ทำไมจึงมี "โรงเรียนขนาดเล็ก"


ผมอ่านข่าว นโยบายเกี่ยวกับโรงเรียนขนาดเล็ก แล้วเกิดข้อสงสัยหลายอย่าง  ดูตามข้อวิพากษ์ของเพื่อนร่วมวงการต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นการแสดงความรู้สึกเห็นด้วย ไม่เห็นด้วย แต่ยังไม่มี "ข้อมูลเชิงลึก" "ปัญหาหน้างาน"  มีให้อ่าน  อ่านได้ ที่นี่ ที่นี่ และ ที่นี่ 

ผมตั้งคำถามกับตนเองว่า ทำไมจึงมีโรงเรียนขนาดเล็ก...... โรงเรียนขนาดเล็กมีคุณภาพหรือไม่..... ใครเกี่ยวข้องบ้าง.... และนักเรียนจะได้รับผลกระทบทั้งระยะสั้นและระยะยาวอย่างไร......

ผมมีความเห็นต่อคำตอบของคำถามเหล่านี้ ดังนี้ครับ

  • เหตุที่มีโรงเรียนขนาดเล็ก เพราะเหตุผลที่อ้างว่า "...แต่ก่อนมีลูกกันครอบครัวละ 7-8 คน เหลือเพียงครอบครัวละ 2-3 คน..." ผมคิดว่าไม่น่าจะเป็นสาเหตุหลัก เพราะหากดูตามสถิติ ปี 2546 - 2553  ปัญหาเรื่องโรงเรียนขนาดเล็กรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ นักเรียนไหลเข้าสู่โรงเรียนในเมือง ผู้ปกครอง โดยเฉพาะข้าราชการ ส่งลูกเข้าไปเรียนในเมือง.......สาเหตุจริงๆ น่าจะเป็นเพราะ ระบบการคัดคนเข้ามหาวิทยาลัยแบบ "แข่งขันสอบ" เน้น "เนื้อหาวิชา" และหลักสูตรและการพัฒนาบุคลากรที่ "แยกส่วนองค์ความรู้ เป็นรายวิชาๆ " และสาเหตุที่สำคัญที่สุดคือ "การแยกโรงเรียนออกจาก บ้าน วัด หรือชุมชน" นั่นเอง .....
  • ปัญหาข้อที่สองว่า โรงเรียนขนาดเล็กมีประสิทธิภาพหรือไม่ ตอบสั้นว่า ใครๆ ก็รู้ว่า ทั้งมีคุณภาพ และ ไม่มีคุณภาพ ดังนั้น นโยบายแบบ "เหมาเข่ง" ว่า หากนักเรียนไม่เกินเท่านั้นเท่านี้ต้องยุบ  จะก่อความเสียหายแก่โรงเรียนหลายโรงเรียนแน่นอน
  • สำคัญที่สุดคือ เมื่อ "ยุบ" หรือ "ย้าย" แล้ว เกิดประโยชน์อะไรกับนักเรียน ประโยชน์ที่เกิดเป็นประโยชน์ระยะสั้น หรือประโยชน์ระยะยาว  เพราะหากวิเคราะห์แล้ว หากเราพัฒนาสู่สังคมแห่งการเรียนรู้จริงๆ จะต้องเกิด "โรงเรียนของชุมชน" ขึ้นอย่างมีคุณภาพต่อไป.....   

ผมเองมีข้อเสนอดังนี้ครับ

  • เร่งพัฒนาหลักสูตรและบุคลากรครู ผู้อำนวยการ ให้เข้าใจ เข้าถึง การเรียนรู้แบบ "เน้นชีวิต" "เน้นทักษะ" "เน้นกระบวนการ"
  • ยกเลิกนโยบาย "สั่งจากเบื้องบน"  ให้ความสำคัญของการพัฒนาจากพื้นที่ ให้ความสำคัญกับชุมชนและสังคม โดยจัดให้มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ (ความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะ) อย่างครบวงจร
  • ปฏิรูป "แนวคิด และกระบวนการเรียนรู้ในโรงเรียน" ทันที 


หมายเลขบันทึก: 535809เขียนเมื่อ 13 พฤษภาคม 2013 18:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤษภาคม 2013 04:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ใช่ครับ ทำได้แน่นอน โรงเรียนของชุมชน

ชุมชนควรดูแลตัวเอง เห็นด้วยครับ ;)...

หากโรงเรียนขนาดเล็ก มีคุณภาพจริง สามารถเป็นที่พึ่งของชุมชน 

ฝึกทักษะการเรียนรู้ ทักษะชีวิต/อาชีพ ทักษะสื่อ ใช้เทคโนโลยี ฯลฯ ให้ลูกหลานเติบโตคู่กับชุมชนได้

ชุมชน จึงควรได้สิทธิในการตัดสินว่าจะดูแลโรงเรียนของตัวเองไว้ไหม   

ถ้าชุมชนยังไม่เอา  นั่นหมายถึง  โรงเรียนควรพิจารณาตัวเอง

มาร่วมอุดมการณ์ด้วยคนค่ะ

สวัสดีค่ะ

ใช่ค่ะ ไม่ควร  "เหมาเข่ง"ต้องศึกษาเป็นรายกรณีไป โดยคำนึงถึงประโยชน์ที่จะเกิดกับนักเรียนให้มากที่สุด

มองได้ดีมากคะ

**อยากแสดงความคิดเห็นร่วมด้วยตามมุมมองของผมนะครับไม่ต้องการให้กระทบกับใคร**

ผมก็ตามเข้าไปอ่าน "ที่นี่" ทั้งหมดของอ.ฤทธิไกรแล้ว เห็นมีทั้งที่ "เห็นด้วย" และ "ไม่เห็นด้วย" ส่วนตัวผมแล้ว ก็ไม่เห็นด้วยที่จะยุบทั้งหมดครับ  ผมไม่ใช่นักการศึกษาหรือเป็นครูอาจารย์ในสถาบันไหน   ผมทำอาชีพ "ค้าขาย" และเป็นเด็กชนบทตัวจริง รู้และเข้าใจปัญหาในพื้นที่พอสมควร อยากให้พิจารณาข้อความเหล่านี้

"พัฒนาอะไรก็ติด ถ้าจิตไม่พัฒนา"

"คำพูดถ้ายังไม่ได้พูดเราเป็นนายมัน  แต่เมื่อพูดไปแล้วมันจะเป็นนายเรา"

"การเมืองเป็นเรื่องของผลประโยชน์"  

"การศึกษาสร้างคน  คนสร้างชาติ"

1. ความคิด "จิต" ของคนเราเปลี่ยนแปลงตลอด อยากพัฒนา อยากมี  อยากเป็น อยากได้  แต่ไม่รู้ว่าจะแฝงไว้ด้วย "กุศล" สิ่งดีงาม หรือว่า "อกุศล" สิ่งเลวร้ายเคลือบแฝงซ่อนเร้น

เราคิดดีอยากแก้ปัญหาการศึกษาของชาติ อันดับแรก ต้องปรับ "แนวคิด" หรือ "ทัศนคติ" เสียก่อน ผมใช้เป็นภาษาแบบพระว่า "สร้างศรัทธา" ให้เกิดการ "ยอมรับ" เสียก่อน ทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยให้เขายอมรับให้ได้  ถ้าทำ "ประชามติ" หรือ "ทำประชาพิจารณ์" หรือจะเรียกว่าอะไรก็แล้วแต่ ให้ได้ข้อเท็จจริงเสียก่อน ก่อนที่จะออกมาประกาศโครม ๆ ได้ก็จะยิ่งดี

2. เบื้องบนมองปัญหาแบบองค์รวมลงมาข้างล่าง มีข้อมูลมากมาย ทำได้ตามที่ต้องการเพราะมีอำนาจ  เบื้องล่างมองปัญหาขึ้นไปข้างบน ทำได้ด้วยความยากลำบากเพราะไม่มีอำนาจ  ติดขัดข้อบังคับ ระเบียบ มากมาย พูดไปเขาก็ไม่อยากฟัง เพราะคนมีอำนาจใหญ่โตมักจะไม่ค่อยฟังอะไรจากใคร นอกจากกุนซือของตนเหมือนเรื่อง "สามก๊ก" ที่ผู้นำต้องคอยถามความคิดเห็นกันก่อนทำเรื่องใด  สร้างการยอมรับไม่ได้ปัญหาก็ไม่จบ

3. การเมืองถ้ามีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบหรือระบบอะไร มักจะมีเรื่อง "ผลประโยชน์" เข้ามาเกี่ยวข้องเสมอ  ทำให้ "การบ้าน" อย่างผม ไม่ค่อยไว้วางใจ  "รูปแบบ" แนวคิดการทำงานดี  แต่ "ระบบ" การติดตาม การตรวจสอบ ความโปร่งใส ไม่ค่อยดี 

4. การศึกษาไม่มีความเสมอภาคตั้งนานมาแล้ว  ตัวอย่างเช่น บอกว่าจะให้เรียนฟรี ก็ไม่ฟรีจริง ก็ยังมีการเก็บเงินค่าบำรุ่งนั่นนี้ ยังได้ซื้อชุดลูกเสือ หมวกลูกเสือ สมุด เองอีกตั้งหลายอย่าง ฟรีค่าเทอมค่ารายหัวเปิดเทอมใหม่แค่เพียงสามร้อยกว่าบาทเท่านั้นเอง  

คุณภาพการศึกษา ขึ้นอยู่กับหลายองค์ประกอบ ถ้าในชุมชนอย่างบ้านผม คุณภาพการศึกษาคือคุณภาพของโรงเรียนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโรงเรียนต้องสร้างองค์กร(สร้างศรัทธา)  ให้ชาวบ้านยอมรับให้ได้  ถ้าชาวบ้านหรือผู้ปกครองยอมรับไม่ได้  โอกาสที่โรงเรียนจะไม่มีเด็กเข้าเรียนหรือขอย้ายออกไปเรียนที่อื่นยิ่งจะมีมากขึ้นเท่านั้น  ตรงนี้น่าจะเป็นปัญหาสำคัญที่ต้องหาคำตอบมากกว่าจุดอื่น ๆ  

***ขออนุญาตใช้พื้นที่ตรงท้ายบันทึกนี้บ่นไว้ตรงนี้หน่อยนะครับ



พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท