เมื่ออุปนิสัยเป็นปัจจัยกำหนดรายได้ ในรายอาชีพ


เมื่อรู้ความลับนี้ ควรปรับปรุงอะไรในสถาบันครอบครัว และสถาบันการศึกษา

Effects of Cognitive and Non-cognitive Skills on Earning Outcomes:

A Case of Khonkaen
Province of Thailand[1]

Jongrak Hong-ngam*


Abstract

From the well-known Mincer equation explained years of schooling and potential training periods as main sources for earnings differential, this study further analyzes another explanation of earnings in terminology of non-cognitive skills. Difference in wages in different occupations and genders could be explained by non-cognitive traits. Significant non-cognitive variables are 1.locus of control 2.self-esteem 3. big five personalities and 4.conflict management. After adding a non-cognitive skill called “Locus of Control” into the model and comparing without it, the coefficients declined when adding a non-cognitive skill. Unlike cognitive skills, adding non-cognitive measures to the model greatly reduces the explanation by cognitive skills (years of schooling, experience year, and training
hour).

สรุปเป็นภาษาไทย

ชื่อและที่อยู่ของอาจารย์ที่ปรึกษาหลัก

ผศ.ดร.วุฒิเทพ อินทปัญญา

คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

ความสำคัญและที่มา

  จากสมการของมินเซอร์ทื่ใช้เพื่ออธิบายว่าระดับการศึกษา
และจำนวนปีประสบการณ์ซึ่งเป็นตัวแทนของทักษะทางสติปัญญา ความรู้
สองปัจจัยนี้ถือเป็นปัจจัยหลักสำคัญในความแตกต่างกันของรายได้ ซึ่งการศึกษาวิจัยนี้ได้ต่อยอดแนวคิดของมินเซอร์ว่าทักษะทางพฤติกรรมก็ส่งผลต่อความแตกต่างกันของรายได้เช่นกันโดย
ใช้ตัวแปรทางจิตวิทยา(แบบวัดบุคลิกลักษณะ) ใส่เพิ่มเข้าไปในสมการรายได้
ซึ่งมองผ่านอาชีพอุตสาหกรรม และบริการ (๗ อาชีพ) และวิเคราะห์กรณีของแรงงานเพศชาย
ที่มีรายได้ต่างจากเพศหญิงอันเนื่องมาจากทักษะทางพฤติกรรมร่วมด้วย

วัตถุประสงค์ของการทำวิทยานิพนธ์

๑ เพื่อพิสูจน์ว่าปัจจัยที่นอกเหนือจากทักษะทางสติปัญญา ความรู้แล้ว
ยังมีปัจจัยด้านพฤติกรรม ที่ส่งผลต่อรายได้ในอนาคต

เพื่อวิเคราะห์รายได้ในรายอาชีพที่นายจ้างอาจคาดหวังทักษะเชิงพฤติกรรมที่แตกต่างกันและส่งผลต่อรายได้อนาคต

๓ เพื่อพิสูจน์ว่าทักษะเชิงพฤติกรรมเป็นปัจจัยหนึ่งที่สามารถอธิบายความแตกต่างกันของรายได้ในชายและหญิง

ระยะเวลาในการทำวิจัย

พ.ศ.๒๕๕๑ -๒๕๕๔ เก็บข้อมูลภาคสนามในเขตอำเภอเมือง
จังหวัดขอนแก่น ในกลุ่มแรงงานภาคอุตสาหกรรม และบริการ (แรงงานในภาคนอกเกษตรกรรม) ข้อมูลเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน ๒๕๕๒

สรุปผลวิทยานิพนธ์

๑ ผลการศึกษาพบว่าเมื่อเติมตัวแปรด้านบุคลิกลักษณะแล้ว
ตัวแปรด้านบุคลิกลักษณะที่ส่งผลต่อรายได้ คือ การเชื่อในอำนาจแห่งตน
การภาคภูมิใจในตน มินิมาร์คเกอร์ และ การบริหารความขัดแย้ง อุปนิสัย
หรือบุคลิกเหล่านี้ส่งผลที่แตกต่างกันเมื่อพิจารณาในอาชีพที่แตกต่างกันและเพศที่ต่างกัน
นอกจากนั้นเมื่อมีตัวแปรเหล่านี้ในสมการรายได้แล้วยังส่งผลต่ออำนาจการอธิบายของตัวแปรทักษะทางสติปัญญาที่เคยสามารถอธิบายรายได้(ตัวแปรตาม)
กลับลดลงคือ จำนวนปีการที่ศึกษาเล่าเรียน ลดลงร้อยละ ๓.๓๒  ปัจจัยด้านประสบการณ์ลดลงร้อยละ ๑.๔๘ และจำนวนปีการฝึกอบรมลดลงร้อยละ ๑o.oo

๒ ความแตกต่างกันของทักษะเชิงพฤติกรรมในรายอาชีพเมื่อพิจารณาปัจจัยที่มีผลต่อรายได้ในอนาคตสองด้านคือ
ทักษะเชิงความรู้ความสามารถ (อาทิ จำนวนปีการศึกษา จำนวนปีประสบการณ์ เป็นต้น) และ
ทักษะเชิงพฤติกรรม(อาทิ การเชื่อในอำนาจแห่งตน การภาคภูมิใจในตน มินิมาร์คเกอร์
และ การบริหารความขัดแย้ง)  พบว่า อุปนิสัย หรือบุคลิกลักษณะเหล่านี้ส่งผลดีต่อรายได้ตนเองในอนาคต

๑) อาชีพข้าราชการระดับอาวุโส และผู้จัดการ ปัจจัยด้านจำนวนปีการศึกษา และ การบริหารความขัดแย้งแบบเป็นผู้นำ
(ไม่ใช่ผู้ตาม)

๒) ผู้ประกอบวิชาชีพด้านต่าง ๆ(ตัวแทนส่วนใหญ่เป็นอาจารย์) พบว่าจำนวนปีประสบการณ์ และอุปนิสัยของคนมีประสิทธิภาพ เน้นผลงานมากกว่าเน้นความสัมพันธ์

๓) ผู้ประกอบวิชาชีพด้านเทคนิคสาขาต่างๆ พบว่า จำนวนปีการศึกษาและ การบริหารความขัดแย้งแบบร่วมคิดร่วมทำ

๔) เสมียน พบว่าอาชีพนี้ การมีความรู้ด้านภาษาอังกฤษ และการมีภาวะผู้นำ

๕) พนักงานบริการและพนักงานในร้านค้า(ส่วนมากเป็นพนักงานขายรถยนต์) พบว่า จำนวนปีการศึกษา และ อุปนิสัยที่เชื่อมั่นอำนาจแห่งตน(มากกว่าเชื่อในโชคชะตา)

๖) ผู้ปฏิบัติงานด้านความสามารถทางฝีมือ พบว่าความสามารถด้านการใช้ภาษาอังกฤษและ การมีภาวะผู้นำ

๗) ผู้ปฏิบัติการโรงงานและเครื่องจักรและผู้ปฏิบัติงานด้านการประกอบ พบว่าจำนวนปีการศึกษา และอุปนิสัยบริหารความขัดแย้งแบบประณีประนอม

ความแตกต่างกันของรายได้ชายหญิง
ผลการวิจัยพบว่าทักษะทางพฤติกรรมเป็นปัจจัยหนึ่งที่สามารถอธิบายได้ โดยการใส่ตัวแปรเหล่านี้เข้าไปในสมการรายได้และใช้วิธีแยกองค์ประกอบของโอเอซาการ์ (OAXACA) กับการวิเคราะห์ความแตกต่างของรายได้ในชาย หญิง แล้วพบว่าองค์ประกอบหรือเหตุผลของการแตกต่างกันของรายได้ที่มีทั้งสิ้น ๓ องค์ประกอบคือ

๑)ปัจจัยด้านคุณสมบัติของแรงงาน (Endowments)

๒)ปัจจัยที่เกิดจากนายจ้างตีค่าลูกจ้างชายและหญิงต่างกัน
และ

๓) ปัจจัยด้านการเลือกปฏิบัติ หรือปัจจัยที่ไม่สามารถอธิบายได้ ภายหลังจากที่มีปัจจัยด้านพฤติกรรมในการหาความแตกต่างกันของรายได้ของชาย หญิง แล้วพบว่าองค์ประกอบที่ ๓ (ปัจจัยด้านการเลือกปฏิบัติ) นั้นมีสัดส่วนลดลงอย่างมาก อาจกล่าวว่า พอสมการรายได้ที่มีตัวแปรด้านอุปนิสัยของทั้งสองเพศมีในโมเดลแล้ว ค่าที่เคยสะท้อนความอคติ กลับลดลง สรุปได้ว่าทักษะด้านพฤติกรรมที่แตกต่างระหว่างชาย หญิง มีผลต่อความแตกต่างกันของรายได้ของชาย หญิง(ชายมีรายได้มากกว่าหญิง)

ข้อสังเกตคนอกจากนั้นคืออุปนิสัยหลักๆที่ชาย ที่แตกต่างจากหญิงคือ ภาวะผู้นำ อาจกล่าวได้ว่าเพราะเหตุนี้ชายจึงมีรายได้มากว่าหญิง

ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย

  สถาบันครอบครัว และสถาบันการศึกษา  จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลิกลักษณะ
ที่แตกต่างกันในการเตรียมความพร้อมของนักเรียน นักศึกษาก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน ในขณะที่องค์กรทั้ง่ภาครัฐและเอกชนก็ยังจำเป็นต้องพัฒนาบุคลากรในลักษณะของการฝึกอบรมที่สมดุลย์ทั้งด้านความรู้ และด้านพฤติกรรม


ศักยภาพในการพัฒนาเพื่อรองรับการแข่งขันในอนาคต

ตลาดแรงงานของไทยที่จะขยายวงกว้างออกไปมากขึ้นภายหลังการเปิดประเทศสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน คุณภาพของแรงงานที่เรารู้จักกันในนาม “สมรรถนะ” อันประกอบไปด้วย ความรู้ ทักษะ
และทัศนคติ (ที่มา
http://www.ocsc.go.th)
นั้น ผู้กำหนดนโยบายทางการศึกษาหากเล็งเห็นอนาคตของตลาดแรงงานของไทยในเวทีโลกแล้ว
ย่อมต้องเร่งพัฒนาคุณภาพของการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับประถมศึกษา คุณภาพหลักสูตรต้องมีความต่อเนื่อง ต่อยอด ความรู้ คู่กับพฤติกรรมที่ตรงตามความต้องการของตลาด
จากผลการศึกษาแม้ในอาชีพที่ม่จำเป็นต้องใช้วุฒิการศึกษาสูงถึงระดับปริญญา แต่กลับต้องให้ความสำคัญกับความสามารถด้านการใช้ภาษาอังกฤษประกอบกับอุปนิสัยบางอย่างเพื่อประโยชน์ต่อหน้าที่การงาน นั่นแปลว่าถ้าแรงงานไทยเป็นแรงงานที่มีสมรรถนะพร้อมทั้งความรู้ ทักษะและพฤติกรรมแล้ว ก็จะสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลกอย่างมีศักยภาพ




[1] อ่านเพิ่มเติมได้ที่วารสารนิด้าตามที่ระบุด้านล่างนี้
Jongrak Hong-ngam.  2012.  Effects of Cognitive and Non-cognitive Skills
on Earnings Outcomes: A Case Study of Khonkaen Province of Thailand. 

NIDA Economics Review.  6 (2): 22.

*Assistant Professor, Faculty of Management Science, Khon Kaen
University, Khonkaen, 40002, Thailand. Email:
[email protected]







หมายเลขบันทึก: 533117เขียนเมื่อ 16 เมษายน 2013 19:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 เมษายน 2013 17:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีครับ

                 ขอบคุณที่นำมาแบ่งปันครับ

ยินดีแลกเปลี่ยนค่ะ

เรียนอาจารย "

"เมื่ออุปนิสัยเป็นปัจจัยกำหนดรายได้ ในรายอาชีพ"  อยากขอความกรุณา ช่วยแปลภาษาให้ด้วย เพื่อจะได้เรียนรู้ สนใจชื่อเรื่องนี้ มาก

ยินดีต้อนรับกลับเข้า G2K ครับ

ยินดีเช่นกันค่ะ ดีใจที่อ.เข้ามาทักค่ะ ท่าน อ.JJ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท