ร่วมถอดบทเรียน "ภาวะซึมเศร้าและเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย"


วันนี้ข้าพเจ้าได้รับโอกาสไปร่วมถอดบทเรียนในงานวิจัยของคนทำงานในประเด็น "การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังและดูแลผู้มีภาวะซึมเศร้าและเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย"

คำถามที่ข้าพเจ้าถามต่อตนเองคือ อยากได้บทเรียนเรื่องอะไร?

ซึ่งการถอดบทเรียนครั้งนี้เป็นการดำเนินการในช่วงกลางของการทำวิจัย หากเป็นเส้นทางแห่งสายธารก็ดูเหมือนจะเป็นช่วงกลางน้ำ (Mid-Stream) ทำให้เราใคร่อยากจะรู้ว่า "มีการเปลี่ยนแปลงอะไรเกิดขึ้นบ้าง และผลสืบเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงนั้นมีอะไรบ้าง"

การร่วมถอดบทเรียนเป็นระยะนี้ ในทัศนะของข้าพเจ้ามองเห็นเป็นความงามของการดำเนินงานวิจัยเชิงคุณภาพ ตามรูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ที่นำไปสู่กระบวนการเรียนรู้ ปรับปรุง ไปสู่การพัฒนาที่ยิ่งขึ้นไป

คำถามที่ได้เตรียมในตนเอง และพร้อมที่จะนำไปสู่การกำหนดเป็นทิศทางแห่งการสกัดภาวะแห่งการเรียนรู้ของผู้คนออกมามีหลากหลายประเด็นและที่ plan ไว้เป็นกรอบหลวมๆ ก็มีดังนี้คือ


คำตอบที่ได้จากการเปิดประตูใจเข้าสู่ภายในแห่งการเรียนรู้ทำให้เรามองเห็นภาพสะท้อนที่เกิดขึ้นจากผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยได้ลงไปสู่การปฏิบัติ และผลสืบเนื่องจากการปฏิบัตินั้นมีการแปรเปลี่ยนอะไรเกิดขึ้นบ้าง

ทั้งสิ้นทั้งปวงของการเรียนรู้ดังกล่าวจะทำให้เราได้เห็นคุณค่าแห่งสายธารของการเรียนรู้ที่ผ่านการปฏิบัติไม่ว่าจะเป็นต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ


...

๕ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๖



คำสำคัญ (Tags): #aar#action research#km#r2r
หมายเลขบันทึก: 532212เขียนเมื่อ 5 เมษายน 2013 12:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 ตุลาคม 2013 06:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท