ชื่อนั้นมันผิดฤาไฉน


เชียงราย....คำนี้เขาเถียงกันมานานว่ามาจากอะไร ผมว่ามาจากคำว่า เชียง+รายา แปลว่า เมืองแห่งพระราชา คำว่า รายา กับ ราชา นั้นเป็นคำเดียวกัน

ชื่อนั้นมันผิดฤาไฉน


๒๕ ปีที่ผ่านมา ผมได้คิดวิเคราะห์เรื่องชื่อเมือง สถานที่ไว้มาก วันนี้ขอนำมาสรุปไว้ ณ ที่เดียวกัน  เพื่อให้ง่ายต่อการอ่านของท่านผู้สนใจด้านภาษา ประวัติศาสตร์ (ซึ่งวันนี้มีน้อยมาก) 


พาหุรัด  (ย่านค้าขายเก่าแก่ในกทม.  เกาะรัตนโกสินทร์  มีแขกขายผ้ามากที่สุด ติดกับสำเพ็ง)  ....ผมคิดไว้เมื่อประมาณ พศ. ๒๕๓๓ ว่า  มาจาก คำว่า   ภารตะ  ซึ่งคนไทยเราใช้เรียกแดนอินเดียนั่นเอง  ผมเอะใจครั้งแรก ก็คือ ภาษาฝรั่งสะกด ภารตะ ว่า  bharat (ออกเสียงประมาณ ว่า  บฮาหรัด )  พวกแขกยุคแรกๆ คงเรียกว่า บฮาหรัด และคนไทยออกเสียงเป็น บาฮาหรัด  แล้วเพี้ยนมาเป็น พาหุรัด ในที่สุด   


ละโว้....เป็นสิ่งหนึ่งที่ผมภูมิใจมากที่คิดได้ (เป็น usa ผมคงได้ปริญญาเอกกิตติมศักดิ์ด้านภาษาไปแล้ว แต่ที่นี่ประเทศไทย ..โพสต์แทบตายยังมีคนอ่าน ตั้ง ๒๕ คนแน่ะ)    เพราะค้านกับนักวิชาการอักษรศาสตร์ ประวัติศาสตร์  โบราณคดีทั่วประเทศ และทั่วโลก  ที่เชื่อตามการวิเคราะห์ของ จิตร ภูมิศักดิ์มานานกว่า ๕๐ ปี ว่า คำว่า ละโว้ (เมืองลพบุรี) นี้มาจากภาษามอญ ว่า “ลูโว”  แปลว่า ภูเขา  แต่ผมว่าเป็นภาษาแขก  มาจาก ลวฺ  (ละวะ)  แปลว่าน้ำ  ดังที่มีการจารึกเสมอว่า ลวปุร (ละวะบุรี)  แล้ว ว กับ พ นั้นแทนกันได้  ก็กลายเป็น ลพปุร (ละพะปุร )  และกลายเป็น ลพบุรี (ลบ-บุรี) ในที่สุด....ส่วนละโว้ นั้นมาจากการพยายามทำให้เป็นแขกมากยิ่งขึ้น  เลย เอา ลว+อุทัย+ปุระ  =  ลโวทัยปุระ  พอตัดสั้นๆ  ก็กลายเป็น ลโว  หรือ ละโว้  นั่นเอง  (สุโขทัยยังเอาแบบ สุข+อุทัย = สุโขทัย)   อักษรว่า “ลโวทยฺปุร”  ยังมีสลักอยู่บนเหรียญเงินโบราณยุคทวาราวดี  ...เรื่องนี้ฟันธงร้อยปซ. ว่าไม่ผิด  เอาคอเป็นประกัน  ละโว้  มาจาก ลว+อุทัย

ละว้า....เป็นชนเผ่าที่มีชื่อระบาดทั่วหน้าประวัติศาสตร์ พงศาวดาร  ไม่รู้ว่าเป็นใครแน่  ผมเลยขอเดาว่าเป็นชาว  ละวะปุระ นี่แหละ  ซึ่งเป็นพวกเดียวกับพวก ขอม  มอญ  ซึ่งเป็นพวกเดียวกับ สยำ นี่แหละ  (มอญ  ขอม ไม่ได้หายไปไหน แต่กลายมาเป็น สยำ นี่แหละ) 


เชียงราย....คำนี้เขาเถียงกันมานานว่ามาจากอะไร  ผมว่ามาจากคำว่า เชียง+รายา  แปลว่า เมืองแห่งพระราชา  คำว่า รายา กับ ราชา นั้นเป็นคำเดียวกัน  เพียงแต่จะออกเสียงหนักหรือเสียงเบาเท่านั้นเอง  ทางอินโดนีเซียจะออกเสียงว่า รายา เสมอ  แต่บางที่ก็ออกเป็น ราจา ก็มี  ส่วนคนไทยเรานิยมตัดสระอาด้านท้ายออก  ดังนั้น ราชา ก็เป็น ราช (ราด)  รายา ก็เป็น ราย ...วันนี้ยังมีหมู่บ้านโบราณ ห่างจากตัวเมืองเชียงรายออกไปทางเชียงแสนสัก ๑๐ กม.  ชื่อว่า  สุวรรณรายา  (ยังไม่ตัดสระอาออก) 


มังราย...พระยามังราย เม็งราย  ก็เช่นกัน มาจาก  มัง+รายา แปลว่า  เป็นเจ้าแห่งชาวมัง  ซึ่งพงศาวดารก็ได้จารึกไว้ว่า ดินแดนแห่งนี้เมื่อก่อนเป็นดินแดนของชาว มง  ซึ่งนักประวัติศาสตร์เชื่อกันว่าเป็นชาว มอญ  (ผมก็เชื่อด้วย) 


ชัยนาท...ชื่อนี้ยากที่สุดในการถอดรหัสชื่อเมืองของผม ...ชาวเมืองวันนี้เขาเชื่อกันง่ายๆว่า คือ ชัยชนะที่ดังกึกก้องกัมปนาท..(แล้วหดเหลือแค่ชัยนาท)  แต่ผมไม่เชื่อ  ผมเชื่อว่ามาจากคำ แขก  ว่า “ศรีจนาศะ” (อ่านว่า สีจะนาสะ )  เมืองนี้เป็นเมืองโบราณที่มีเอ่ยสรรเสริญไว้มากในศิลาจารึกขอมโบราณยุค ๑๒๐๐ ปีก่อน  แต่นักวิชาการแตกออกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งว่าคือเมืองศรีเทพ (อ.ศรีเทพ จ. เพชรบูรณ์)  อีกฝ่ายว่าคือ เมืองเสมา (อ.สูงเนิน จ.โคราช หรือ อังกอร์ราช)  ...... แต่ผมว่าคือ ชัยนาท  เพราะถ้าเราตัด ศรี  ซึ่งเป็นเพียงการยอยศออก  จะเหลือ จะนาสะ  แต่คนไทยชอบตัด อะ ท้ายออก ก็เหลือ จนาศ  (ออกเสียงว่า จะนาด)  ต่อมาก็เลยเพี้ยนเป็น ชัยนาท  เพื่อสร้างความหมายใหม่ ...ยิ่งเมืองนี้เก่าแก่มาก ประมาณ ๓ พันปี มีแหล่งโบราณคดีมากมาย  ก็ยิ่งเป็นไปได้มาก ...เพื่อผมคนหนึ่งจบวิดวะจุฬาเกียรตินิยม นั่งทางในแล้วยังบอกว่า พพจ. ตรัสรู้ที่ชัยนาทนี่แหละ  (ไม่เชื่ออย่างเพิ่งลบหลู่)


สระบุรี....ผมว่าชื่อเดิมน่าเป็น สุรบุรี  (เมืองที่เข้มแข็ง)  เหตุผลให้ไว้แล้วในบทความก่อนๆ 


ปู่เจ้าเพิ่นว่า....เป็นท่อนหนึ่งของคำร้องในเพลง ไทยดำรำพัน  ซึ่งวลีนี้มีการถอดความหลากหลายมาก  เช่น  สูเจ้าเพินว่า  ...ผมนั่งฟังถอดความอยู่เป็นร้อยเที่ยว สรุปว่า คือ  “สู่เจาสอนลา”  ...หมายความว่าคนไทยดำ (เด็กสตรีคนชรา)  จากเมืองแถน (เดียนเบียนฟู)  อพยพหนีสงครามกู้เอกราชกับฝรั่งเศส  ไปสู่เมือง “เจาสอนลา”  (chou son la )  ซึ่งเป็นเมืองใหญ่อีกเมืองของคนไทยในเวียตนามเหนือ  ไปค้นประวัติศาสตร์ แม้ในวิกิพีเดียง่ายๆ   ก็เจอแล้วว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องจริง ...ส่วนคำว่า เจาสอนลา นี้น่าจะเป็นคำไทย เช่น อาจคือ เจ้าเชิญหล้า  เพราะเนื้อเพลงไทย ออกเสียงว่า  สูเจ้าเซินหล่า  (เซิน ในสำเนียงไทยลาว ก็คือ เชิญ นั่นเอง) 


ลังซัน  เกาบัง...ในเวียตนามเหนือ ก็เป็นเมืองที่มีคนเผ่าไทยมาก  ผมว่าเป็นชื่อไทยแน่ๆ  และน่ามาจากรากศัพท์ว่า หลังสัน  เขาบัง 

ในเมืองจีนตอนใต้ก็มีเมือง...คุนหมิง (เมืองหลวงยูนนาน) ...ซึ่งผมว่าน่ามาจาก  ขุนมิ่ง  ส่วนเมืองเชียงรุ่ง วันนี้คนจีนเขาเรียกว่า  จิงฮอง ไปแล้ว  แม่น้ำล้านช้างที่ผ่าน จิงฮอง ก็เรียกว่า  ลันคัง  อีกหน่อยจะเพี้ยนไปยิ่งกว่านี้ แล้วจะมีใครถอดความออกแบบ ศรีจนาศะ ไหม


เซี่ยงไฮ้...นั้นผมว่า คือ เชียงราย นี่แหละ  เพราะคนลาว ราย ก็เป็น ฮาย  เชียง ก็ เซียง  ...กวางตุ้ง  อาจมาจาก แขวงทุ่ง  ..ผมเคยถามเพื่อนจีนว่า กวางแปลว่าอะไร เขาบอกว่าแปลว่า บริเวณกว้างขวาง  ก็ตรงกับเราเลย  กวางตุ้ง อาจเป็นคำไทยแปลว่า ทุ่งกว้าง  ..แถบนี้คนไทยทั้งนั้น  การนับเลขชาวกวางตุ้งกับชาวไทยยังคล้ายกันมากเลย  dna ก็ว่าคล้ายกัน  ...สังเกตเมืองแถวนี้มีกวางเยอะมาก  กวางตุ้ง กวางสี  กวางโจว


สยาม...ผมขอเสนอว่ามาจาก คำว่า  สวายามภูวา  ซึ่งเป็นชื่อท้ายของพระบิดาของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๕  (หรือที่ ๖ หนอ ชักลืมไปแล้ว)  ที่เสด็จจากพิมายมาครองนครวัด  โดยมีทหารจากพิมายมาช่วยยึดอำนาจ แล้วอยู่ประจำ  (เรื่องนี้ยาวมาก สนใจลองหาอ่านดูในเรื่อง  ขอม สยาม เขมร ของผมนะครับ เขียนไว้หลายตอนมาก ) 


เขมร...ให้บังเอิญเหลือเกิน ที่ ศ.ดร. เซเดย์ (นักวิชาการฝรั่งเศสเจ้าเล่ห์)  ก็มามุกเดียวกับผมเลย  (โดยมิได้นัดหมาย) โดยเขาว่า คำว่า “เขมร”  มาจากชื่อบิดา มารดา ของ ชย. ๕ (หรือ ๖ เนี่ย)  เพราะบิดาชื่อ กัมพู  สวายามภูวา  ส่วนมาราดาชื่อ นางเมรา ดังนั้น เขมร = กัมเมรา =  กัมพู + เมรา  นั่นแล  ...โหยเชื่อมเก่งจังนะ เซเดย์ (คนอ่านหลักศิลาจารึกพ่อขุนรามของเราซะด้วย ยิ่งน่าเชื่อเข้าไปใหญ่  ส่วนนักวิชาการไทยอ่านไม่ออก  ภาษาพ่อแม่แต้ๆ ก็เชื่อเซเตย์ไปตามๆกันมาจนวันนี้ ) 


กัมโพช คือ สยาม (พม่า ล้านนา เรียกกัมโพชหมด) ....ผมค้นไปทั่ว พบว่า พงศาวาดาร พม่า  และ ล้านนา เรียกประเทศไทยว่า แคว้นกัมโพช  ส่วนเมืองหลวงนั้น ล้านนาเรียกอยุธยาว่า อโยชชปุระ  ส่วนพม่าเรียกว่า โยเดีย  ...เรื่องนี้ใหญ่มาก  แต่นักประวัติฯ อักษร ไทยยังไม่สำเหนียก  แสดงว่า ประเทศกัมพูชา (กัมโพช) นั้นหมายถึงสยาม ไม่ใช่เขมร  (เรื่องนี้ก็ยาวมาก ๆ  ผมเขียนแจงแสดงว่าความไว้ในบทความเก่าๆ  เรื่อง ขอม สยาม เขมร ไว้แล้ว  สนใจไปหาอ่านกันดู  แต่จะมีใครสนใจไหมน้อ..)


สยำกุก  สีกุก สมโบร์ไพรกุก....ดูเหมือนผมจะทะเลาะกับ จิตร ภูมิศักดิ์ มากที่สุด ทั้งที่เคารพท่านมาก แต่จิตรว่า สยำกุก คือ สยามมาจากแม่น้ำกก (เชียงราย) ซึ่งผมไม่เชื่อเด็ดขาด  เพราะคำว่า กุก นี้มีอย่างน้อยอีกสองแห่ง คือ วัด สีกุก  (ริมเมืองอยุธยา)  และ เมืองโบราณ (ในเขมร )  ชื่อ สมโบร์ไพรกุก  ซึ่งนักอักษรไทยแปลกันว่า  สมบูรณ์  ป่า(ไพร)   แต่ผมแปลว่า เมืองแห่งชาว สม  (สมโบรี ไพรกุก)  ..เมืองนี้สร้างวัดเหมือนศรีเทพยังกะแกะ  มียักษ์แคระแบกกำแพงด้วย  โบร์ คือ บุรี (ไม่ต่างอะไรกับ สิงคโปร์ คือ สิงห์บุรี)  ส่วนกุกคือ อะไร  วันนี้ผมค่อนข้างจะแปลว่า ชนเผ่า หรือ ก๊ก นั่นเอง (อาจไปพ้องกับภาษาจีนโดยบังเอิญ หรือไม่บังเอิญก็แล้วแต่)  ดังนั้น เนะ..สยำกุก (คำสลักที่กำแพงนครวัด)  ก็แปลว่า นี่ไงชนเผ่าชาวสยาม  ....สีกุก  อาจมาจาก ศรีกุก  (ชนเผ่าผู้รุ่งเรือง) ...สมโบร์ไพรกุก =  เมืองของชนเผ่าสม  (ซึ่งนักอักษรบางท่านว่า  สม ก็คือ สยาม นั่นเอง แต่ไม่ได้เกียวกับอะไรกับเมืองสมโบร์นะ..ผมเอามาเชื่อมเอง  ) 


อู่ทองมีชัย (อุดงเมียนเชย)....วันนี้นักประวัติศาสตร์ไทยไม่มีใครกล้าออกเสียง อู่ทองมีชัย เพราะเกรงใจเขมร  ...แต่เมืองนี้ผมได้เขียนไว้มากแล้วว่า  น่าเป็นเมืองที่เสียดสีคำว่า  “สยามราบ “  (เสียมเรียบ)  ที่เขมรฆ่าคนสยามตายหมด ที่นครวัด  จนพระเจ้าอู่ทองต้องนำคนจากนครวัดหนีตายมาสร้างกรุงศรีอยุธยา ...พอล้างแค้นเขมรเสร็จก็เลยสร้างเมือง ข่มนาม  ชื่อว่า อู่ทองมีชัย ซะเลย 


สัวเสด็ย  (สวัสดี) ....คำสวัสดีของเขมรนั้น ผมรับรองว่ามาจากภาษาไทย  ...แต่นักวิชาการเขมรอ่านผิด  เอาไม้หันอากาศ ไปไว้ผิดที่ กลายเป็น สัวสดี  (ซัวสดี)  แต่เสียงเขมร อี ออกเป็น เอย ก็เลยกลายเป็น ซัวเสด็ย  เฉยเลย  ...เช่น ปราสาทบันทายศรี  ก็เป็น บันทายเสร็ย  ...เรื่องนี้ไม่แปลก เพราะแม้นักการทูต  ศ.ดร.ดังไทย ก็ยังออกเสียงคำง่ายๆ เช่น determine ผิดกันเป็นประจำเลย


...ยังมีอีกมาก  แต่วันนี้เหนื่อยแล้ว เอาเพียงเท่านี้ก่อนเด๊อปี้น่องเด๊อ


....คนถางทาง (๓๐ พค. ๒๕๕๖)


หมายเลขบันทึก: 537533เขียนเมื่อ 30 พฤษภาคม 2013 01:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2013 01:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

(พจนานุกรมวิสามานยนามไทย 239, ราชบัณฑิตยสถาน):

พาหุรัด, ถนน ถนนตั้งแตถนนบานหมอถึงถนนจักรเพชร กรุงเทพมหานคร
   ถนนพาหุรัดเปนถนนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ ใหสรางขึ้นโดยทรงใชทรัพยสวนพระองคของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจาฟาพาหุรัดมณีมัย พระราชธิดาซึ่งประสูติจากสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ และสิ้นพระชนมขณะพระชันษา ๑๐ ป จึงโปรดเกลาฯ ใหสรางถนนขึ้นเพื่ออุทิศสวนกุศลพระราชทาน และพระราชทานนามถนนวา “ถนนพาหุรัด" 

But the Royal Institute have issues with words like

มุกตลก/มุขตลก;

"๑.๒.๒๒ เว้นวรรคเล็กหลังคำว่า “ว่า” ในกรณีที่ข้อความต่อมาเป็นประโยค
ตัวอย่าง จะสังเกตได้ว่า คนถนัดมือซ้ายมีน้อยกว่าคนที่ถนัดมือขวา"


ขอบคุณท่าน sr ...คห...แบบนี้ที่ผมต้องการ   มันยอดมากเลยครับ   ...แต่เราต้องค้นต่อว่า time line เป็นอย่างไร  คำว่า พาหุรัด เป็นคำแขกแน่นอน  ไม่ใช่คำไทย แล้วมันมาได้อย่างไร   มีที่มาอย่างไร  ..คำว่า ภารตะ กับ bharat(a) เหมือนกันมากๆ  แสดงว่าฝรั่งก็มีนิสัยตัด อะ คำท้ายออกเหมือนกะเราเหมือนกันหรือ เช่น ราชา เป็น ราช (ราด)  รายา เป็น ราย (ราย) ศรีจนาศะ เป็น จนาศ 

ถึงพี่คนถางทาง เดิมน้องชื่อ แก้วตา เขมร เรียก แก้วโตว(ตามเพลงพี่เบิร์ด) พอเปลี่ยนเป็นแก้วเกล้า ก็ไม่เห็นว่าจะมีอะไรเปลี่ยนแปลงในชีวิตมากมายนักกับชื่อใหม่ วันที่ 29 ก.ค.เปลี่ยนชื่อครบ3ปีน้องคิดว่าจะกลับไปใช้ชื่อเดิมดีกว่าค่ะ ขอบคุณบทความดีๆจากพี่ชาย ว่างก็จะแวะมาทักทายเรื่อยๆนะคะ ด้วยความเคารพและห่วงใยเสมอค่ะ

I am not convinced that "...,ภาษาฝรั่งสะกด ภารตะ ว่า  bharat (ออกเสียงประมาณ ว่า  บฮาหรัด )  พวกแขกยุคแรกๆ คงเรียกว่า บฮาหรัด และคนไทยออกเสียงเป็น บาฮาหรัด  แล้วเพี้ยนมาเป็น พาหุรัด ในที่สุด ..."

A look at a Pali dictionary:

Bhārata - A title by which

  • Pañcāla, king of Uttarapañcāla, is addressed in the Sattigumba Jātaka (J.iv.435);
  • also the king of Benares, in the Sankhapāla Jātaka (J.v.170)
  • and Manoja, king of Benares, in the Sona Nanda Jātaka (J.v.317, 326). 

The scholiast explains (J.v.317) the word by ratthabhāradhāritāya.

A look at other possibilities:

bāhu: the arm. (m.) [cp. Vedic bāhu, prob. to bahati2; cp. Gr. ph_xus in same meaning, Ohg. buoc. It seems that bāhu is more frequent in later literature, whereas the by--form bāhā belongs to the older period] the arm J III.271 (bāhumā bāhuŋ pīḷentā shoulder to shoulder)

bahu: much; many; plenty; abundant. (plu.) many persons. (adj.)

rata: delighted in; devoted to; enjoyed oneself. (pp. of ramati)

In the case of 'bahurata' (much loved/much delighted) seems quite fitting for a memorial for a King's beloved princess.

ท่าน sr ครับ   

ขอบคุณครับสำหรับข้อมูลท้วงติง   ต้องอย่างนี้สิ   ถึงจะ gotoknow อย่างสมภาคภูมิ

ผมเพิ่งไปค้นมา มาตรา ๑ ในรธน. อินเดีย ระบุว่า  “อินเดีย.... แดนแห่ง บฮาหรัด เป็นดินแดนแห่งสหพันธรัฐ…....”  ดังนั้นอินเดีย และ บฮาหรัด มีนัยเท่าเทียมกันในการเป็นชื่ออย่างเป็นทางการของสาธารณรัฐแห่งอินเดีย 

http://en.wikipedia.org/wiki/Names_of_India

...... The first Article of the Constitution of India  states that "India, that is Bharat, shall be a union of states." Thus,India and  Bharat   are equally official short names for the Republic of India,

มีคนสามคนคือ ท่าน sr   พี่ชายผมเอง   และ นักภาษาศาสตร์อีกคนใน fb ท้วงผมว่า พาหุรัด เป็นชื่อของบุคคล (แต่พี่ชายผมบอกว่าแปลว่า สร้อยรัดต้นแขน จำได้แต่เด็กตอนท่องจำ) 

แต่ผมยังขอยืนกระต่ายครึ่งขาว่า  ไม่แน่  อย่างเพิ่งด่วนสรุป 

ถามง่ายๆ ว่า ทำไมย่านนี้มีแต่แขกที่มาจากแดน ภารตะ (bharat.a) โพกหัว ขายผ้า เป็นส่วนใหญ่นะนายจ๋า  มันจะมาพ้องกับพระนามของเจ้าฟ้าพาหุรัดโดยบังเอิญเลยหรือ 

แล้วทำไมเยาวราชจึงไม่ได้รับการตั้งชื่อตามชื่อพระยาจีนโชฏึกราชเศรษฐี (ไม่ทราบชื่อนี้มีไหม มั่วเอาเองพอให้สนุก :-) 

เป็นไปได้ไหมว่า พอมีแขกมาอยู่มาก เขาก็เรียกย่านของเขาว่า  บฮาหรัด  แล้วเพี้ยนมาเป็น พาหุรัดในที่สุด ยิ่งเผอิญไปพ้องกับชื่อ เจ้าฟ้าพาหุรัดด้วยก็ยิ่งเจือสม

...คนถางทาง (๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๖) 


น้องหมูจ๋า ...เปลี่ยนมาเป็น  พหุรัตน์  ดีำไหม แขกดี  แปลว่า  แก้วหลายประการ ทอแสงกันระยิบยับเลย  

Let me try again.

1) From พจจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน
พาหุรัด: น. เครื่องประดับชนิดหนึ่ง สวมรัดต้นแขน, ทองต้นแขน ก็เรียก.

2) ตำนานนางสงกรานต์ ประวัตินางสงกรานต์ hilight.kapook.com/view/21050‎
ตำนานนางสงกรานต์ และประวัตินางสงกรานต์ .... ถ้าวันจันทร์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม โคราคะเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกปีบ อาภรณ์แก้วมุกดา ภักษาหารเตลัง (น้ำมัน) ...

So พาหุรัด is a well established word with clear meaning.

3) http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2007/11/K6078310/K6078310.html

 confirms the birth and the death of a princess known as ฟ้าหญิงพาหุรัด and many documents supporting the construction and naming of ถนนพาหุรัด

4) the fact that ถนนพาหุรัด joins บ้านหม้อ (บริเวณกำหนดที่อาศัยช่างปั้นหม้อมอญ) lends support to พาหุรัด being an Indian traders area but we will need to establish where and how those Indians come to be in that area. Were they "brahmins" (in service of Siam Court) or just traders (like they are today) or taken from Tavoy(?) like the Mon were (the Mon were craftsmen essential for re-building Siam, but the Indians seem to be traders like Arabs and Persians (on the "right" ports) and Chinese (on the "left" ports)... Brahmins would be well respected (and possibly well rewarded), they would have more influences in naming their area and should have chosen a better Sanskrit word.

5) Elision and/or corruption of word ภาระตะ to พาหุรัด seems weak evidence in presence of other more rigorous evidence that พาหุรัด has been a reasonbly well-known and old (as old as at least สงกรานค์) word.

We should be confident to give strong support to etymology with strong evidence first and support etymology with risky evidence only when it would serve us better ;-).

ผมย้ำอีกครั้งครับว่าคนแขกเขาเรียกประเทศเขาเองว่า  บฮาหรัด    (bharat)  ส่วนไทยเราไปเรียกแบบเพี้ยนสำเนียงว่า bah-ra-t(a)  กลายเป็น ภารตะ ไป  


นักประวัติศาสตร์  อักษรศาสตร์ไทยไม่่่ค่อยทำงานอีกแล้ว  ผมเข้าใจว่าคนจีนเข้ามาตั้งถิ่นฐานทางสำเพ็งตั้งแต่สมัยร ๑   ส่วนแขกถ้ามายุคเดียวกัน ก็เรียกว่ามาก่อน ถนนพาหุรัดเสียอีก   


คำว่า สำเพ็ง ก็เช่่นกันไม่ทราบมายังไง  เมื่อก่อนคนโบราณชอบด่าผู้หญิงไม่ดีว่า อีสำเพ็ง เพราะย่านนี้มีโชคารีมาก  

ผมขอยืมคำพูดของคุณที่ว่า "ไม่แน่ อย่างเพิ่งด่วนสรุป"  เกี่ยวกับเรื่องสถานที่ ที่คุณลากเอาชื่อภาษาอื่นมาให้เป็นแบบไทยๆโดยไม่ได้วิเคราะห์ก่อน ทำให้ผู้อ่านบางท่านเชื่อไปตามความเห็นของคุณ ที่วิเคราะห์ได้ดี ผมก็ยกความดีให้คุณ  ในที่นี่ผมขอยกมาไม่กี่ข้อที่เกี่ยวกับประเทศจีนและเวียตนามที่ผมเองกำลังค้นคว้าอยู่ 

เชียงราย.... เชียงมีฐานะใหญ่กว่าเมือง  จะมีสองพยางค์ คำหลังเป็นช่ือเมือง  อ่านว่าเจียงฮาย ปัจจุบันมีเมืองฮายในจีนและลาวอยู่ ดังนั้นจึงไม่เกี่ยวกับภาษาสันสกฤต

เจาสอนลา.....โดยย่อๆแล้ว  เจา(Chau)ในจีนและเวียตนามหมายถึงเขตบริหารผมว่าคุณตัดต่อไม่ถูก คงเอาคำหลังของเมือง Mai Chau(เมืองมุน) ต่อกับเมือง Son La(เมืองลา) จึงกลายเป็น Chau Son La  แล้วลากเป็นไทยว่าเจ้าสอนหล้าไปฉิบ คงไม่มีใครบ้าเอาคำพูดไปตั้งเป็นชื่อเมือง...ถูกต้องครับทางตอนเหนือของเวียนามมีคนไทดำไทขาวกระจายอยู่ทั่วไป 

ในประเทศจีน......เมืองคุนหมิงมีมาก่อนจะมีสยามและไทย  แล้วขุนมิ่งมาจากไหน เขาไม่เอาชื่อคนเป็นชื่อเมือง.....เชียงรุ่ง คนไตลื้อเรียกเจียงฮุ่ง เมืองแห่งแสงอรุณ จีนเรียก Jing Hong(จิ่งหง) จิ่งคือเมือง หงคือแดง คำออกเสียงและความหมายเหมือนกัน.......แม่น้ำล้านช้าง คนไตที่โน่นเรียกว่าน้ำของ จีนเรียกว่า หลานชาง(Lancang)คำว่าCang อ่านว่าชางตามระบบจีน ไม่ใช่ คัง.......คำว่ากวางหรือว่ากว้างนี้ใช่ครับ ไม่เกี่ยวกับกวางสี่ขา จีนออกเสียงว่ากว่าง ที่ไหนมีที่ราบใหญ่ๆก็จะเอามาเป็นชื่อสถานที่เช่น กว่างตุง(ที่ราบตะวันออก)  กว่างซี(ที่ราบตะวันตก)

   


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท