"มหาวิทยาลัยบ้านนอก" สิ่งดี ๆ ที่ต้องบอกต่อ


เก็บภาพเกษตรกรคนเก่ง ของอำเภอพรานกระต่าย มาบันทึกใน"มหาวิทยาลัยบ้านนอก"วันนี้ ห้องเรียนปลูกผักอยู่ในตำบลถ้ำกระต่ายทอง ห้องเรียนปลูกมันสำปะหลัง อยู่ในตำบลวังควง และห้องเรียนเพาะถั่วงอกอยู่ในตำบลหนองหัววัว คร๊าบ!!!!!!

                          -มหาวิทยาลัยแห่งนี้เข้าเรียนไ้ด้เลย ไม่ต้องนำคะแนนเอเน็ต โอเน็ต มาเทียบ รับนักศึกษาโดยไม่จำกัดอายุ หากสนใจ ขอเพียงเดินเข้ามาที่"มหาวิทยาลัยบ้านนอก" แห่งนี้ ท่านจะได้รับความรู้มากมายครับ.....วันนี้ขอนำเสนอเรื่องราวของ "เกษตรกรคนเก่ง"ซึ่งต่อไปนี้ผมขอเรียกเกษตรกรคนเก่งทุกท่านว่า"อาจารย์" ก็แล้วกันนะครับ....ที่นี่จะมีอะไรที่น่าสนใจบ้าง...ลองตามผมมาเยี่ยมชม"มหาวิทยาลัยบ้านนอก"ได้เลยคร๊าบ!!!

 

1.ขอแนะนำอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยบ้านนอก คนที่ 1 ก่อนครับ "นางสาวสำนวน  อินพหล" ทำการสอนวิชา"การปลูกพืชผักสวนครัว" ประจำอยู่ ที่บ้านเลขที่ 41 หมู่ 14 ตำบลถ้ำกระต่ายทอง อำเภอพรานกระต่าย ครับ...ห้องเรียนของอาจารย์จะอยู่บริเวณหลังบ้าน ช่วงที่ผ่านมามีการปลูกผักสวนครัวหลากหลายชนิด แต่ช่วงนี้มีพืชผักเหลืออยู่เพียงบางส่วน...ตามไปชมห้องเรียนของอาจารย์ต่อดีกว่า...

2.อาจารย์สำนวน อินพหล ได้เล่าให้ฟังว่า พื้นที่บริเวณนี้มีการจัดสรรไว้สำหรับทำนา และปลูกผัก ซึ่งเป็นพื้นที่อยู่หลังบ้านของตนเอง ในแต่ละปีจะวางแผนการปลูกผักโดยมีสมาชิกในครอบครัวเป็นคนช่วยกันทำในแต่ละหน้าที่ ที่มีการแบ่งกันทำ และมีการจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย ทุกครั้ง และก็สรุปบัญชีรายรับ-รายจ่าย ให้กับสมาชิกทราบรวมทั้งจัดสรรรายได้ให้กับสมาชิกในครัวเรือนด้วย สมัยก่อนทำนาคืออาชีพ/รายได้หลักของครอบครัวแต่ปัจจุบันนี้รายได้หลักจะมาจาก"ผักสวนครัว"แปลงนี้ครับ.....

3.อาจารย์คนที่ 2 ที่ขอแนะนำก็คือ"อาจารย์นวปัท กาญจนกำแพง" เป็นอาจารย์ประจำวิชา"การปลูกมันสำปะหลังแบบใช้ระบบน้ำ"ประจำอยู่ที่ "ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน" หมู่ 11 ตำบลวังควง อำเภอพรานกระต่าย ครับ ท่านนี้มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านการผลิตมันสำปะหลัง วันก่อนผมได้นำเกษตรกรของตำบลพรานกระต่าย ไปร่วมเรียนรู้เรื่องการผลิตเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า และเชิ้อราบิวเวอร์เรีย เพื่อใช้ในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช ห้องเรียนของอาจารย์จะมีอะไรน่าสนใจบ้าง..ตามมาดูพร้อมกันครับ...

4.วันนี้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการผลิตมันสำปะหลังโดยมีวิธีการจัดการระบบน้ำ ทำให้ได้ผลผลิตที่สูงขึ้น และผลิตเชื้อราบิวเวอร์เรีย สมาชิิกได้ร่วมเรียนรู้และฝึกปฎิบัติจริง ศูนย์ฯแห่งนี้มีกิจกรรมและิองค์ความรู้่ดี ๆ มากมายหากสนใจไว้โอกาสหน้าจะนำมาบันทึกให้ได้ติดตามกันครับ...

5.แนะนำอาจารย์ท่านต่อไป "อาจารย์บุญช่วย ถมทอง" ประจำห้องเรียนวิชา"การเพาะถั่วงอก" ห้องเรียนของท่านสามารถเรียนได้ทุกแห่ง ที่นักศึกษาต้องการครับ...แต่สมารถติดต่ออาจารย์บุญช่วยได้ที่ บ้านเลขที่10/1 หมู่ 3 ตำบลหนองหัววัว อำเภอพรานกระต่าย ท่านนี้มีควา่มชำนาญในด้านการ"เพาะถั่วงอก" พร้อมแล้วลองมาเพาะถั่วงอกไปพร้อมๆ กันครับ..

6.การเรียนรู้ด้วยภาพ วันนี้คงมีคำอธิบายไว้ชัดเจนแล้ว เพียงแต่อาจจะมีเทคนิคเล็ก ๆ น้อย ๆที่ผมจะสรุปย่อ ๆ ก็คือ การเพาะถั่วงอก ใช้อุปกรณ์ไม่มาก มีถังที่เจาะรู กระสอบป่านตัดขนาดเท่ากับก้นถัง ตาข่ายพลาสติกตัดเท่ากับขนาดของกระสอบป่าน ส่วนเมล็ดถั่วเขียวก็แช่ในน้ำอุ่น ๆ ประมาณ 6-8 ชั่วโมง พอเมล็ดถั่วงอกเล็กน้อย ก็นำมาใส่บนกระสอบที่มีตาข่ายรองอยู่ ซ้อนทับกันไปเรือย ๆ จนเต็มถังครับ...รดน้ำเช้า-เย็น ประมาณ 2 วันก็ได้ถั่วงอก หากต้องการถั่วงอกแบบตัดรากก็สามารถตัดรากได้ครับ....

เป็นอย่างไรบ้างครับ?? "มหาวิทยาลัยบ้านนอก" ของผม...มีหลากหลายให้ได้เลือกเรียนตามความสนใจ มหาวิทยาลัยแห่งนี้มีห้องเรียนกระจายอยู่ทั่วไปในอำเภอพรานกระต่าย ขอบอกว่ายังมีห้องเรียน/วิชาอื่น ๆ ที่น่าสนใจมากมาย..ไว้มีโอกาสจะพยายามรวบรวมและบันทึกมาฝากนักศึกษาที่สนใจต่อไปนะครับ..

ท้ายนี้ต้องขอขอบคุณ อาจารย์ทั้ง 3 ท่าน ที่ให้ความรู้.จากมหาวิทยาลัยบ้านนอกแห่งนี้.....


 

 สำหรับวันนี้...

                                                      สวัสดีครับ

                                                                           เพชรน้ำหนึ่ง

                                                                         05/04/2556

หมายเลขบันทึก: 532206เขียนเมื่อ 5 เมษายน 2013 11:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2013 15:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (35)

เรียนรู้นอกห้องเรียน...ทำให้ดูอยู่ให้เห็น...ขับเคลื่อนด้วยการปฎิบัติจากภูมิปัญญาและของจริง....ชื่นชมค่ะ...

อาจารย์แม่ไอดินฯ ชอบการจัดการเรียนรู้ตามที่เล่าในบันทึกนี้ มากค่ะ แต่ขอเรียกว่า "มหาวิทยาลัยชีวิต" นะคะ เพราะให้ทักษะที่สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริง

ผลงานทางวิชาการ อาจารย์แม่ก็ทำวิจัยเชิงลึกเกี่ยวกับการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมการประกอบอาชีพอิสระของหน่วยงานของรัฐในจังหวัดอุบลฯ ซึ่งก็พบว่า ส่วนใหญ่จะเป็นอาชีพเกษตรกร แต่ก็ประสบความสำเร็จน้อยมาก การเรียนรู้จากครููมิปัญญาแบบนี้แหละค่ะ ที่จะช่วยเตรียมเยาวชนให้สามารถออกไปสร้างงานได้จริง เหมือนที่แม่ของอาจารย์แม่ได้บ่มเพาะให้อาจารย์แม่รักและมีทักษะพื้นฐานด้านเกษตรกรรม ที่นำไปใช้ได้อยู่ทุกวันนี้ค่ะ

 .... อจ.แต่ละท่าน ....มีประสบการณ์ สูงๆ ทั้งนั้นเลย นะคะ .... น่าชื่นชม มากๆนะคะ 

ตามมาขอบคุณค่ะ กราบขอบพระคุณท่านมากๆ ค่ะ "ทุ่งแสงตะวัน" นับว่ารายการนี้ทรงคุณค่าจริงๆ เพราะได้รับรางวัลแกรนด์ยูบีลีจากหน่วยงานเราแล้ว ไม่ต้องพิจารณาอีก ทรงคุณค่าตลอดไปค่ะ ขอบพระคุณมากค่ะ


ความรู้มากมายจริงๆ ครับ  การเพาะถั่วงอกผมก็ทำขายอยู่  ปัญหาในรายละเอียดมีมาก ถ้าใครสนใจก็สอบถามได้ครับ

หน้าบ้านทาวน์เฮ้าส์ ผมเล็กนิดเดียว แต่ผมก็ปลูกผักได้ตั้งหลายอย่าง...

หลายคนเทปูนก่อเป็นที่พักแทนส่วนหย่อมเล็กที่ดูไร้ประโยชน์...

แต่ผม แค่ได้เห็นพวกพืชผักเติบโต ผลิดอก ออกใบ ก็มีความสุขแล้ว...

ขอบคุณบันทึกดีๆครับ



ถั่วงอกฝืมือเพาะของคุณมะเดื่อจ้ะ  เพราะกับดินปนทราย จึงดูเลอะเทอะหน่อย

ขอบคุณคะ ชอบตรง 'วิชาเพาะถั่วงอก' คะ ตอนเด็กๆ จำได้ว่าใส่บนใบตอง เพิ่งเห็นเทคนิคเพาะบนตาข่ายลวดเข้าท่าๆ

สนุกสนานมากครับ...กับมหาวิทยาลัยแห่งการเรียนรู้และสนุกสนานครับ

ชอบทานถั่วงอก การเพาะถั่งงอกแบบนี้ น่าสนใจมากค่ะ ต้องหัดทำบ้างแล้ว ขอบคุณค่า...

จะให้ดอกไม้ ก็เข้าระบบไม่ได้ ขอบอกว่า สุดยอดนะคะในการพัฒนา แบะชอบการเพาะถั่วงอกค่ะ  ทานแบบไม่ต้องกลัวสารฟอกขาวเลยแหละนะ

ดีมากๆค่ะ น่าลองทำมากเลยเพาะถั่วงอกยาวดี พี่ดาทำไม่ยาว ไว้พี่ดาไปสอนแม่ทำที่สุพรรณด้วย ขอบคุณมากนะคะ

สรุปบทเรียนวิถีชีวิตที่พึ่งพาตนเองบนฐานทรัพยากรธรรมชาติได้ดีมาก ๆ ค่ะ

ชอบบทความดีมากๆ ค่ะ

-ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณกำลังใจและดอกไม้จากทุกท่านก่อนนะครับ...




-สวัสดีครับ

-ป้าใหญ่ เรียนรู้ในห้องเรียนห้องนี้กว้างใหญ่ไพศาลครับ....มีครูอยู่ทั่วไปในพื้นที่แห่งนี้ แต่ละท่านเก่ง ๆ ตามสาขาอาชีพครับ...

-สวัสดีครับ

-อาจารย์แม่ไอดิน.....ขอบคุณสำหรับชื่อ"มหาวิทยาลัยชีวิต" นะครับ....เกี่ยวกับการประสบความสำเร็จด้านอาชีพการเกษตร ส่วนใหญ่ที่ไม่ประสบผลสำเร็จน่าจะมาจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นด้านการลงทุน แรงงาน และภาวะเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ที่มีบทบาทในการประกอบอาชีพการเกษตรน่ะครับ ผมว่าหากจะให้ยั่่งยืนก็คงต้องช่วยกันเรียนรู้ถึงความพอเพียง อย่างน้อย ๆ ก็ปลูำกทุกอย่างที่กิน และกินทุกอย่างที่ปลูก หากมีมากก็ขายเป็นรายได้เสริมน่ะครับ


-สวัสดีครับ

-พี่หมอเปิ้น..อาจารย์แต่ละท่านล้วนแต่มีประสบการณ์สูง หากได้ส่งต่อความรู้/ภูมิปัญญาให้กับคนรุ่นหลังและนำไปปฏิบัติ รับรอง...เจ๋งสุด ๆ ครับ..

-สวัสดีครับ.

-คุณ Tuknaruk ขอบคุณที่มาเยี่ยมและแจ้งให้ทราบถึงรางวัลของรายการ "ทุ่งแสงตะวัน" ครับชอบดูรายการนี้มาก ๆ ยินดีกับรายการนี้ที่ได้รับรางวัลครับ..

-สวัสดีครับ..

-พี่หนาน...ยินดีที่จะแลกเปลี่ยนเรื่องการเพาะถั่วงอกครับ ปัญหาต่าง ๆ คงมีในรายละเอียดการเพาะถั่วงอกหาต้องทำเพื่อการค้า ไว้มีโอกาสจะสอบถามและแลกเปลี่ยนนะครับ..ยินดีๆ  ๆ  ๆ ๆ

-สวัสดีครับ..

-คุณ พ.แจ่มจำรัส... หากแต่ละบ้านช่วยกันปลูกผักในพื้นที่ ที่มีอย่างจำกัด โดยเฉพาะในชุมชนเมือง อย่างน้อย ๆ ขอพริก กระเพรา ตะไคร้ โหระพา มะเขือ ต้นหอม ผักชี อย่างละเล็กละน้อย รับรอง ประหยัดเงินแถมได้ความสุขด้วยครับ...

-สวัสดีครับ..

-คุณมะเดื่อ...ถั่วงอกเพาะกับดินปนทราย ถึงจะเลอะไปหน่อยแต่ก็ได้ถั่วงอกสด ๆ มารับประทาน งานนี้คงต้องลองวิธีแบบใช้กระสอบบ้าง ลองดูนะครับ


-สวัสดีครับ..

-พี่หมอ ป. ยินดีที่ได้ถ่ายทอดความรู้การเพาะถั่วงอก น่าสนใจการเพาะบนใบตองนะครับ ตอนเด็ก ๆผมเพาะในทราย ครับ

-สวัสดีครับ.

-คุณทิมดาบ มหาวิทยาลัยแห่งนี้สนุกสนาน..แถมได้รับความรู้มากมาย ไม่มีเครียดครับ..5555


-สวัสดีครับ..

-คุณปริม ทัดบุปผา การเพาะถั่วงอกโดยวิธีนี้ทำง่าย ลองทำดู อุปกรณ์มีไม่มาก หาง่าย ครับ..

-สวัสดีครับ..

-Krutoom ถั่วงอกที่นี่ไม่มีสารฟอกขาว ครับ นำไปผัดน้ำมันร้อน ๆ ได้เมนูเด็ด 1 จาน พร้อมกับความภูมิใจครับครู

-สวัสดีครับ..

-พี่กานดา...หากนำไปลองที่ที่สุพรรณ เก็บภาพมาฝากด้วยนะครับ สงกรานต์ปีนี้อยู่เชียงใหม่หรือเปล่าครับ???

-สวัสดีครับ..

-ครูทิพย์...ขอบคุณที่มาเยี่ยม/ชม กิจกรรมนี้ครับ เปิดเทอมนี้ลองให้เด็ก ทำดูนะครับ ..

-สวัสดีครับ..

-คุณคลีนิกเทคโนโลยี น่าสนใจ"หนอนนก" เดี๋ยวตามไปอ่านในบันทึกนะครับ..

-สวัสดีครับ..

-คุณกระติก....ยินดีที่ได้แลกเปลี่ยนครับ บทเรียนนอกตำรา มีมากมาย ลองติดตามในบันทึกต่อ ๆ ไปด้วยนะครับ รับรอง ตำราใน G2K นี้ หลากหลาย...ครับ..

-สวัสดีครับ..

-คุณ sila ขอบคุณสำหรับคำชม/บทเรียนนี้น่าสนใจเลยเก็บมาบันทึกเพื่อแลกเปลี่ยนกับผู้ที่สนใจครับ...

-สวัสดีครับ....

-คุณ Tuknarak บทความดี ๆ แบบนี้ต้องบอกต่อครับ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท