาเซียนคือภาษา และต้องเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น
เพราะข้อตกลงร่วมของอาเซียนจะใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสื่อกลาง ไม่จำเป็นต้องไปเรียนภาษาของประเทศใดประเทศหนึ่งให้เสียเวลา เพราะหากเรารู้แค่ภาษาเดียว ก็ยากที่จะติดต่อสื่อสารกับประเทศนอกเหนือจากนั้นได้
ภาษาอังกฤษเป็นภาษา business เป็นภาษาสื่อนำของโลก ทุกวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ต่างมุ่งหน้าสู่ภาษาอังกฤษทั้งนั้นเลย ใครรู้ภาษาอังกฤษมากย่อมได้เปรียบ เพราะภาษานี้ได้รับการยอมรับจากทั่วทุกมุมโลก"

พระพรหมบัณฑิตยังให้ข้อมูลเสริมอีกว่า "พวกเราทราบไหมว่า พยาบาลคนไทยที่ไปทำงานในอเมริกามีหัวหน้าพยาบาลเป็นชาวฟิลิปปินส์เสียเป็นส่วนใหญ่ มิใช่เพราะว่าพยาบาลไทยขาดไร้ซึ่งศักยภาพในการทำงาน
ปฏิบัติการการพยาบาลเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง แต่มีเพียงเหตุผลเดียวเท่านั้นที่พยาบาลไทยต้องไปเป็นลูกน้องเขาคือ ภาษาอังกฤษไม่แข็งแรง ! คนไทยต้องเปลี่ยนกระบวนทัศน์จากเก่าเป็นใหม่ (Paradigm shift) ได้แล้วว่า "เพราะเราไม่เคยเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเราจึงไม่เก่งภาษา” หรือ “ภาษาอังกฤษไม่ใช่ภาษาพ่อภาษาแม่เรา จึงไม่จำเป็นต้องเรียน” ขอให้เปลี่ยนเป็นกระบวนทัศน์แบบใหม่ว่า “แม้จะไม่เคยเป็นเมืองขึ้นของใคร แต่คนไทยก็พูดอังกฤษได้” และ “แม้ภาษาอังกฤษไม่ใช่ภาษาพ่อภาษาแม่ของเรา แต่มันคือสิ่งที่จะทำให้พ่อแม่เราอยู่รอดปลอดภัย
ก้าวทันโลกได้ ไม่ตกยุค”


องค์ปาฐกยังได้ยกตัวอย่างว่า “ไดโนเสาร์ ๑ ตัวมีพละกำลังเท่ากับช้างจำนวน ๑๐ เชือก แต่ไดโนเสาร์ก็สูญพันธุ์ไปจากโลกนี้แล้ว เพราะไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ๆ ได้ แต่ช้าง ๑๐ เชือกยังอยู่ได้ถึงปัจจุบัน เพราะช้างพร้อมที่จะปรับตัว” (To change ‘old paradigm to the new one” is a must for Thai people who are unable to avoid countering with situation of globalization.)  

 

 

ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้าและอุปนายกราชบัณฑิตยสถาน
มาบรรยายถวายความรู้กับชาวสังคมศาสตร์ มจร. ในหัวข้อเรื่อง “พระพุทธศาสนากับความมั่นคงของชาติ”

ในการบรรยาย องค์ปาฐกกล่าวว่า “จากการศึกษาเรื่องราวด้านความอยู่รอดของพุทธศาสนาจากพระไตรปิฎกนั้น
พบว่า ความอยู่รอดปลอดภัยของพุทธศาสนานั้น ขึ้นอยู่กับพุทธบริษัททั้ง ๔ กล่าวง่ายๆ คือ ขึ้นอยู่กับโยมและพระนั่นเอง พุทธศาสนาเป็นสมบัติกลางของทุกคน ทุกคนต้องช่วยกันรักษา ยามใดที่เกิดวิกฤติกับศาสนาก็อย่าโยนกลองกันไปมา ให้ร่วมกันพิทักษ์รักษา ร่วมกันแก้ไขหาทางออก หากโยนกลองกันไปมา การบรรเลงเพรงรักสามัคคีก็จะไม่เกิดขึ้น เพราะที่ผ่านมาเรามักจะถือ paradigm กันแบบเดิมๆ ว่า “ชั่วช่างชี ดีช่างสงฆ์” ผลจากการมีกระบวนทัศน์เช่นนี้ เลยกลายเป็นว่า หากมีปัญหาอะไรก็ให้พระแก้ปัญหากันเอาเอง โยมไม่เกี่ยว ต่อนี้ไปต้องมี paradigm shift คือ ช่วยกันสร้างกระบวนทัศน์ใหม่ว่า “พุทธศาสนาเป็นสมบัติของทุกคน ต้องร่วมกันรับผิดชอบ” โดยวิธีคิดเช่นนี้มันก็จะเป็นปัจจยาการแห่งความอยู่รอดของพุทธศาสนา และจะส่งผลต่อความมั่นคงของชาติ เพราะพุทธศาสนาเป็นฐานหลักของวัฒนธรรมไทยทั้งระบบ

 

 

ปาฐกถาที่ ๒ ปราชญ์ดังเอ่ยนามไปแล้วบรรยายในวันนั้น ทำให้ผู้เขียนเกิดความตระหนักซาบซึ้งในคุณค่าของการศึกษาเรียนรู้และพัฒนาการของมนุษย์เป็นอย่างมาก ทั้ง ๒ ปราชญ์ไม่ได้เกิดในนครบาล แต่เกิดในภูธรทั้งคู่ เพราะการศึกษาคือเครื่องมือที่สามารถช่วยยกระดับฐานะชีวิตของคนให้สูงขึ้นแท้ๆ เด็กจากภูธรจึงแจ้งเกิดในมหานครได้

ขอเพียงแค่มีโอกาส ความสามารถของมนุษย์ก็จะไม่ถูกฝังกลบ !

ยังไม่ทันหายปลื้มจากการฟังเนื้อหาการบรรยายในงานครบรอบ ๓๐ ปีของคณะสังคมศาสตร์ พอกลับมาถึงวัด พระลูกวัดก็นำเอาซองไปรษณีย์มาถวาย เห็นจ่าหน้าทั้งผู้ส่งและผู้รับแล้ว ก็เกิดอาการปลื้มปีติขึ้นอีกหน
และรับทราบในบัดดลว่า “อาจารย์ขจิต ฝอยทอง” ได้ดำเนินการจัดส่งเมล็ดพันธุ์ผักมาให้แล้วภายใต้พันธสัญญาที่ให้ไว้ในโกทูโนว์เมื่อเดือนก่อน

ขอบคุณจริงๆ สำหรับมิตรภาพบนพื้นที่ของบรรณพิภพแห่งนี้ จึงเป็นที่มาของชื่อบันทึกวันนี้ว่า

“จาก ‘Gotoknow’ สู่ ‘Gotogrow’ จาก “รู้อะไรต่อมิอะไร” สู่ “ปลูกอะไรต่อมิอะไร”

 

ขอบคุณอาจารย์ขจิต ฝอยทอง ยิ่งแล้ว ขอบคุณอนุโมทนาบุญจริงๆ

 

เชิญพบกับการแปรรูปจากเมล็ดพันธุ์สู่ลำต้นกิ่งก้านสาขาที่นี่ได้ เร็วๆ นี้

 

ด้วยไมตรีอันวิจิตรงดงามยิ่งแล้ว


พระมหาอัมพร ชุตินฺธโร

หมายเลขบันทึก: 541043เขียนเมื่อ 1 กรกฎาคม 2013 12:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 กรกฎาคม 2013 13:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

กราบนมัสการพระคุณเจ้า

เป็นบันทึกดีๆ ครับอยากให้หลายๆคนอ่าน อย่างวรรคนี้

“แม้จะไม่เคยเป็นเมืองขึ้นของใคร แต่คนไทยก็พูดอังกฤษได้” และ “แม้ภาษาอังกฤษไม่ใช่ภาษาพ่อภาษาแม่ของเรา แต่มันคือสิ่งที่จะทำให้พ่อแม่เราอยู่รอดปลอดภัย
ก้าวทันโลกได้ ไม่ตกยุค”

เจริญพร พ.แจ่มจำรัส

 

อย่างหนึ่งที่ลืมไปคือ การกล่าวแสดงความยินดีกับรางวัลสุดคะนึงที่ พ.แจ่มจำรัสได้รับเมื่อเร็วๆ นี้ ขอแสดงความยินดีย้อนหลังไว้ ณ ตรงนี้เสียเลย และขอขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมเยียนกลายเป็นแขกเจ้าประจำไปโดยปริยาย

คงได้พบกันอยู่เรื่อยๆ บนโลกไซเบอร์แห่งนี้

 

เจริญพร

 

พระมหาอัมพร ชุตินฺธโร

สาธุๆๆครับท่าน

ดีใจที่ท่านจะได้ปลูกผักเพิ่ม เห็นที่ท่านปลูกไว้ครั้งแรกงามมากๆ

ไปมหาจุฬาฯ บ่อยอยากไปกราบท่านพระพรหมบัณฑิต (ศ.ดร.ประยูร ธมฺมจิตฺโต)

แต่ยังไม่มีโอกาสเลยครับ

ดูที่

http://www.gotoknow.org/posts/436216

http://www.gotoknow.org/posts/455773

http://www.gotoknow.org/posts/437868


เมล็ดพันธุ์ที่อาจารย์ขจิตส่งมาให้พระอาจารย์ เป็น "เมล็ดพันธุ์แห่งมิตรภาพ" ที่ไร้พรมแดนนะครับ   555

นมัสการท่าน รอดูเมล็ดผักเจริญงอกงามครับ

เย้ๆๆ

นมัสการครับ

หายดีแล้วหรือครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท